ประเทศเซนต์ลูเชีย
เซนต์ลูเชีย | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
Saint Lucia (อังกฤษ) |
||||||
|
||||||
คำขวัญ: The Land, The People, The Light (แผ่นดิน ประชาชน แสงสว่าง) |
||||||
เพลงชาติ: "Sons and Daughters of Saint Lucia" เพลงสรรเสริญพระบารมี: "ก็อดเซฟเดอะควีน" |
||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | แคสตรีส์ 14°1′N 60°59′W / 14.017°N 60.983°W | |||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ | |||||
การปกครอง | ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา | |||||
• | ประมุข | สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร | ||||
• | ผู้สำเร็จราชการ | เดมเพียร์เลตต์ ลุยซี | ||||
• | นายกรัฐมนตรี | เคนนี แอนโทนี | ||||
เอกราช | จาก สหราชอาณาจักร | |||||
• | วันที่ | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 | ||||
พื้นที่ | ||||||
• | รวม | 620 ตร.กม. (179) 239 ตร.ไมล์ |
||||
• | แหล่งน้ำ (%) | ร้อยละ 1.6 | ||||
ประชากร | ||||||
• | พ.ศ. 2548 (สำมะโน) | 160,765 | ||||
• | ความหนาแน่น | 298 คน/ตร.กม. (41) 672 คน/ตร.ไมล์ |
||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 2.384 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 13,579 | ||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 1.717 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 9,780 | ||||
HDI (2559) | ![]() |
|||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD ) |
|||||
เขตเวลา | (UTC-4) | |||||
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ | |||||
โดเมนบนสุด | .lc | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 1-758 |
เซนต์ลูเชีย (อังกฤษ: Saint Lucia) เป็นประเทศที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เซนต์ลูเชียเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) โดยอยู่ทางทิศเหนือของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบาร์เบโดส และทางทิศใต้ของเกาะมาร์ตินีกของฝรั่งเศส ประเทศเซนต์ลูเชียรู้จักในนาม "Helen of the West"
เนื้อหา
ภูมิศาสตร์[แก้]
เซนต์ลูเชียมีลักษณะเป็นเกาะภูเขาไฟ ภูมิประเทศมีความเป็นภูเขามากกว่าเกาะอื่นๆในแถบทะเลแคริบเบียน จุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่ Mount Gimie มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 950 เมตร ลักษณะเด่นของภูมิประเทศเกิดจากการวางตัวของภูเขาสองลูก ที่เรียกว่า the Pitons ทอดตัวระหว่างเขตซูฟรีแยร์และเขตชัวเซิล ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ
1 ใน 3 ของประชากรของเซนต์ลูเชียอาศัยอยู่ในกรุงแคสตรีส์ (Castries) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศได้แก่ ซูฟรีแยร์และวีเยอฟอร์ ลักษณะภูมิอากาศของเซนต์ลูเชียเป็นแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน
ประวัติศาสตร์[แก้]
เซนต์ลูเชียเป็นหนึ่งในหมู่เกาะวินด์เวิร์ด (Windward Islands) ได้รับการตั้งชื่อตามนามของนักบุญลูซีแห่งไซราคิวส์ ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวยุโรปมาเยือนเซนต์ลูเชียครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2043 มีการทำสนธิสัญญาระหว่างชนพื้นเมืองที่นี่กับฝรั่งเศส ทำให้เซนต์ลูเชียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2203 ในระหว่างปี พ.ศ. 2206-2210 เซนต์ลูเชียถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และต่อมา เกิดสงครามแย่งชิงเซนต์ลูเชียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งหมด 14 ครั้ง จนท้ายที่สุด อังกฤษสามารถยึดครองเซนต์ลูเชียได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2357 เซนต์ลูเชียเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในปี พ.ศ. 2467 (เริ่มเปิดให้มีการออกเสียงของประชาชนในปี พ.ศ. 2496) และในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2505 เซนต์ลูเชียได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเวสต์อินดีส ท้ายที่สุด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เซนต์ลูเชียได้รับเอกราช และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ ดังนั้นในวันนี้ของทุก ๆ ปีจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอกจากนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ยังบังเอิญตรงกับวันเกิดของนักการทูตอังกฤษที่มีชื่อเสียงชื่อ ลูเซีย ลาดี (Lucia Ladi) อีกด้วย
การเมืองการปกครอง[แก้]
ในฐานะที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพ เซนต์ลูเชียมีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นประมุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยในรัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร 17 คน และวุฒิสภา 11 คน
เซนต์ลูเชีย เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community: CARICOM) และองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (Organisation of Eastern Caribbean States: OECS)
นิติบัญญัติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บริหาร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตุลาการ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ภายใต้การเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปนายกรัฐมนตรี มาจากหัวหน้าพรรคที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
![]() |
เซนต์ลูเชียแบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต (quarters) ดังนี้
|
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/75/Coat_of_Arms_of_Saint_Lucia.svg
นโยบายต่างประเทศ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ[แก้]
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
เศรษฐกิจของเซนต์ลูเชียขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์จากกล้วยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็กบางส่วน ประเทศเซนต์ลูเชียมีกิจการทางด้านเกษตรกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และภาษีจากภาคเกษตรกรรมก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2503
การท่องเที่ยว[แก้]
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเซนต์ลูเชียมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศรองจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วย และเป็นที่คาดหวังว่าอุตสาหรรมท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันตลาดการส่งออกกล้วยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุก ๆ ปีในช่วง dry season (มกราคม-เมษายน) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเซนต์ลูเชีย โดยสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน รวมถึงชายหาดและรีสอร์ทต่างๆมากมาย นอกจากนี้ สิ่งอื่นๆที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเป็นเกาะภูเขาไฟ สวนพฤกษศาสตร์ ป่าดิบชื้น (Rainforest) และอุทยานแห่งชาติเกาะพิเจียน
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
ประชากรศาสตร์[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
ประชากรมากกว่า 90% ของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกครึ่งระหว่างชาวผิวขาวกับผิวดำ คนกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้เซนต์ลูเชียยังมีประชากรเชื้อสายอื่น ๆ อีก ได้แก่ อินโด-แคริบเบียน (อินเดีย) ประมาณร้อยละ 3 และมีเพียงร้อยละ 1.1 ที่เป็นชาวยุโรปแท้ (สืบเชื้อสายฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม)
เซนต์ลูเชียเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศสูงที่สุดในโลก กล่าวคือ มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมด 2 คนที่เป็นชาวเซนต์ลูเชีย คือ เซอร์อาเทอร์ ลิวอิส ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และเดเร็ก วัลคอตต์ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ปี พ.ศ. 2535
ศาสนา[แก้]
ประชากรของเซนต์ลูเชียประมาณร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก นอกจากนี้มีศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ เซเวนท์-เดย์แอดเวนติสต์ (ร้อยละ 9) เพนเทคอสทัล (ร้อยละ 6) อีแวนเจลิคัล (ร้อยละ 2) แองกลิกัน (ร้อยละ 2) และราสตาฟาเรียน (ร้อยละ 2) เป็นต้น (ข้อมูล พ.ศ. 2544[1]) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
ภาษา[แก้]
ภาษาทางการประจำหมู่เกาะคือภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ตามท้องถิ่นต่าง ๆ พบว่ามีการใช้ภาษาฝรั่งเศส (French patois) ด้วย
วัฒนธรรม[แก้]
วัฒนธรรมของเซนต์ลูเชียมีประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมแอฟริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษ หนึ่งในภาษาที่สองของประเทศ คือ ภาษา Kreole เป็นภาษาที่เป็นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศส เกทะกะพี
ดนตรีและการเต้นรำ[แก้]
การเต้นรำแบบพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมในเซนต์ลูเชีย คือ กาดรีย์ (Quadrille) นอกจากนี้ ในส่วนของดนตรี เซนต์ลูเชียมีดนตรีพื้นบ้านที่เป็นจุดแข็งไม่แพ้ดนตรีประเภท soca zouk หรือ reggae ของชาวแคริบเบียนแห่งอื่น ๆ และทุกๆ ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เซนต์ลูเชียจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Official website of the Government of Saint Lucia (อังกฤษ)
- Compendium of Environmental Statistics (อังกฤษ)
- Official Home of the Saint Lucia Solid Waste Management Authority (อังกฤษ)
- 2001 Population and Housing Census Report (อังกฤษ)
- Official Website of Saint Lucia Met. Service (อังกฤษ)
- Portal of the Saint Lucia Tourist Board (อังกฤษ)
- Saint Lucia - Simply Beautiful (อังกฤษ)
- Pictures & Images of St. Lucia (อังกฤษ)
- Teaching Resources on St Lucia (อังกฤษ)
- Map of St. Lucia (อังกฤษ)
|
|