เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ
เจ้าหญิงคาโกะ | |
---|---|
เจ้าหญิง (内親王) | |
![]() เจ้าหญิงคาโกะ เมื่อ พ.ศ. 2566 | |
ประสูติ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
ราชวงศ์ | ญี่ปุ่น |
พระชนก | เจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร |
พระชนนี | เจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี |
ราชวงศ์ญี่ปุ่น |
---|
![]() |
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะ |
เจ้าหญิงคาโกะ (ญี่ปุ่น: 佳子内親王殿下[1]; โรมาจิ: Kako Naishinnō Denka; อังกฤษ; Her Imperial Highness Princess Kako[2]) ทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น 内親王 (Naishinnō) หรือเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น
ทรงเป็นพระราชธิดาในเจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร กับเจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี
ทรงเป็นพระราชภาติยะ (หลานลุง) ในสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบัน (สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ) และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ
สัญลักษณ์ประจำพระองค์ (お印) คือ ดอกปอทะเล[3]
พระประวัติ
[แก้]การประสูติ
[แก้]เจ้าหญิงคาโกะ ประสูติเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (ปีเฮเซที่ 6) ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง กรุงโตเกียว น้ำหนัก 2,766 กรัม[4] ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองในเจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร กับเจ้าหญิงอากิชิโนะ มกุฎราชกุมารี
ทรงมีพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ คือ มาโกะ โคมูโระ และพระอนุชา 1 พระองค์คือ เจ้าชายฮิซะฮิโตะ ตามลำดับ
วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2538 มีการจัดพิธีเฉลิมพระนาม (命名の儀) ซึ่งเป็นธรรมเนียมราชสำนักที่จัดหลังจากการประสูติประมาณ 7 วัน ในพิธีนี้จะมีการตั้งพระนามและกำหนดสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แต่เนื่องด้วยพระองค์ไม่ใช่พระราชธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิหรือมกุฎราชกุมาร แต่เป็นพระธิดาของเจ้าชายในราชวงศ์ (ณ ขณะนั้น) จึงทำให้พระนามถูกตั้งโดยพระชนกแทนที่จะเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ และไม่ได้รับพระราชทานพระนามขาน (御称号)
เจ้าชายอากิชิโนะ มกุฎราชกุมาร พระชนก ทรงตั้งพระนามพระธิดาว่า 佳子 (คาโกะ) ด้วยความปรารถนาให้ทรงมีสุขภาพแข็งแรง เป็นเด็กที่มีความซื่อตรง มีน้ำใจ และเจริญเติบโตอย่างงดงามทั้งร่างกายและจิตใจ[5]
และมีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำพระองค์ (お印) เป็นดอกปอทะเล[3]
การศึกษา
[แก้]- วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2543 ทรงเข้าพิธีเข้ารับการศึกษาระดับชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลกาคุชูอิน[6]
- วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2544 ทรงเข้าพิธีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นอนุบาล[7]
- วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544 ทรงเข้าพิธีเข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษากาคุชูอิน[8]
- วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550 ทรงเข้าพิธีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา[9]
- เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ทรงเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่โรงเรียนมัธยมหญิงกาคุชูอิน[10] [11]
- วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 ทรงเข้าพิธีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[12]
- วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 ทรงเข้าพิธีเข้ารับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย[13] โดยทรงเข้าศึกษาต่อคณะอักษรศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาคุชูอิน
ราชวงศ์สาขาอากิชิโนะ เมื่อ พ.ศ. 2545
- เดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2556 ทรงเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาต่างประเทศระยะสั้น ที่บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา[14]
- เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ทรงลาออกจากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกาคุชูอินแล้วทรงสอบเข้าศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน (ICU) กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกับที่เจ้าหญิงมาโกะ (พระเชษฐภคินี) ทรงสำเร็จการศึกษา [15]
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ทรงเข้าพิธีเข้ารับการศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน[4][16]
- วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ทรงเข้าโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน คณะศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยลีดส์ สหราชอาณาจักร[4][17][18]
- วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ทรงสำเร็จโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากสหราชอาณาจักรและเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น [19][20]
สัญลักษณ์ประจำพระองค์ ดอกปอทะเล
- วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน (ICU)[4][21]
บรรลุนิติภาวะ
[แก้]วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ทรงมีพระชนมายุครบ 20 ชัณษา และทรงเข้าพิธีบรรลุนิติภาวะตามธรรมเนียมของราชวงศ์ ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ จากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะในงานพิธี[4][22] อีกทั้งมีการให้สัมภาษณ์สื่ออย่างเป็นทางการครั้งแรก[23] หลังจากผ่านพิธีบรรลุนิติภาวะแล้วจะทรงมีส่วนร่วมในกิจกรรมของราชวงศ์อย่างเต็มพระองค์
การเติบโตในบทบาทของสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น
[แก้]งานเทศกาลและพิธีการ
[แก้]เจ้าหญิงคาโกะทรงตามเสด็จเจ้าชายอากิชิโนะ และเจ้าหญิงอากิชิโนะ เพื่อเข้าร่วมงานเทศกาลและพิธีการต่างๆ เช่น เข้าร่วมชมภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์เรื่อง "ญี่ปุ่น: เรื่องราวของสิ่งมีชีวิต" ณ ยูระคุโจอาซาฮีฮอลล์ (2555)[24], พิธียกย่องแม่ผู้เลี้ยงดูลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (2557)[25], พิธีมอบรางวัล Japan Quilt Award (2558)[26]
การเยือนต่างประเทศ
[แก้]วันที่ 21 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เจ้าหญิงคาโกะ ทรงตามเสด็จเจ้าชายอากิชิโนะ, เจ้าหญิงอากิชิโนะ, และเจ้าหญิงมาโกะ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกของพระองค์[4][27]
การสักการะศาลเจ้าอิเสะและสุสานพระจักรพรรดิ
[แก้]
วันที่ 24 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 ทรงตามเสด็จพระชนก พระชนนี ไปเคารพศาลเจ้าอิเสะ เพื่อรายงานการสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อเทพเจ้าอามะเทราสุ โดยเจ้าชายฮิซะฮิโตะเสด็จด้วย[28]
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 ทรงเสด็จไปเคารพสุสานจักรพรรดิโชวะ และจักรพรรดินีโคจุน ผู้ซึ่งเป็นพระปัยกา (ปู่ทวด) และพระปัยยิกา (ย่าทวด) เพื่อรายงานการบรรลุนิติภาวะของพระองค์[29]
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 ทรงไปเคารพศาลเจ้าอิเสะเพียงพระองค์เดียวเป็นครั้งแรก เพื่อรายงานการบรรลุนิติภาวะของพระองค์[30]
พระกรณียกิจ
[แก้]งานราชสำนัก
[แก้]- ทรงตามเสด็จสมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินีออกมหาสมาคม เนื่องในวันขึ้นปีใหม่[31]
- ทรงเข้าร่วมพิธี "歌会始の儀" (Utakai Hajime no Ki) ซึ่งเป็นธรรมเนียมประจำปีในพระราชสำนัก โดยจะมีการร่วมกันขับร้องบทกวีในท่วงทำนองโบราณตามแบบแผนดั้งเดิมของญี่ปุ่น[32]
- ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงพระกระยาอาหารค่ำ ณ พระราชวังอิมพีเรียล เพื่อเลี้ยงต้อนรับแขกระดับประเทศ[33][34]
- ทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ต้อนรับเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่นจากประเทศต่าง ๆ ที่สนามล่านกเป็ดน้ำชินฮะมะ สำนักพระราชวัง เมืองอิชิคะวะ จังหวัดชิบะ[35]
- ทรงรับเสด็จและส่งเสด็จการเยือนต่างประเทศของสมเด็จพระจักรพรรดิ, สมเด็จพระจักรพรรดินี, เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนะ[36]
- ทรงเข้าร่วมงานเลี้ยงน้ำชาฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจัดโดยสมเด็จพระจักรพรรดิ เพื่อเลี้ยงต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากหลากหลายวงก ารในประเทศญี่ปุ่น ที่พระราชวังอากะซะกะ กรุงโตเกียว[37]
- ทรงร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ พระตำหนัก ร่วมกับพระชนก พระชนนี พระอนุชา เมื่อมีสมาชิกราชวงศ์ต่างประเทศ หรือ ผู้นำจากต่างประเทศมาเยือนประเทศญี่ปุ่น[38]
กิจกรรมเพื่อผู้พิการ
[แก้]- ทรงเข้าร่วมพิธีเปิด การแข่งขันการแสดงภาษามือระดับมัธยมปลายแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นประจำ เช่น พ.ศ. 2558[39], พ.ศ. 2562[40], 2567[41] ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดโดยใช้ภาษามือ
- เสด็จทอดพระเนตร การแสดงและการแข่งขันของผู้พิการ เช่น พ.ศ. 2560[42], 2566[43], 2567[44]
- ทรงเข้าร่วมพิธีเปิด พิธียกย่องแม่ผู้เลี้ยงดูลูกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นประจำ เช่น พ.ศ. 2563[45], 2566[46], 2567[47] ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดโดยใช้ภาษามือ
- ทรงงานเป็นพนักงานสัญญาจ้างนอกเวลาให้กับสหพันธ์คนหูหนวกญี่ปุ่น (พ.ศ. 2564)[48][49]
- ทรงร่วมชมการแข่งขันกีฬาของคนหูหนวก กรุงโตเกียว (2565) [50], การแข่งขันซอฟท์บอลของผู้พิการ จังหวัดคาโกะชิมะ (2566)[51], การแข่งขันวอลเลย์บอลของผู้พิการ จังหวัดซากะ (2567)[52]
กิจกรรมส่งเสริมเยาวชน
[แก้]- ทรงเข้าร่วม งานการประกวดสุนทรพจน์ระดับประเทศของเยาวชน เป็นประจำ เช่น ครั้งที่ 36 (2557)[53], ครั้งที่ 41 (2562)[54], ครั้งที่ 42 (2563)[55], ครั้งที่ 45 (2566)[56]
- ทรงเข้าร่วม งาน Girls Messe เป็นประจำ เช่น พ.ศ. 2566[57], 2567[58] ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของเยาวชนหญิง
กิจกรรมส่งเสริมการกีฬา
[แก้]- ทรงเข้าร่วมพิธีเปิด การแข่งขันศิลปะการขี่ม้าระดับมัธยมปลายแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นประจำ เช่น พ.ศ. 2560[59], 2562[60], 2567[61]
- ทรงเข้าร่วมชมการแข่งขันเบสบอลระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหญิงแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (พ.ศ. 2567)[62]
กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
[แก้]- ทรงเข้าร่วมงานพิธีเปิดงานเทศกาลป่าไม้และดอกไม้ “เทศกาลขอบคุณธรรมชาติสีเขียว” เป็นประจำ เช่น ครั้งที่ 32 (2566)[63], ครั้งที่ 33 (2567)[64], ครั้งที่ 34 (2568)[65]
- ทรงเข้าร่วม เทศกาลส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองระดับชาติ ประจำปีเรวะที่ 5 (พ.ศ. 2566)[66]
กิจกรรมส่งเสริมงานด้านหัตถการ
[แก้]- ทรงเข้าร่วมงานนิทรรศการ "งานศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมญี่ปุ่น" เป็นประจำ เช่น ครั้งที่ 70 ที่กรุงโตเกียว (2566)[67], ครั้งที่ 71 ที่จังหวัดคานะซะวะ (2567)[68]
- ทรงร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลเครื่องปั้นดินเผานานาชาติมิโนะ 2024 ที่จังหวัดกิฟุ (พ.ศ. 2567)[69]
การเยือนต่างประเทศ
[แก้]

ออสเตรีย
[แก้]
ฮังการี
[แก้]- วันที่ 15 - 25 กันยายน พ.ศ. 2562 ทรงเสด็จเยือนอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 150 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต โดยเป็นการเสด็จต่างประเทศเพียงพระองค์เดียวเป็นครั้งแรก [4][70][71]

เปรู
[แก้]- วันที่ 1 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทรงเสด็จเยือนประเทศเปรูอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 150 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต[72]
กรีซ
[แก้]- วันที่ 25 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ทรงสด็จเยือนประเทศกรีซอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมงานครบรอบ 125 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต[73]

บราซิล
[แก้]- วันที่ 4 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ทรงเยือนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในงานครอบ 130 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต
ดำรงตำแหน่งในองค์กร
[แก้]- ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมเทนนิสแห่งประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)[74]
- ประธานสมาคมงานหัตถกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)[75]
- ประธานกิตติมศักดิ์เทศกาลขอบคุณธรรมชาติสีเขียว (みどりの感謝祭) (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)[76][77]
- ประธานกิตติมศักดิ์เทศกาลเซรามิคนานาชาติ (พ.ศ. 2567)[78]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าหญิงคาโกะ | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
![]() ตราประจำราชวงศ์สาขา | |
สัญลักษณ์ | ดอกปอทะเล (オオハマボウ) |
คำยกย่อง | เด็งกะ (殿下) |
ราชวงศ์สาขา | อากิชิโนะ |
ลำดับโปเจียม | 8 |
ประวัติพระอิสริยยศ
[แก้]- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน: เจ้าหญิงคาโกะ (ญี่ปุ่น: 佳子内親王殿下; โรมาจิ: Kako Naishinnō Denka; อังกฤษ; Her Imperial Highness Princess Kako)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นประถมาภรณ์ (มงกุฎดอกพอโลเนีย) (2557)[79]
เกร็ด
[แก้]- เจ้าหญิงคาโกะทรงสนพระทัยสเกตลีลาตั้งแต่ทรงศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยทรงเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก (พระชนมายุ 10 ชัณษา) ที่ ลานไอซ์สเก็ตเมจิจินกู เขตชินจูกุ กรุงโตเกียว ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2547[80]
- พ.ศ. 2555 พระองค์เป็นตัวแทนของสมาคมสเกตลีลาเมจิจิงงุไกเอ็ง (Meijijingu Gaien Figure Skating Club) และทรงเข้าร่วมการแข่งขันสเกตลีลาฤดูใบไม้ผลิ (Spring Cup Figure Skating Competition) ที่จัดขึ้นโดยสหพันธ์สเกตญี่ปุ่น ซึ่งพระองค์ติดอันดับของเขตชินจุกุ (ทีมบีหญิง-ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือมากกว่า)[81]
- สมัยพระเยาว์พระเชษฐภคิณี (เจ้าหญิงมาโกะ) กับพระองค์ ทรงช่วยพระอัยกา (สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ) ปลูกข้าวไร่และลูกเดือยในนาข้าวที่เขตพระราชฐาน[82]
- สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะทรงกล่าวว่า เมื่อราชวงศ์มารวมพระองค์กันที่พระราชวังอิมพีเรียล เจ้าหญิงคาโกะก็มักจะช่วยดูแลและเล่นกับเจ้าหญิงไอโกะและเจ้าชายฮิซะฮิโตะ ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะทรงรู้สึกชื่นชมและปลาบปลื้มในความใส่ใจของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง[83]
- เนื่องจากราชวงศ์ญี่ปุ่นไม่มีนามสกุล พระองค์จะมีการใช้ชื่อราชวงศ์สาขาแทนนามสกุลเป็น "秋篠宮佳子" (Akishinonomiya Kago)[84]
- พระองค์ทรงเคยเต้นคัฟเวอร์วง Girl Generation และ AKB48 ในงานเทศกาลโรงเรียนมัธยมหญิงกาคุชูอิน[85]
- พระองค์ทรงชอบทำงานหัตถกรรมตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และทรงเคยทำให้พระอนุชา (เจ้าชายฮิซะฮิโตะ) ตั้งแต่ยังประสูติแรกๆ[86]
- พระองค์ทรงถนัดซ้าย[87]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของเจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "秋篠宮家". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino and their family". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
- ↑ 3.0 3.1 "【画像ギャラリー】注目を浴びる佳子さまの日常". おとなの週末Web (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "祝28歳! 可憐なプリンセス♡ 佳子さまのご誕生から現在までの成長アルバム". 25ans (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "30歳の誕生日を迎えられたプリンセス、佳子さま。誕生から現在までの麗しい成長を振り返る(Harper's BAZAAR(ハーパーズ バザー))". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "ja:佳子さま 国際基督教大学を受験へ" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. September 11, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-11. สืบค้นเมื่อ September 11, 2014.
- ↑ "Princess Kako's New Campus Life". imperialfamilyjapan.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 2015-05-13.
- ↑ "Princess Kako heading to University of Leeds in September" (ภาษาอังกฤษ). Japan Times. 24 เมษายน 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-05. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "Japan's Princess Kako completes her studies in U.K." The Japan Times Online. 12 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ List of Overseas Visits by the Emperor, Empress and Imperial Family (1999 – 2008)
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ 中村 昌史, 吉沢 智美 (2025-04-25). "春の園遊会で招待者と懇談される天皇、皇后両陛下の長女、敬宮愛子さまと秋篠宮ご夫妻の次女、佳子さま=22日午後、東京・元赤坂の赤坂御苑(鴨川一也撮影)". 産経新聞:産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "ご夕餐(ヨルダン皇太子アル・フセイン・ビン・アブドッラー2世殿下)(秋篠宮邸/東京都港区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ "第11回大会本大会/手話パフォーマンス甲子園". www.pref.tottori.lg.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "「第25回記念東京都障害者ダンス大会ドレミファダンスコンサート」ご臨席(東京体育館/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "佳子さま、聴覚障害児の母をたたえる会に出席…手話を交えてあいさつ". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-01-23. สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ "佳子さま、能登地震に「胸が痛む」 聴覚障害児の母をたたえる会". 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ Sugiura, Tatsuro (13 October 2021). "Princess Mako visits emperor's grave to inform of marriage plan". The Asahi Shimbun. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
- ↑ "佳子さま、ろうあ連盟に就職 5月から非常勤嘱託職員で:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "「第45回少年の主張全国大会~わたしの主張2023~」ご臨席および発表者とのご懇談(国立オリンピック記念青少年総合センター/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第23回全国障害者スポーツ大会「SAGA2024」」バレーボール競技ご覧(サロンパスアリーナ/佐賀県鳥栖市)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "「第45回少年の主張全国大会~わたしの主張2023~」ご臨席および発表者とのご懇談(国立オリンピック記念青少年総合センター/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ "「第45回少年の主張全国大会~わたしの主張2023~」ご臨席および発表者とのご懇談(国立オリンピック記念青少年総合センター/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「ガールズメッセ2023(コミュニティアクションチャレンジ100アワード表彰式)」ご臨席(東京ウィメンズプラザ/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「ガールズメッセ2024」ご臨席(国立オリンピック記念青少年総合センター/東京都渋谷区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ 日本テレビ. "佳子さまが「全日本高等学校馬術競技大会」ご臨席で高校生にエール…午後は「静岡がんセンター」ご訪問(静岡)|Daiichi-TV NEWS NNN". 日テレNEWS NNN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-04.
- ↑ "「第25回記念全国高等学校女子硬式野球選抜大会」ご観戦(東京ドーム/東京都文京区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第32回森と花の祭典-「みどりの感謝祭」式典」ご臨席(イイノホール/東京都千代田区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第33回森と花の祭典-「みどりの感謝祭」式典」ご臨席(イイノホール/東京都千代田区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第34回森と花の祭典-「みどりの感謝祭」式典」ご臨席(イイノホール/東京都千代田区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「令和5年度全国都市緑化祭」記念式典ご臨席(仙台国際センター/宮城県仙台市)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第70回日本伝統工芸展」展示ご覧(日本橋三越本店/東京都中央区)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「第71回日本伝統工芸展金沢展」ご覧(石川県立美術館/石川県金沢市)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "「国際陶磁器フェスティバル美濃'24」テープカットご臨席(セラミックパークMINO/岐阜県多治見市)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-06-12.
- ↑ "Princess Kako leaves for Austria, Hungary". Kyodo News. 15 September 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-29.
- ↑ "ギリシャご訪問(令和6年)". 宮内庁 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "名誉総裁、眞子さまから佳子さまへ テニス協会:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "佳子さまが日本工芸会総裁に就任 無形文化財の保護育成など図る". 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ 日本放送協会 (2022-05-07). "3年ぶり「みどりの感謝祭」式典 佳子さまが初めて出席 | NHK". NHKニュース. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "佳子さま「みどりの感謝祭」の式典に名誉総裁として出席(日テレNEWS NNN)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "佳子さま、国際陶磁器フェス名誉総裁就任 10月17日初の岐阜訪問、陶磁器施設視察 | 岐阜新聞デジタル". 佳子さま、国際陶磁器フェス名誉総裁就任 10月17日初の岐阜訪問、陶磁器施設視察 | 岐阜新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-09-20. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ Celebration of Princess Kako
- ↑ "秋篠宮家 佳子さま 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-28.
- ↑ "2007 Figure Skating Spring Cup Competition Result - Shinjuku division (female Group B: Primary School Year Six or above)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
- ↑ "皇后陛下お誕生日に際し(平成14年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "天皇陛下お誕生日に際し(平成22年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ การประกาศชื่อพระองค์ในการแข่งขัน https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=j8al7TbxYZo
- ↑ "佳子さま 中高の学園祭ではAKBや少女時代のダンス披露". NEWSポストセブン (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "文仁親王殿下お誕生日に際し(平成18年) - 宮内庁". www.kunaicho.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.
- ↑ "【祝・お誕生日】28歳の佳子さま、ペンの持ち方が「不思議」の声に専門家が解説する"左利きのハンデ"". ライブドアニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2025-05-30.