จักรพรรดิไดโงะ
จักรพรรดิไดโงะ 醍醐天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 4 สิงหาคม ค.ศ. 897 – 16 ตุลาคม ค.ศ. 930 | ||||
ราชาภิเษก | 14 สิงหาคม ค.ศ. 897 | ||||
ก่อนหน้า | อูดะ | ||||
ถัดไป | ซูซากุ | ||||
ประสูติ | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 884 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 23 ตุลาคม ค.ศ. 930 เฮอังเกียว (เกียวโต) | (46 ปี)||||
ฝังพระศพ | โนจิ โนะ ยามาชินะ โนะ มิซาซางิ (後山科陵; เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก | ฟูจิวาระ โนะ อนชิ | ||||
พระราชบุตร พระองค์อื่น ๆ... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิอูดะ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ อินชิ [ja] |
จักรพรรดิไดโงะ (ญี่ปุ่น: 醍醐天皇; โรมาจิ: Daigo-tennō; 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 884 – 23 ตุลาคม ค.ศ. 930) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 60[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในลำดับการสืบราชบัลลังก์ [2]
จักรพรรดิไดโงะครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 897 ถึง 930[3] พระนามของพระองค์นำมาจากสถานที่ฝังพระศพ
พระบรมวงศานุวงศ์
[แก้]ไดโงะเป็นพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิอูดะ พระราชมารดาของพระองค์คือฟูจิวาระ โนะ ทาเนโกะ (หรือ อินชิ) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ทากาฟูจิ รัฐมนตรีส่วนกลาง[4] พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์แต่ทรงพระเยาว์หลังจากจักรพรรดิอูดะ พระราชบิดา ทรงสละราชสมบัติใน ค.ศ. 897 พระราชมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนขึ้นครองราชย์ ดังนั้นพระองค์ทรงได้รับเลี้ยงจากฟูจิวาระ โนะ อนชิ พระมเหสีอีกพระองค์ของอูดะผู้เป็นธิดาในอดีตคัมปากุ ฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ
จักรพรรดิโคโก พระอัยกาของไดโงะ ทรงลดพระยศของพวกพระราชโอรสจากเชื้อพระวงศ์มาเป็นสามัญชน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐ รวมทั้งอิทธิพลทางการเมืองของพวกเขา นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับนามสกุลมินาโมโตะ ดังนั้น ไดโงะจึงไม่ได้เกิดเป็นเชื้อพระวงศ์และมีพระนามว่า มินาโมโตะ โนะ โคเรซาเนะ (源維城) จนกระทั่ง ค.ศ. 887 เมื่อมินาโมโตะ โนะ ซาดามิ (อดีตเจ้าชายซาดามิ) พระราชบิดาของไดโงะ ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าชายและรัชทายาทในพระราชบัลลังก์[5] หลังจากนั้น พระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) จึงเปลี่ยนเป็น อัตสึฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 敦仁親王; โรมาจิ: Atsuhito Shinnō)[6] หรือ โอโนะ-เทอิ[7] ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ
ไดโงะทรงมีจักรพรรดินี พระมเหสี และพระสนมรวม 21 พระนาง และมีพระราชโอรสธิดารวม 36 พระองค์[8]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิไดโงะ
[แก้]การเปลี่ยนชื่อรัชสมัยใน ค.ศ. 898 เป็นจุดเริ่มต้นของรัชสมัยจักรพรรดิไดโงะ[4] เหตุการณ์สำคัญในช่วง 34 ปีของไดโงะอยู่ที่พระองค์ทรงปกครองด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้สำเร็จราชการจากตระกูลฟูจิวาระ แม้ว่าพระองค์มีเชื้อสายจากฟูจิวาระอยู่ส่วนหนึ่ง
- 4 สิงหาคม ค.ศ. 897 (ปีคัมเปียวที่ 9, วันที่ 3 เดือน 7 ): ในปีที่ 10 ของรัชสมัยอูดะ-เท็นโน (宇多天皇十年) จักรพรรดิอูดะสละราชสมบัติ และพระราชโอรสองค์โตได้รับสถานะผู้สืบทอด ("เซ็นโซะ")[9]
- 14 สิงหาคม ค.ศ. 897 (ปีคัมเปียวที่ 9, วันที่ 13 เดือน 7): จักรพรรดิไดโงะขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ (โซกูอิ)[10]
- 7 ธันวาคม ค.ศ. 899 (ปีโชไตที่ 2, วันที่ 1 เดือน 11): ดวงอาทิตย์เข้าสู่เหมายัน และบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของจักรวรรดิทั้งหมดเข้าเฝ้าราชสำนักของไดโงะ[11]
- 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 900 (ปีโชไตที่ 3, วันที่ 3 เดือน 1): ไดโงะเสด็จไปเยี่ยมพระราชบิดาที่พระตำหนักที่อูดะเลือกภายหลังการสละราชบัลลังก์[12]
- ค.ศ. 900 (ปีโชไตที่ 3, เดือน 10): อดีตจักรพรรดิอูดะเสด็จไปยังเขาโคยะ (ญี่ปุ่น: 高野山; โรมาจิ: Kōya-san) ในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดวากายามะไปทางใต้ของโอซากะ พระองค์เสด็จไปที่วัดต่างๆ บนไหล่เขา[13]
- 23 มกราคม ค.ศ. 901 (ปีเอ็งงิที่ 1, วันที่ 1 เดือน 1): เกิดสุริยุปราคา[13]
- ค.ศ. 901 (ปีเอ็งงิที่ 1, เดือน 1): เกิด"อุบัติการณ์"ซูงาวาระ มิจิซาเนะขึ้น แต่ไม่สามารถทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เนื่องจากไดโงะสั่งให้เผาอนุทินและบันทึกต่าง ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว[8]
- ค.ศ. 906 (ปีเอ็งงิที่ 5, เดือน 4): คิ-โนะ สึรายูกิมอบหนังสือรวบรวมบทกวี โคกิงวากาชู ซึ่งเป็นชุดบทกวีวากะ ให้แก่จักรพรรดิ[14]
- ค.ศ. 909 (ปีเอ็งงิที่ 9, เดือน 4 ): ซาไดจิง ฟูจิวาระ โนะ โทกิฮิระเสียชีวิตด้วยอายุ 39 ปี เขาได้รับเกียรติเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลังเสียชีวิต[14]
- ค.ศ. 929 (ปีเอ็นโจที่ 7, เดือน 8): อุทกภัยทำลายประเทศและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก[15]
- 21 กรกฎาคม ค.ศ. 930 (ปีเอ็นโจที่ 8, วันที่ 26 เดือน 6): เมฆฝนสีดำขนาดใหญ่เคลื่อนตัวมาจากเชิงเขาอาตาโงะไปยังเฮอังเกียวตามมาด้วยฟ้าร้องดังสนั่นหวั่นไหว ฟ้าผ่าลงมายังพระราชวังหลวง ทั้งที่ปรึกษาอาวุโสฟูจิวาระ-โนะ-คิยตสึระ (มีอีกนามว่ามิโยชิ โนะ คิโยยูกิ) และไทระ-โนะ มาเรโยะ ผู้ควบคุมส่วนกลางฝั่งขวา และขุนนางระดับรองอีกหลายคนถูกสังหาร และร่างของพวกเขาถูกเผาไหม้ในกองเพลิงในเวลาต่อมา มีการตีความว่าความตายของพวกเขาเป็นการแก้แค้นโดยวิญญาณที่ยังไม่สงบของซูงาวาระ มิจิซาเนะ[16]
- 16 ตุลาคม ค.ศ. 930 (ปีเอ็นโจที่ 8, วันที่ 22 เดือน 9): ในปีที่ 34 ของรัชสมัยไดโงะ-เท็นโน (醍醐天皇34年) จักรพรรดิทรงพระประชวรหนัก และเกรงว่าพระองค์คงไม่รอดแน่แล้วจึงสละราชบัลลังก์ กล่าวกันว่า ณ จุดนี้ พระราชโอรสได้รับตำแหน่งผู้สืบทอด (เซ็นโซะ) หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิซูซากุขึเนครองราชย์ (โซกูอิ)[17]
- 29 ตุลาคม ค.ศ. 930 (ปีเอ็นโจที่ 8, วันที่ 29 เดือน 9): จักรพรรดิไดโงะทรงออกกผนวชในยามเช้าตรู่มาก ในฐานะพระสงฆ์ พระองค์ได้ฉายาธรรมว่า โฮ-คงโง และหลังจากนั้นไม่นานก็สวรรคตด้วยพระชนมพรรษา 46 ปี[18] พระบรมศพของพระองค์ได้ฝังไว้ที่ไดโงจิ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามหลังสวรรคตของอดีตจักรพรรดิเป็น ไดโงะ-เท็นโน[15]
ศักราชในรัชสมัยไดโงะ
[แก้]ปีในรัชสมัยไดโงะมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราชหรือ เน็งโง[19]
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
[แก้]จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ อนชิ (藤原穏子) ธิดาในคัมปากุ ฟูจิวาระ โนะ โมตตสึเนะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายยาซูอากิระ (保明親王; 903–923) มกุฎราชกุมารของจักรพรรดิไดโงะที่มีชื่อเรียกว่า บุงเก็งเง็นไตชิ (文献彦太子)
- พระราชธิดาองค์ที่ 14: เจ้าหญิงโคชิ (康子内親王; 919–957) สมรสกับอูไดจิง ฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ
- พระราชโอรสองค์ที่ 14: เจ้าชายฮิโรกิระ (มีอีกพระนามว่า ยูตาอากิระ 寛明親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิซูซากุ
- พระราชโอรสองค์ที่ 16: เจ้าชายนาริอากิระ (成明親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิมูรากามิ
พระมเหสี (ฮิ): เจ้าหญิงอิชิ (為子内親王, สวรรคต ค.ศ. 899) พระราชธิดาในจักรพรรดิโคโก
- พระราชธิดาองค์ที่ 1: เจ้าหญิงคันชิ (勧子内親王; 899–910)
พระมเหสี (เนียวโงะ): มินาโมโตะ โนะ วาชิ (源和子; สวรรคต ค.ศ. 947) พระราชธิดาในจักรพรรดิโคโก
- พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงเคชิ (慶子内親王; 903–923) สมรสกับเจ้าชายอัตสึกาตะ (พระราชโอรสในจักรพรรดิอูดะ)
- พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายสึเนอากิระ (常明親王; 906–944)
- พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายโนริอากิระ (式明親王; 907–966)
- พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายอาริอากิระ (有明親王; 910–961)
- พระราชธิดาองค์ที่ 13: เจ้าหญิงโชชิ (韶子内親王; 918–980) ไซอิงคนที่ 13 ในศาลเจ้าคาโมะ (921–930); ภายหลังสมรสกับมินาโมโตะ โนะ คาโยกาเงะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 17: เจ้าหญิงเซชิ/ทาดาโกะ (斉子内親王; 921–936) ไซโอคนที่ 27 ในศาลเจ้าอิเซะ (936) แต่ไม่ได้ไปที่อิเซะเนื่องจากสิ้นพระชนม์ก่อน
พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ โนชิ (藤原能子; สวรรคต ค.ศ. 964) ธิดาในอูไดจิง ฟูจิวาระ โนะ ซาดากาตะ; ภายหลังสมรสกับฟูจิวาระ โนะ ซาเนโยริ
พระมเหสี (เนียวโงะ): นางพระกำนัลฟูจิวาระ โนะ วากาโกะ (藤原和香子, สวรรคต ค.ศ. 935) ธิดาในไดนางง ฟูจิวาระ โนะ ซาดากูนิ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิไดโงะ[20] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 醍醐天皇 (60)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 68–69.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 129–134; Brown, Delmer et al. (1979). Gokanshō, pp. 291–293; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 179–181.
- ↑ 4.0 4.1 Varley, p. 179.
- ↑ Kurayama, Mitsuru (June 2017). 日本一やさしい天皇の講座. Fusosha Publishing. ISBN 978-4-594-07721-1.
- ↑ Varley, p. 179; Brown, p. 264; ก่อนหน้าจักรพรรดิโจเม พระนามส่วนพระองค์ของจักรพรรดิมีความยาวมากและราษฎรโดยทั่วไปไม่ใช้กัน อย่างไรก็ตาม หลังจากรัชสมัยจักรพรรดโจเม ความยาวของตัวอักษรในแต่ละพระนามจึงลดลง
- ↑ Ponsonby-Fane, p. 8.
- ↑ 8.0 8.1 Brown, p. 293.
- ↑ Tisingh, p. 129; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized before Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Brown, p. 291; Varley, p. 44
- ↑ Titsingh, p. 130.
- ↑ Titsingh, pp. 130–131.
- ↑ 13.0 13.1 Titsingh, p. 131.
- ↑ 14.0 14.1 Titsingh, p. 132.
- ↑ 15.0 15.1 Titsingh, p. 134.
- ↑ Titsingh, p. 134[ลิงก์เสีย]; Brown, p. 293; Varley, p. 179-181.
- ↑ Brown, p. 293; Varley, p. 44.
- ↑ Titsingh, p. 134; Brown, p. 292; Varley, p. 181.
- ↑ Titsingh, p. 129.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 6 February 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842