จักรพรรดิคาซัง
จักรพรรดิคาซัง 花山天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 24 กันยายน ค.ศ. 984 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 986 | ||||
ราชาภิเษก | 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 984 | ||||
ก่อนหน้า | เอ็นยู | ||||
ถัดไป | อิจิโจ | ||||
พระราชสมภพ | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 968 เฮอังเกียว (เกียวโต) | ||||
สวรรคต | 17 มีนาคม ค.ศ. 1008 เฮอังเกียว (เกียวโต) | (39 ปี)||||
ฝังพระศพ | คามิยางาวะ โนะ โฮโตริ โนะ มิซาซางิ (紙屋川上陵; เกียวโต) | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น... |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเรเซ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ ไคชิ [ja] |
จักรพรรดิคาซัง (ญี่ปุ่น: 花山天皇; โรมาจิ: Kazan-tennō; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 968 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1008) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 65[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์[2]
รัชสมัยของจักรพรรดิคาซังกินเวลาจาก ค.ศ. 984 ถึง 986[3]
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนที่พระองค์จะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเดิมของพระองค์ (อิมินะ) คือ เจ้าชายโมโรซาดะ (師貞親王)[4]
เจ้าชายโมโรซาดะเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดิเรเซ พระมารดาของพระองค์คือ ฟูจิวาระ โนะ คาเนโกะ/ไคชิ (藤原懐子) ธิดาใน เซ็ชโช ฟูจิวาระ โนะ โคเรตาดะ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระเชษฐาของจักรพรรดิซันโจ[5]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิคาซัง
[แก้]
เจ้าชายโมราซาดะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ในเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์[6]
- 6 ตุลาคม ค.ศ. 984 (ปีเอกังที่ 1, วันที่ 27 เดือน 8): ปีที่ 15 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเอ็งยู (円融天皇十五年) พระองค์สละราชบัลลังก์ และพระราชนัดดาได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ไม่นานหลังจากนั้น จักรพรรดิคาซังได้ขึ้นครองราชย์[7]
พระองค์เป็นผู้ริเริ่มให้รวบรวมบทกวีชูอิวากาชู
- ค.ศ. 985 (ปีคันนะที่ 1, เดือน 4): ฟูจิวาระ โนะ โทกิอากิระกับยาซูซูเกะ น้องชาย ต่อสู้กับฟูจิวาระ โนะ ซูกิตากะกับโอเอะ-โนะ มาซาฮิระในการประลองดาบที่เกียวโต มาซาฮิระเสียนิ้วมือซ้าย สองพี่น้องหนีไป และหลังจากค้นหาอย่างถี่ถ้วนแล้ว มีผู้พบโทกิอากิระในแคว้นโอมิ[5]
พระองค์เผชิญกับการต่อสู้ทางการเมืองที่รุนแรงจากตระกูลฟูจิวาระ และเมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา พระองค์ถูกฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ บีบให้สละราชบัลลังก์ คาเนอิเอะเสนอให้จักรพรรดิคาซังสละราชบัลลังก์ เนื่องจากเจ้าชายคาเนฮิโตะ (懐仁親王; หลานตาของคาเนอิเอะ) ได้รับการสืบทอดไตรราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจการปกครองเรียบร้อยแล้ว และการสืบทอดราชบัลลังก์ของจักรพรรดิคาซังต่อไปนั้นไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ภายใต้แรงกดดัน จักรพรรดิคาซังจำยอมสละราชบัลลังก์ และเสด็จไปวัดกังเงียวจิ พระองค์เดินทางไปพร้อมกับ มิชิกาเนะ บุตรชายคนที่ 2 ของคาเนอิเอะ ผู้ซึ่งจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึง มิชิกาเนะบอกกับพระองค์ขอพบพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ในขณะที่ยังเป็นฆราวาส
- ค.ศ. 986 (ปีคันนะที่ 2, เดือน 6): จักรพรรดิคาซังสละราชบัลลังก์ และผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดกังเงียวจิ ได้รับพระนามฉายาใหม่ว่า นีวกากุ (如覚)[8]
- 23 สิงหาคม ค.ศ. 986 (ปีคันนะที่ 2, วันที่ 16 เดือน 7): อิยาซาดะ-ชินโนได้รับการแต่งคั้งเป็นรัชทายาทและมกุฎราชกุมารตอนพระชนมายุ 11 พรรษา[9]
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิคาซัง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 花山天皇 (65)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 72.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 300–302; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki,p. 192; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 148–150., p. 148, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 148; Varley, p. 192; Brown, p. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ 5.0 5.1 Titsingh, p. 148.
- ↑ Titsingh, p. 148; Brown, p. 300.
- ↑ Titsingh, p. 148; Brown, pp. 300; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Brown, p. 302.
- ↑ Brown, p. 307.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.