สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ
ขณะดำรงพระอิสสริยยศมกุฎราชกุมารี ใน พ.ศ. 2561
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศ1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
พิธีขึ้น22 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระราชสมภพ9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (60 พรรษา)
โรงพยาบาลโทราโนะมง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พระราชสวามีสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (พ.ศ. 2536–ปัจจุบัน)
พระราชบุตรเจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ
ราชวงศ์ญี่ปุ่น (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาฮิซาชิ โอวาดะ
พระราชมารดายูมิโกะ เองาชิระ
ศาสนาชินโต

สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ (ญี่ปุ่น: 皇后雅子โรมาจิ: 'โคโง มาซาโกะ') เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ เป็นจักรพรรดินีญี่ปุ่นพระองค์ปัจจุบันต่อจาก จักรพรรดินีมิจิโกะ

พระราชประวัติ[แก้]

มาซาโกะ โอวาดะ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็นธิดาคนโตของฮิซาชิ โอวาดะ กับ ยูมิโกะ (สกุลเดิม เองาชิระ) มีพระขนิษฐาฝาแฝดคือ เซ็ตสึโกะ และเรโกะ[1]

เจ้าหญิงมาซาโกะได้เสด็จพระราชดำเนินย้ายไปประทับที่มอสโกขณะพระชนมายุ 2 พรรษา และสำเร็จการศึกษาชั้นอนุบาลที่มอสโก และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาศึกษาต่อในโรงเรียนหญิงล้วนในญี่ปุ่นชื่อว่า "เดะเย็ยโชะฟุ ฟุทะบะ" ในโตเกียว หลังจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินย้ายไปประทับที่สหรัฐเนื่องจากบิดาของเจ้าหญิงมาซาโกะได้รับการคัดเลือกเป็น อาจาร์ยพิเศษในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นรองทูตญี่ปุ่นประจำสหรัฐอเมริกา โดยมาซาโกะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเบลมอนต์ไฮสคูล ในเบลมอนต์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ใกล้กับบอสตัน

ต่อมา มาซาโกะได้ศึกษาต่อในสายเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังไม่จบ แต่ก็รับปริญญาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากวิทยาลัย Balliol ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ฮาร์วาร์ดของเธอคือเจฟฟรี่ แชคส์ ต่อมาเจ้าหญิงมาซาโกะได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งบิดาของเธอทำงานอยู่ที่นั่น เพื่อเตรียมสอบที่กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น[2]

นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว มาซาโกะสามารถรับสั่งภาษาอื่นได้ เช่น ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ทั้งยังตรัสภาษาเยอรมัน รัสเซีย และสเปน ในระดับมาตรฐานได้[3][4]

ชีวิตในพระราชสำนัก[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ ใน พ.ศ. 2562

พระจริยวัตร[แก้]

ก่อนการอภิเษกสมรส ประชาชนและผู้คนส่วนใหญ่ต่างหวังว่า มาซาโกะ ผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์ของคนสมัยใหม่ จะสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์ของราชสำนักที่คร่ำครึได้ แต่สถานการณ์ภายหลังการอภิเษกสมรสกลับไม่เป็นดังที่ผู้คนหวัง เจ้าหญิงมาซาโกะแทบจะไม่เคยปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ นอกเสียจากพิธีการสำคัญ ๆ เท่านั้น ผู้คนตั้งข้อสังเกตว่าหากทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแล้วจะทรงแย่งรัศมี ไปจากเจ้าชายนารูฮิโตะ พระสวามี ดังเช่นกรณีเจ้าหญิงไดอานา

ด้วยเหตุที่แทบจะไม่ได้เสด็จออกต่อสาธาณะชน จึงมีคนเรียกขานพระองค์เสียใหม่เป็น “เจ้าหญิงผู้เงียบเชียบ” ทรงกลายเป็นคนไม่มีปากมีเสียง และแทบจะไม่เคยตรัสกับเหล่าพสกนิกรที่มาเข้าเฝ้าฯ นอกจากทรงแย้มพระสรวลให้เท่านั้น

ความคาดหวังต่อการให้ประสูติพระรัชทายาท[แก้]

แม้ว่าจะทรงเข้าราชสำนักมาแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ทรงมีวี่แววว่าจะทรงพระครรภ์ ทางสำนักพระราชวังและเหล่าประชาชนต่างหวังให้พระองค์ทรงพระครรภ์โดยเร็ว เนื่องด้วยพระชนมายุก็มากขึ้นทุกขณะ แม้ว่ามกุฎราชกุมารจะทรงช่วยตรัสเพื่อลดความสนใจของผู้คนลง แต่สื่อก็ยังคงรายงานเรื่องการทรงพระครรภ์ของเจ้าหญิง ทรงถูกจับจ้องทุกพระอิริยาบถอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้เองกลายเป็นความกดดันให้แก่พระองค์เป็นอย่างมาก จนทรงแท้งในการทรงพระครรภ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2542 การแท้งครั้งนี้ได้นำความเสียพระทัยอย่างสาหัสมาสู่เจ้าหญิงมาซาโกะและสร้างความผิดหวังแก่เหล่าผู้คนอย่างมาก จนสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะต้องทรงมีพระราชดำรัสผ่านสื่อว่า "ไม่มีใครหรอกที่จะเข้าใจความรู้สึกของมาซาโกะว่าจะต้องใช้ความพยายามสักเพียงไหนกับการตั้งครรภ์ครั้งแรก ข้าพเจ้าได้แต่หวังว่าเธอคงรู้ว่าเธออยากระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจให้ใครสักคนฟัง ข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะเป็นคนคนนั้น ข้าพเจ้าจะอยู่เคียงข้างเธอเสมอ"

ในที่สุด พ.ศ. 2544 มาซาโกะทรงมีพระประสูติกาล เจ้าหญิงไอโกะ ซึ่งสามารถบรรเทาความกังวลของสาธารณชนลงได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ บัญญัติห้ามสตรีขึ้นครองราชย์ เรื่องนี้นำไปสู่การถกเถียงกันขนานใหญ่ว่าสมควรจะต้องมีการแก้กฎมณเฑียรบาลเสียใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหญิงไอโกะได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา แต่สำนักพระราชวังและรัฐสภาของก็ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ในเรื่องนี้

ความคาดหวังให้ทรงมีพระโอรสกลายเป็นความกดดันใหม่แก่ทั้งมกุฎราชกุมารและเจ้าหญิงมาซาโกะ เจ้าหญิงทรงเครียดจัดและมีภาวะซึมเศร้าจนส่งผลไปถึงพระพลานามัย ที่ทำให้ต้องทรงประทับ รักษาพระองค์อยู่แต่ในวังตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยไม่ได้เสด็จออกสู่สาธารณชนอีกเลย นอกจากเฉพาะในงานพิธีการสำคัญ อาทิ วันเฉลิมพระชนพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นต้น

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินีมาซาโกะ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเฮกะ (陛下)
การแทนตนโบะกุ (บุรุษ) / วะตะชิ (สตรี)
ลำดับโปเจียม2

เจ้าหญิงมาซาโกะดำรงพระราชอิสริยยศตั้งแต่ทรงเสกสมรส เป็น มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น และพระราชสวามีเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จะกลายเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ

  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 : มาซาโกะ โอวาดะ
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2536 – 30 เมษายน พ.ศ. 2562 : เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 皇太子徳仁親王妃雅子โรมาจิ: 'โคไตชินะรุฮิโตะ ชินโนฮิ มาซาโกะ', แปลตามตรง คือ เจ้าหญิงมาซาโกะ พระชายาในมกุฎราชกุมารนารูฮิโตะ)
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน : สมเด็จพระจักรพรรดินี

พงศาวลี[แก้]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คะเนะโยชิ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทะเคะโอะ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทะเคะโนะ โคงะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฮิซาชิ โอวาดะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มะตะชิโระ ทะมุระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชิซุกะ ทะมุระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ
(มาซาโกะ โอวาดะ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยะซุตะโร เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยุทะกะ เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
โยะเนะโกะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยูมิโกะ เองาชิระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทานิน ยะมะยะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ซึซึโกะ ยะมะยะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ซะดะโกะ นิวะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Princess Bride". People Magazine. June 21, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  2. "Weight of Imperial world on Princess Masako" The Japan Times. May 19, 2009. Retrieved November 4, 2009.
  3. Hills, Ben (2006). Princess Masako: Prisoner of the Chrysanthemum Throne. VNU Business Media, Inc. p. 336. ISBN 1585425680.
  4. Ruoff, Kenneth (2003). The People's Emperor: Democracy and the Japanese Monarchy, 1945-1995. VNU Business Media, Inc. p. 331. ISBN 0674008405.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ จักรพรรดินีญี่ปุ่น
(1 พฤษภาคม 2562 – ปัจจุบัน)
​ยังดำรงพระอิสริยยศ