โจ ไบเดิน
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ เพราะใช้พุทธศักราชและคริสต์ศักราชสลับกัน คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โจ ไบเดิน | |
---|---|
![]() | |
ไบเดินในปี พ.ศ. 2564 | |
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม พ.ศ. 2564 (2 ปี 130 วัน) | |
รองประธานาธิบดี | กมลา แฮร์ริส |
ก่อนหน้า | ดอนัลด์ ทรัมป์ |
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม พ.ศ. 2552 – 20 มกราคม พ.ศ. 2560 (8 ปี 0 วัน) | |
ประธานาธิบดี | บารัก โอบามา |
ก่อนหน้า | ดิก ชีนีย์ |
ถัดไป | ไมก์ เพนซ์ |
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ จากเดลาแวร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม พ.ศ. 2516 – 15 มกราคม พ.ศ. 2552 (36 ปี 12 วัน) | |
ก่อนหน้า | คาเร็บ บ็อกส์ |
ถัดไป | เท็ด คอล์ฟแมน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สแกรนตัน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
พรรค | เดโมแครต |
คู่สมรส | เนเลีย ฮันเตอร์ (พ.ศ. 2509 – 2515) จิล ไบเดิน (พ.ศ. 2520 – ปัจจุบัน) |
บุตร |
|
วิชาชีพ | นักกฎหมาย |
ศาสนา | คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
ลายมือชื่อ | ![]() |
โจเซฟ โรบิเนตต์ ไบเดิน จูเนียร์ (อังกฤษ: Joseph Robinette Biden, Jr.;[a] เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) หรือ โจ ไบเดิน นักการเมืองชาวอเมริกัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 47 และอดีตสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐเดลาแวร์ สังกัดพรรคเดโมแครต เจ็ดสมัยติดต่อกัน
ไบเดินเกิดที่เมืองสแครนตัน ในรัฐเพนซิลเวเนีย และอาศัยอยู่ที่เมืองนี้จนอายุได้ 10 ขวบจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเดลาแวร์จวบจนปัจจุบัน เขาได้เริ่มศึกษาที่มหาวิทยาลัยเดลาแวร์ และได้รับปริญญาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ ในปี พ.ศ. 2511 ไบเดินประกอบอาชีพเป็นทนายความตั้งแต่ปี 2512 และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะลูกขุนเมื่อปี 2513 ไบเดินเข้ามารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในปี 2515 โดยการเลือกตั้ง ทำให้กลายเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ โดยมีอายุเพียง 29 ปี ในสมัยแรก จากนั้น เขาก็ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2521, 2527, 2533, 2539 และ 2545 นับว่าเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่ครองตำแหน่งมานานที่สุดเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์อีกด้วย
ไบเดินเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศมายาวนานจนเป็นประธานของคณะกรรมการชุดนี้ ศิลปะการเจรจาของเขาเคยนำมาซึ่งความช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐและการเข้าแทรกแซงในสงครามบอสเนีย เขาออกเสียงสนับสนุนนโยบายการแก้ปัญหาสงครามอิรัก แต่ต่อมาได้ประกาศจุดยืนว่าอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ดังกล่าว นอกจากนั้น ไบเดินยังได้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการศาลยุติธรรมสำหรับสมาชิกวุฒิสภาอีกด้วย โดยมีส่วนในเรื่องของยาเสพติด อาชญากรรม การป้องกันภัย และสิทธิพลเมือง และยังเป็นแกนนำในการเสนอกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาชญากรรมการใช้ความรุนแรงและการบีบบังคับ และกฎหมายว่าด้วยการคุกคามสตรี
ไบเดินเคยลงสมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2531 และ 2551 แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองครั้ง แต่ในปี 2551 บารัก โอบามา ผู้สมัครที่ได้ตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครตตัดสินใจเลือกไบเดินเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเป็นคู่สมัครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 นี้ และได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี ในเดือนมกราคม 2560 ไบเดินได้รับรางวัลเกียรติยศเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีจากประธานาธิบดีโอบามา ในเดือนเมษายน 2562 ไบเดินประกาศลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐใน พ.ศ. 2563 ในเดือนมิถุนายน 2563 เขามีคุณสมบัติตามเกณฑ์จากคณะผู้ออกเสียงที่จำเป็นเพื่อให้ได้รับการเสนอชื่อจากพรรค[1] และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ไบเดินประกาศให้กมลา แฮร์ริส เป็นคู่สมัครรับเลือกตั้ง จนในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 ไบเดินได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเหนือ ดอนัลด์ ทรัมป์ ด้วยคะแนนเสียง 306 ต่อ 232 และได้เข้าพิธีสาบานตนเพื่อรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ไบเดินเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นคนแรกจากรัฐเดลาแวร์ เป็นคนแรกที่มีรองประธานาธิบดีเป็นสุภาพสตรี[2] และเป็นคนที่สองที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
นโยบายเร่งด่วนของไบเดินคือการฟื้นฟูประเทศจากการระบาดของโควิด-19[3] เขาลงนามในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนซึ่งเป็นการเน้นมาตรการระยะสั้นในการเยียวยาชาวอเมริกันผู้ได้รับผลกระทบ เขายังลงนามในกฎหมายสำคัญอื่น ๆ อาทิ กฎหมายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด และยังรับรองกฎหมายการสมรสของคู่รักเพศเดียวกันและสนับสนุนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[4][5] ในวาระดำรงตำแหน่งของเขายังมีเหตุการณ์สำคัญในการแต่งตั้ง เคตันจี บราวน์ แจ็กสัน สตรีผิวสีคนแรกผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐ[6] ไบเดินยังมีส่วนร่วมในความตกลงปารีสเพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประเทศสมาชิก เขามีคำสั่งให้ถอนกำลังทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานซึ่งเริ่มมีการเจรจามาตั้งแต่สมัยของทรัมป์ ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุการณ์การรุกของตอลิบาน พ.ศ. 2564 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน[7] ไบเดินยังร่วมลงนามในออคัส กติกาสัญญาไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เพื่อช่วยเหลือออสเตรเลียในการพัฒนาเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ เขาตอบโต้การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565 ด้วยการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย และอนุญาตให้ช่วยเหลือการส่งมอบอาวุธไปยังยูเครน ต่อมา ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 ไบเดินประกาศเจตนารมณ์ในการลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง[8][9]
รองประธานาธิบดี (2552-2560)[แก้]
สมัยแรก[แก้]
ไบเดิน กล่าวว่าเขามีความตั้งใจที่จะทำงานให้แตกต่างจากรองประธานาธิบดีในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยดิก ชีนีย์[10] ไบเดิน ยังได้รับเลือกเป็นผู้นำทีมเปลี่ยนผ่านสมัยประธานาธิบดีของโอบามา และยังเป็นผู้นำที่รับผิดชอบด้านโครงการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางอีกด้วย ช่วงต้นปี 2552 เขาได้เยี่ยมเยือนผู้นำอิรัก อัฟกานิสถาน และปากีสถาน[11] และต่อมาในวันที่ 20 มกราคม เขาได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นคนแรกจากรัฐเดลาแวร์ และคนแรกที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[12][13]
ภายหลังสมัยรองประธานาธิบดี[แก้]
ภายหลังลงจากตำแหน่งรองประธานาธิบดี ไบเดิน ได้กลายเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในขณะเดียวกันเขาก็คอยนำรณรงค์ด้านการรักษาโรคมะเร็ง[14] เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Promise Me, Dad ในปี 2560 ซึ่งเป็นหนังสือชีวประวัติของตัวเอง ซึ่งได้รับความนิยมจนต้องออกเดินทางทัวร์โปรโมตหนังสือ[15] ในระหว่างปี 2560-2561 ไบเดินมีรายได้มากถึง 15 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[16]
ไบเดิน ยังได้รับความสนใจอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยได้คอยสนับสนุนตัวแทนของพรรคฯ และยังคงให้ความเห็นต่าง ๆ ในด้านการเมือง ด้านสิ่งแวดล้อม และเกี่ยวกับประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์[17][18][19] ไบเดินยังเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในสิทธิของ LGBT ตั้งแต่สมัยรองประธานาธิบดีของเขาเป็นต้นมา ในปี 2562 ไบเดินได้ตำหนิบรูไน ในประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอิสลามซึ่งอนุญาตให้ทำการประหารชีวิตผู้ที่ผิดประเวณี และคนรักร่วมเพศโดยการปาหินว่า "น่ารังเกียจ และไร้มนุษยธรรม" และยังกล่าวอีกว่า "ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ ทั้งทางวัฒนธรรม และประเพณี ที่แสดงออกถึงความเกลียดชัง และความไร้มนุษยธรรมเช่นนี้"[20] ในปี 2562 ไบเดิน และภริยา มีสินทรัพย์รวมกันเพิ่มขึ้นรวมเป็นมูลค่าระหว่าง 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึง 8 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการปราศัยต่าง ๆ และสัญญาสำหรับแต่งหนังสืออีกหลายชุด[21]
ประธานาธิบดี[แก้]
นายโจ ไบเดิน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 46 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 โดยในขณะเข้ารับตำแหน่ง เขามีอายุถึง 78 ปี ซึ่งถือเป็นผู้รับตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุด[22]ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[23] ต่อจากจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากรัฐเดลาแวร์[24]
ในวันแรกของการทำงาน ไบเดินได้ลงนามในคำสั่งบริหารสำคัญต่าง ๆ เช่น การบังคับให้สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ราชการ การกลับเข้าร่วมในสนธิสัญญาความตกลงปารีส ยกเลิกคำสั่งบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินตามบริเวณชายแดนเม็กซิโก[25] และการกลับไปเข้าร่วมสมาชิกขององค์การอนามัยโลก[26]
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈbaɪdən/
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Linskey, Annie (June 9, 2020). "Biden clinches the Democratic nomination after securing more than 1,991 delegates".
- ↑ "Kamala Harris becomes first female vice president". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "National COVID-19 Preparedness Plan". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Gambino, Lauren; Smith, David (2022-12-13). "Biden signs landmark law protecting same-sex and interracial marriages". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-05-06.
- ↑ News, A. B. C. "Biden signs historic same-sex marriage bill at White House". ABC News (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ House, The White (2022-04-08). "Remarks by President Biden, Vice President Harris, and Judge Ketanji Brown Jackson on the Senate's Historic, Bipartisan Confirmation of Judge Jackson to be an Associate Justice of the Supreme Court". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Afghanistan: Joe Biden defends US pull-out as Taliban claim victory". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 2023-05-06.
- ↑ "Biden announces 2024 reelection bid: 'Let's finish this job'". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2023-04-25.
- ↑ "Joe Biden formally announces he will run for a second term as US president". Sky News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Biden says he'll be different vice president". CNN. December 22, 2008. Retrieved December 22, 2008.
- ↑ Lee, Carol E. (January 6, 2009). "'Senator' Biden's trip raises concerns". Politico. Retrieved January 9, 2009.
- ↑ "The First Catholic Vice President?". NPR. January 9, 2009. Retrieved September 25, 2019.
- ↑ Gaudiano, Nicole (November 6, 2008). "VP's home awaits if Biden chooses". The News Journal. Archived from the original on November 9, 2008. Retrieved November 8, 2008.
- ↑ O'Brien, Sara Ashley (March 12, 2017). "Joe Biden: The fight against cancer is bipartisan". CNNMoney. Retrieved March 13, 2017.
- ↑ Kane, Paul. "Analysis | Biden wraps up book tour amid persistent questions about the next chapter". The Washington Post. ISSN 0190-8286. Retrieved November 10, 2020.
- ↑ Viser, Matt; Narayanswamy, Anu (July 9, 2019). "Joe Biden earned $15.6 million in the two years after leaving the vice presidency". The Washington Post. Retrieved July 16, 2019.
- ↑ Hutchins, Ryan (May 28, 2017). "Biden backs Phil Murphy, says N.J. governor's race 'most important' in nation". Politico.
- ↑ "The Democratic candidates on foreign policy". Foreign Policy.
- ↑ Greenwood, Max (May 31, 2017). "Biden: Paris deal 'best way to protect' US leadership". The Hill.
- ↑ "Brunei defends tough new Islamic laws against growing backlash". Reuters. March 30, 2019. Retrieved December 31, 2020.
- ↑ Eder, Steve; Glueck, Katie (July 9, 2019). "Joe Biden's Tax Returns Show More Than $15 Million in Income After 2016". The New York Times. Retrieved July 16, 2019.
- ↑ Hunnicutt, Trevor; Zengerle, Patricia; Renshaw, Jarrett (January 20, 2021). "Taking helm of divided nation, U.S. President Biden calls for end to 'uncivil war'". Reuters. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ "Biden to become the second Catholic president in U.S. history, after JFK". NBC News. January 19, 2021. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ Cormier, Ryan; Talorico, Patricia (November 7, 2020). "Delaware history is made: The First State gets its first president in Joe Biden". The News Journal. Retrieved January 20, 2021.
- ↑ "Biden's first act: Orders on pandemic, climate, immigration". Associated Press. January 20, 2021. Retrieved January 21, 2021.
- ↑ Erikson, Bo (January 20, 2021). "Biden signs executive actions on COVID, climate change, immigration and more". CBS News. Retrieved January 21, 2021.
ก่อนหน้า | โจ ไบเดิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ดอนัลด์ ทรัมป์ | ![]() |
![]() ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 46 (20 มกราคม พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |
ดิก ชีนีย์ | ![]() |
รองประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 47 (20 มกราคม พ.ศ. 2552 – 20 มกราคม พ.ศ. 2560) |
![]() |
ไมก์ เพนซ์ |
- CS1 errors: generic name
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- โจ ไบเดิน
- ตระกูลไบเดิน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช
- ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ
- ชาวอเมริกันเชื้อสายฝรั่งเศส
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกชาวอเมริกัน
- ประธานาธิบดีสหรัฐ
- รองประธานาธิบดีสหรัฐ
- พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)
- นักการเมืองอเมริกัน
- บุคคลจากรัฐเดลาแวร์
- บุคคลจากสแครนตัน
- ผู้ได้รับอิสริยาภรณ์เหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี
- ผู้นำประเทศในปัจจุบัน