แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์ดยุกอ็องรี
OSCE PA President George Tsereteli and the Grand Duke of Luxembourg CROPPED Henri.jpg
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
ครองราชย์7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าฌ็อง
รัชทายาทกีโยม
นายกรัฐมนตรี
ผู้สำเร็จราชการแห่งลักเซมเบิร์ก
ดำรงตำแหน่ง3 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543
พระชายามาเรีย เตเรซา เมสเตร
พระบุตร
ราชวงศ์
พระบิดาแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก
พระมารดาแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก
ประสูติ16 เมษายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
ปราสาทเบทซ์ดอล์ฟ ประเทศลักเซมเบิร์ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก

แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก (16 เมษายน พ.ศ. 2498 –) เป็นพระโอรสพระองค์แรกในแกรนด์ดยุกฌ็องและเจ้าฟ้าหญิงโฌเซฟิน-ชาร์ล็อต เป็นพระราชนัดดาใน เลออปอลที่ 3 เป็นพระภาคิไนยใน อัลแบร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 อภิเษกสมรสกับมาเรีย เตเรซา เมสเตรใน พ.ศ. 2524

ในวัยเยาว์และการศึกษา[แก้]

แกรนด์ดยุกอ็องรี เป็นพระโอรสพระองค์แรกในแกรนด์ดยุกฌ็องและแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก มีพระภราดาพระภคินีทั้งหมด 4 พระองค์คือ

เจ้าชายอ็องรีได้เป็นรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ทรงศึกษาในประเทศลักเซมเบิร์กและในฝรั่งเศส ที่นั่นพระองค์ทรงได้รับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2517 จากนั้นทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ทรงสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2523 พระองค์ได้อาสาเข้าฝึกในวิทยาลัยการทหารของประเทศอังกฤษ

อภิเษกสมรสและครอบครัว[แก้]

แกรนด์ดยุกอ็องรีและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซา พระชายา

ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่เจนีวา แกรนด์ดยุกอ็องรีได้พบกับนางสาวมาเรีย เตเรซา เมสเตร ผู้ซึ่งศึกษาอยู่คณะเดียวกัน ทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ณ ลักเซมเบิร์ก และทรงได้รับพระอนุญาตจากแกรนด์ดยุกก่อนแล้ว

ทั้งคู่มีพระโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

และพระนัดดา 5 พระองค์ ได้แก่

พระอิสริยยศในรัฐธรรมนูญ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
แกรนด์ดยุกอ็องรี
Greater coat of arms of the Grand Duke of Luxembourg (2000).svg
ตราประจำพระอิสริยยศ
Standard of the Grand Duke of Luxembourg.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
Royal Monogram of Grand Duke Henri of Luxembourg.svg
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส รอยัล ไฮเนส
การขานรับยัวร์ รอยัล ไฮเนส
ลำดับโปเจียม1

เจ้าชายอ็องรีได้กลายเป็นรัชทายาทอย่างแท้จริงเมื่อแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ตั้งแต่พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2541 ทรงเป็นสมาชิกในสภาแห่งรัฐ

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 เจ้าชายอ็องรีทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระราชบิดา แสดงว่าพระองค์ทรงได้รับพระราชอำนาจทางรัฐธรรมนูญจากพระบิดา ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กทรงสละราชสมบัติ เจ้าชายอ็องรีทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กโดยรัฐธรรมนูญก่อนการประชุมคณะผู้แทนหลังจากวันนั้น

พระนามเต็มและพระอิศริยยศของพระองค์คือ ฮิสรอยัลไฮเนสอ็องรีโดยพระคุณของพระเป็นเจ้า แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าชายแห่งนัสเซา เจ้าชายแห่งบูร์บง-ปาร์มา ดยุกแห่งนัสเซา เคานต์พาลาไทน์แห่งแม่น้ำไรน์ เคานต์แห่งไซน์ เคอนิกชไตน์ คัทเซเนล์นโบเงิน และนีซ เบอร์เกรฟแห่งฮัมเมอร์ชไตน์ ลอร์ดแห่งมาลแบร์ก วีสบาเดิน อิทชไตน์ เมเรนแบร์ก ลิมบูร์ก และเอพพ์ชไตน์

อย่างไรก็ตามในช่วงครองราชสมบัติทรงสละพระยศ โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า และในกฎหมาย, ประกาศและเอกสารทางราชการทรงให้พระนามว่า "อ็องรี แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ดยุกแห่งนัสเซา"

การโต้แย้งในกฎหมายการการุณยฆาต[แก้]

ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จากประกาศแกรนด์ดยุกอองรีทรงไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาตที่จะต้องลงพระอภิไธยเพื่อให้เป็นการถูกกฎหมาย หลังจากการลงคะแนนเสียง ทรงจำเป็นต้องลงพระนามในกฎหมายนี้ตามคะแนนเสียง ทางราชวงศ์พยายามที่จะหยุดคำตัดสินของรัฐสภาที่เห็นชอบซึ่งเหมือนกับครั้งอดีตที่แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์กทรงปฏิเสธที่จะลงพระนามในพระราชบัญญัติการศึกษาในปี พ.ศ. 2455

บทบาทและความสนพระทัย[แก้]

ขณะเป็นพระประมุขในระบอบประชาธิปไตย ภาระหน้าที่ของพระองค์เริ่มแรกคือการเป็นผู้แทน อย่างไรก็ตามพระองค์ได้รักษาไว้ซึ่งพลังแห่งรัฐธรรมนูญที่ทรงกำหนดหน้าที่ให้แก่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลแต่ทรงล้มเลิกหน้าที่การประกาศกฎหมายและการแต่งตั้งคณะทุตานุทูต แกรนด์ดยุกอ็องรีทรงเป็นจอมทัพลักเซมเบอร์ก ที่ซึ่งมีพระอิศริยยศทางทหารชั้นนายพล

พระองค์ทรงเป็นตัวแทนประเทศไปกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆเช่นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 แกรนด์ดยุกอ็องรีและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาเสด็จประพาสสเปนเป็นประเทศแรก ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนกับสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน แกรนด์ดยุกอ็องรีทรงเป็นสมาชิกในคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติด้วย

ปัจจุบันพระองค์ทรงพำนักอยู่กับพระราชวงศ์ที่ปราสาทเบิร์กในลักเซมเบิร์ก และมักทรงแปรพระราชฐานในวันหยุดไปที่ฝรั่งเศสตอนใต้

พระราชตระกูล[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก ถัดไป
แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก 2leftarrow.png แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)
(บูร์บง-ปาร์มา)

(7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน)
2rightarrow.png ยังอยู่ในราชสมบัติ
แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก 2leftarrow.png Arms Nassau.png
ดยุกแห่งนัสเซา
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)
ภายใต้กฎหมาย

(7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน)
2rightarrow.png ยังอยู่ในราชสมบัติ