ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดอุตรดิตถ์"

พิกัด: 17°38′N 100°06′E / 17.63°N 100.1°E / 17.63; 100.1
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wichitdarabot (คุย | ส่วนร่วม)
อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่เก่าแก่มีชื่อว่า ทุ่งยั้ง กัมโพชนคร เมืองแสนหวี ตักศิลามหานคร
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
}}
}}
'''อุตรดิตถ์''' เดิมสะกดว่า '''อุตรดิฐ'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/40.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ.] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460</ref> เป็น[[จังหวัด]]หนึ่งตั้งอยู่ทาง[[ภาคเหนือ (ประเทศไทย)|ภาคเหนือ]]ของ[[ประเทศไทย]] ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของ[[อำเภอลับแล|เมืองลับแล]] ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทาง[[ประวัติศาสตร์]]มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์<ref>หวน พินธุพันธุ์. ''ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์''. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย, 2529.</ref>
'''อุตรดิตถ์''' เดิมสะกดว่า '''อุตรดิฐ'''<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/40.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ.] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460</ref> เป็น[[จังหวัด]]หนึ่งตั้งอยู่ทาง[[ภาคเหนือ (ประเทศไทย)|ภาคเหนือ]]ของ[[ประเทศไทย]] ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของ[[อำเภอลับแล|เมืองลับแล]] ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทาง[[ประวัติศาสตร์]]มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์<ref>หวน พินธุพันธุ์. ''ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์''. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย, 2529.</ref>

อุตรดิตถ์ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดคือ '''ทุ่งยั้ง''' มีกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์สุตตันตปิฎกเรื่องทุยังคนิทาน กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าเสด็จไปยังทุ่งยั้งนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยั้ง แต่ตถาคตเข้าไปสู่อาฬวกยักษ์เพื่อเทศนาโปรด    ใน พ.ศ. 500 ฤาษีสัชชนาไลยและฤาษีสิทธิมงคล ได้สร้างบ้านแปลงเมืองสวรรคโลกให้พระยาธรรมราชาเป็นผู้ครองนคร บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง พระยาธรรมราชา จึงโปรดให้สร้างนครลูกหลวงโดยให้พระโอรสเจ้าธรรมกุมาร ครองเมืองทุ่งยั้งและยกให้เป็นนครชื่อว่ากัมโพชนคร นอกจากนี้ยังมีชื่ออีกว่าเมืองแสนหวีและตักศิลามหานคร อ่านรายละเอียดได้ได้ในสมัยประวัติศาสตร์เมืองอุตรดิตถ์ข้างล่างนี้ (ผศ.วิชิต ดาราบถ)


เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของ[[แม่น้ำน่าน]]มีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/178.PDF ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ], เล่ม 32, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2458, หน้า 178</ref> ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 6]] เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด <ref>[http://intranet.m-culture.go.th/uttaradit/data1.pdf ประวัติและสภาพทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์. กระทรวงวัฒนธรรม]</ref>
เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของ[[แม่น้ำน่าน]]มีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ <ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/178.PDF ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ], เล่ม 32, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2458, หน้า 178</ref> ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 6]] เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด <ref>[http://intranet.m-culture.go.th/uttaradit/data1.pdf ประวัติและสภาพทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์. กระทรวงวัฒนธรรม]</ref>
บรรทัด 53: บรรทัด 55:


=== สมัยประวัติศาสตร์ ===
=== สมัยประวัติศาสตร์ ===
อุตรดิตถ์ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดคือ ทุ่งยั้ง มีกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์สุตตันตปิฎกเรื่องทุยังคนิทาน กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าเสด็จไปยังทุ่งยั้งนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยั้ง แต่ตถาคตเข้าไปสู่อาฬวกยักษ์เพื่อเทศนาโปรด    ใน พ.ศ. 500 ฤาษีสัชชนาไลยและฤาษีสิทธิมงคล ได้สร้างบ้านแปลงเมืองสวรรคโลกให้พระยาธรรมราชาเป็นผู้ครองนคร บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง พระยาธรรมราชา จึงโปรดให้สร้างนครลูกหลวงโดยให้พระโอรสเจ้าธรรมกุมารยกทุ่งยั้งเป็นกัมโพชนครพระโอรสเจ้าโลกกุมารเป็นพระยาศรีธรรมาโศกราชครองเมืองหริภุญชัย และเจ้าสีหกุมารครองนครพิชัยเชียงแสนทั้งสี่นครร่วมมือกันยกเป็นอาณาจักรสยามสุโขทัย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่ออีกว่าเป็นนครแสนหวี บันทึกจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นว่าเสียม(เป็นคำที่จีนใช้เรียกสยามสุโขทัย)ได้พาทูตโรมันมาติดต่อกับจีน ทางพระราชสำนักจีนได้พระราชทานของตอบแทนเป็นอันมากมีร่องรอยของนครแสนหวีที่จังหวัดอุตรดิตถ์บ้านป้าของผู้เขียนที่สวนผักคลองโพปรับพื้นดินหน้าบ้านได้เจอดาบจีนและกาน้ำชาที่มีลักษณะเก่ามากไม่เคยเห็นดาบและกาน้ำชาแบบนี้มาก่อนที่ดาบมีตัวอักษรจีนแบบโบราณเรียงเป็นแถวสิบกว่าตัวก็นำของสองชิ้นนี้ไปให้กรมศิลปากร กรมศิลป์มีหนังสือตอบมาว่าเป็นของพระราชทานจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับบันทึกของจีนและผู้เขียนไปอ่านหนังสือประวัติศาสตร์พม่าของอาจารย์ไพโรจน์ โพธิ์ไทรว่าเสียมหรือสยามส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นไปจากเมืองแสนหวี(รัฐฉานในพม่า)แต่ในรัฐฉานนั้นไม่มีหลักฐานใดๆเลยกลับพบหลักฐานของใช้ที่เป็นของพระราชทานในราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นที่คลองโพและที่นี้ก็ได้เคยขุดพบกลองมโหรทึกปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ตั้งของคลองโพอยู่ติดเมืองทุ่งยั้งชื่อทุ่งยั้งนี้ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยที่นี่จึงเป็นสถานที่สยามสุโขทัย(เสียม)ที่เป็นศูนย์กลางการค้าโบราณมีเส้นทางการค้าจากอินเดียผ่านทางมะละแหม่งเข้าแม่สอดสุโขทัยอุตรดิตถ์(คลองโพ)ออกลาวทางด้านแขวงไชยบุรีขนส่งสินค้าลงเรือใช้แม่น้ำโขงพาสินค้าขึ้นไปตอนใต้ของจีนเมืองหลวงของจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นก็อยู่ทางตอนใต้ของจีน การค้าในสมัยพุทธศตวรรษที่6 นี้การเดินเรือจากอินเดียมาค้าขายเป็นเรือสำเภาลำเล็กๆเดินเลาะเลียบชายฝั่งมหาสมุทรการใช้เส้นทางการค้าตามที่กล่าวมานี้จึงเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดทำให้คลองโพเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองเป็นถึงมหานคร เมืองเก่าแก่ที่สุดของที่นี่คือทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครถูกสร้างในปีพศ.ห้าร้อยกว่าๆโดยเจ้าธรรมกุมารอายุของเมืองก็เก่าพอๆกันกับเมืองแสนหวีตามบันทึกราชสำนักจีนและที่เมืองแสนหวีนี้ชาวเมืองก็ถูกเรียกว่าชาวสยามด้วยผู้เขียนจึงไปค้นว่าเมืองแสนหวีมีชื่อเต็มว่าศิริรัตน์มหากัมพูชาโกสัมพีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านครโพธิ์ ดาบจีนและกาน้ำชาที่เราพบนี้อยู่ที่นี่คลองโพหรือนครโพธิ์และทุ่งยั้งนั้นชื่อกัมโพชคล้องชื่อกับมหากัมพูชา สถานที่นี่ที่แท้จริงก็น่าจะเป็นเมืองแสนหวีในสมัยโบราณ         ถ้าเป็นเมืองแสนหวีจริง    กล่าวกันว่าจะพบเมืองเชียงแสนอยู่ทางทิศใต้ในระยะทางไม่ไกลนักผู้เขียนก็ไปค้นดูอีกว่าเมืองที่สร้างในรุ่นราวคราวเดียวกับทุ่งยั้งและอยู่ทางใต้ก็พบว่าคือเมืองบริบูรณ์นครสร้างโดยเจ้าสีหกุมารถ้าดูพิกัดแล้วตรงกับเมืองพิชัยพอดีแล้วค้นต่อไปพบหลักฐานอีกว่าเมืองพิชัยนี้เรียกว่าเมืองพิชัยเชียงแสนในพงศาวดารเหนือตอนสร้างเมืองพิษณุโลก(กรมศิลปากร,2506 ก : 29)และในตำนานนครปฐมฉบับนายอ่องไวกำลัง กล่าวว่าพระเจ้าพิชัยเชียงแสนมีโอรสชื่อท้าวอู่ทอง(สุจิตต์ วงศ์เทศ,2545 : 59)ในเร็วๆนี้ผู้เขียนค้นการขอพระราชทานนามสกุลวิชัยขัคคะในสมัยรัชกาลที่6. พบว่าพระยาพิชัยเชียงแสนเป็นบุตรของพระยาพิชัยดาบหักเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรถึงสามแหล่งยืนยันเมืองพิชัยคือเมืองเชียงแสนที่สร้างโดยเจ้าสีหกุมารแล้วนำไปขยายเป็นตำนานพงศาวดารโยนกเป็นเมืองที่พระเจ้าสิงหนวัติสร้างขึ้น ชื่อผู้สร้างจึงคล้องกันแล้วถามว่ากษัตริย์พระองค์ใดที่ส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นพศ.637มีหลักฐานจากพงศาวดารโยนกว่าพระเจ้าอชุตราชครองราชย์เป็นองค์ที่3ต่อจากพระเจ้าสิงหนวัติได้มีพระมหากัสปะเถระจากอินเดียนำกระดูกข้อพระกรและกระดูกไหปลาร้าหรือพระรากขวัญของพระพุทธเจ้ามาถวายปรากฏหลักฐานพระรากขวัญได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองฝางหรือสวางคบุรี(กรมศิลปากร,2506 : 26)แสดงว่าราชวงศ์พิชัยเชียงแสนได้แผ่อำนาจมาครองเมืองทุ่งยั้งหรือแสนหวีในประวัติศาสตร์ทั้งสองเมืองนี้ไม่เคยรบกันเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่สนิทกันมากแล้วกระดูกข้อพระกรจะอยู่ที่ไหนผู้เขียนสันนิษฐานว่าอยู่ในพระบรมธาตุทุ่งยั้งการติดต่อกับอินเดียในสมัยนั้นก็อาจมีชาวโรมันมาด้วยและคงได้พาฑูตชาวโรมันไปติดต่อกับราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตามที่บอกเล่ามาแล้วดังนั้นในสมัยพระเจ้าอชุตราชนี้เองที่ทำให้การค้าที่ทุ่งยั้งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครหรือเมืองแสนหวีจึงได้ถูกยกเป็นมหานครดังเรียกเมืองแสนหวีว่ามหากัมพูชาซึ่งก็คือกัมโพชมหานครนั่นเองและที่ตั้งมหานครนั้นก็คือคลองโพถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศคลองโพเป็นเมืองโบราณทั่มีขนาดใหญ่มากคลองโพจะเชื่อมต่อกับคลองแม่พร่องไปถึงลับแลและคลองโพจะมีคลองแยกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ออกทางหลังวัดอรัญไปจนถึงลับแลต่อกับคลองแม่พร่องพอดีรูปเมืองเป็นวงรีขนาดของเมืองประมาณ 15 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองโบราณที่ใหญ่มากเมืองที่เป็นที่ตั้งคลองโพก็คือทุ่งยั้งหรือเมืองแสนหวีนั่นเอง จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ยืนยันอย่างหนักแน่นทั้งด้านโบราณคดีและลายลักษณ์อักษรว่าเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีอยู่ที่ตรงนี้จึงได้ทำให้ที่นี่มีความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นถึงเมืองมหานคร แต่ความเจริญเมื่อรุ่งเรืองถึงขีดสุดก็ตกต่ำลงเมืองเสื่อมสลายเพราะได้มีการค้นพบลมมรสุมทำให้เดินเรือจากอินเดียตรงไปแหลมมาลายูข้ามช่องแคบมะละกาไปค้าขายกับจีนได้โดยตรงเร็วกว่าและบรรทุกสินค้าได้มากกว่าทำให้แหลมมาลายูรุ่งเรืองทางการค้าบ้านเมืองที่นั่นมีความเจริญชาติอาหรับและอินเดียจึงขนานนามแหลมมาลายูว่าแหลมทองเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในคัมภีร์มหานิเทสกล่าวว่าใครอยากร่ำรวยให้มาค้าขายที่แหลมทองหรือสุวรรณภูมิแล้วเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีที่เสื่อมโทรมจนกล่าวว่าถูกทำลายเป็นเมืองล่มจะเจริญรุ่งเรืองมาได้อีกหรือไม่ผู้เขียนจะนำมาบอกกล่าวต่อไป

                                แหลมทองหรือสุวรรณภูมิเป็นแหล่งขุดทองของพ่อค้าชาวอินเดีย ทำให้สุวรรณภูมิเป็นที่หมายปองของมหาอำนาจในขณะนั้นพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 มหาราชราชวงศ์คุปตะได้แผ่อำนาจเข้าครองอินเดียใต้และได้ขยายอิทธิพลมาสุวรรณภูมิเพื่อจะได้ครอบครองแบบเบ็ดเสร็จจึงต้องสร้างกองทัพม้าที่เคลื่อนที่เร็วเพื่อเข้าปราบปรามเจ้าเมืองเล็กๆและกษัตริย์แห่งสุวรรณภูมิ  สงครามครั้งนี้ใหญ่มากเรียกว่าสงครามม้า ทำความเดือดร้อนแก่พ่อค้าประชาชนชาวสุวรรณภูมิยืดเยื้อมาหลายสิบปี ทำให้พ่อค้าประชาชนจำนวนมากอพยพขึ้นเหนือมาพึ่งใบบุญกัมโพชมหานครซึ่งเดิมทีเป็นนครใหญ่อยู่แล้วก็ยิ่งทำให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นไปอีก ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นศูนย์กลางการค้าแทนสุวรรณภูมิติดต่อกับจีนผ่านทางแม่น้ำโขง(แขวงไชยบุรี)หรือเดินเท้าผ่านเมืองหลวงพระบางเข้าธัญหัว(ญวณ)ลงเรือเข้าจีนและติดต่อกับอินเดียผ่านทางอ่าวเมาะตะมะ ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นแหล่งรวมสรรพวิชาการทั้งหลายจึงได้สมญานามใหม่ว่าตักศิลามหานคร มหากษัตริย์ที่ครองนครนี้พระเจ้าสักรดำได้รับการยกย่องเป็นมหาราช (กรมศิลปากร,2506 : 3-7)เมืองตักศิลามหานครอยู่ที่ทุ่งยั้งจริงมีหลักฐานจากคำให้การชาวกรุงเก่า เมืองซึ่งพระมหากษัตริย์ประทัปอยู่มีเมืองชื่อตักกลงปูมีวงเล็บลายพระหัตถ์ว่าอยู่ที่ด่านนางพูน (คำให้การชาวกรุงเก่า,2544 :191)ที่เมืองทุ่งยั้งมีด่านที่เป็นช่องเขาเทือกเขาเดียวกับน้ำตกแม่พูนเป็นช่องทางที่จะติดต่อกับเมืองศรีสัชชนาลัย เมืองตักกลงปูจึงน่าจะเป็นทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครซึ่งเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ครองเมือง และมีหลักฐานอีกว่าในสมัยรัชกาลที่ 5.หลังจากพระยาไชยบูรณ์ถูกเงี้ยวฆ่าตายที่จวนเมืองแพร่ ร.5ได้แต่งตั้งน้องชายพระยาไชยบูรณ์ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองทุ่งยั้งบางโพให้เป็นพระยาวิชิตรักษาตักศิลาบุรินทร์นั่นคืออุตรดิตถ์มีอีกชื่อว่าตักศิลาบุรี พระเจ้าสักรดำมีเชื้อสายจากราชวงศ์ศรีลังกาทางสายพระมารดา มีพระอนุชาที่มีชื่อเสียงคือพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าสักรดำได้บวชเรียนจากสำนักสงฆ์โปลนวะ ศรีลังกากลับมาได้ถูกสถาปนาเป็นสมเด็จบุพโสหันภวาสังฆราชเจ้า      พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิที่เป็นพระญาติอัญเชิญไปกรุงสุวรรณภูมิได้ตั้งสำนักเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนามีผู้ศรัทธามาแปลงบวชเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิเสด็จสวรรคตไม่มีรัชทายาทเหลือเพียงพระธิดาองค์เดียว ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มหาอำมาตย์จึงขอให้ลาสิกขามาอภิเศกกับพระธิดาและยกเมืองให้ครองมีพระนามว่าพระเจ้าภววรมันโดยนำพยางค์ท้ายบุพโสหันภวา มาตั้งเป็นพระนาม  แต่ผู้คนทั่วไปนิยมเรียกว่าพระเจ้าสักรดำมหาราช พระองค์ได้แผ่แสนยานุภาพลงไปครอบครองแหลมทองจนถึงเกาะสุมาตราโดยอาจได้รับการสนับสนุนจากศรีลังกา(ตำนานสุวรรณปุรวงศ์)

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระโอรสองค์โตพระนามว่าพระมหินทรได้ครองเมืองศรีโพธิ์(ไชยา)ในฐานะพระยุพราช (ธรรมทาส พานิช 2542: 65)พระองค์ได้สร้างเมืองศรีโพธิ์ให้เป็นศูนย์กลางอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ราชสำนักจีนได้เปลี่ยนราชวงศ์เหลียงเป็นราชวงศ์สุย  พระเจ้าเฮี้ยงตี๋ ขึ้นเสวยราชย์ก็ได้ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี ได้ส่งท่านฑูตจางชุ่น และท่านวังซุ่นเซ็ง เป็นหัวหน้าฑูตมายังเมืองศรีโพธิ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง ได้มีการส่งฑูตติดต่อกันไปมาหลายครั้ง ราชสำนักจีนได้บันทึกพระนามว่าพระเจ้า โห-มิ-โต ในรัชกาลของพระองค์นี้ ในปี พ.ศ.1234 หลวงจีนอีจิงได้ลงเรือสำเภาจากท่ากวางตุ้งมาแวะพักที่เมืองศรีโพธิ์เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ก่อนไปอินเดีย หลังจากกลับมาจากอินเดียก็ได้มาแวะพักเพื่อจัดการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีน ในบันทึกของท่านกล่าวถึงพระเจ้า โห-มิ-โต ร่ำรวยด้วยการค้าสำเภาบ้านเมืองจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นกว่านครอื่นๆ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นมหาราช พระเจ้าสักรดำมีพระโอรสองค์เล็กคือพระยากาฬวรรณดิส ไปอภิเษกกับพระนางกุลประภาวดีพระธิดาของพระเจ้าหรรษาวรมันเจ้าเมืองอู่ทองจึงได้ไปสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ใกล้ๆพระยากาฬวรรณดิศจึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ 9 ปีจึงแล้วเสร็จ

                                พระยากาฬวรรณดิศได้ปกครองบ้านเมืองละโว้ร่มเย็นเป็นสุขพสกนิกรหลั่งไหลมาพึ่งพระบารมี พระองค์ไม่มีพระโอรสพระนางกุลประภาวดีให้กำเนิดพระธิดามาหนึ่งองค์พระธิดามีผิวพรรณผุดผ่องสวยสะอาดงามเหมือนพระมารดา พระยากาฬวรรณดิศนึกถึงดอกจำปาที่เป็นสื่อสัมพันธ์ได้ชิดใกล้พระนางกุลประภาวดีจึงตั้งพระนามว่าพระนางจำปา คนทั่วไปจะเรียกว่าพระนางจาม ครั้นพระนางจามเติบใหญ่รูปโฉมโนมพรรณสวยดั่งพระมารดา มีจิตใจที่ใฝ่ในบุญกุศลกริยาก็สมดั่งกุลสตรี เป็นที่เลื่องลือไปแดนไกลพระรามเป็นพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถ (ปราจีณบุรี) มีความองอาจฉลาดเลิศล้ำเหนือกว่าพระโอรสองค์ใดๆทั้งสิ้น พระยากาฬวรรณดิศจึงยกพระธิดาจามเทวีให้อภิเศกด้วย พระรามได้ตั้งใจทุ่มเทปฏิบัติราชการถวายอย่างสุดความสามารถ ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจพระยากาฬวรรณดิศจึงยกให้เป็นพระยุพราช ด้วยความช่วยเหลือของพระรามพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถทำให้พระยากาฬวรรณดิศแผ่ขยายอำนาจเข้าครองเมืองยโสธรปุระ(เขมร)นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่าพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือเป็นพระองค์เดียวกับพระเจ้าสักรดำมหาราช  ได้พบศิลาจารึกที่จังหวัดตาแก้ว(เขมร) กล่าวถึงพระนางกุลประภาวดีเป็นมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่1 ภายหลังคงเกิดความยุ่งยากขึ้น เกิดจราจลแบ่งดินแดนเป็นสองส่วน เป็นเหตุให้พระนางจามเทวีนำผู้คนอพยพขึ้นไปเมืองหริภุญชัย ซึ่งก็คืออาณาจักรสยามสุโขทัยตามที่กล่าวไว้ข้างต้น สอดคล้องกับจารึกวัดขนัตจารึกที่พบที่สระบาราย กล่าวถึงปีพ.ศ. 1256 พระนางชัยเทวีได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือ ที่ฝ่ายจีนเรียกว่าเจลละบก(มจ.สุภัทรดิศดิศกุล2535 :160-161) อาณาจักรเจลละบก จีนเรียกนครหลวงนี้ว่าเหวินถาน (Wen Tan=เวียงตักหรือตักศิลา)หรือเรียกอีกชื่อว่านครโฟชิ (Po-lou=นครโพธิ์)ซึ่งก็คือชื่อของทุ่งยั้งกัมโพชมหานครหรือนครแสนหวี อาณาจักรเจลละบกคืออาณาจักรสยามสุโขทัย พระนางจามเทวีเป็นพระธิดาของพระยากาฬวรรณดิศ ได้ขึ้นไปครองหริภุญชัย(สมัยสร้างเมืองมี สวรรคโลก นครหริภุญชัย ทุ่งยั้งกัมโพชนคร บริบูรณ์นคร รวมเรียกว่าสุโขทัย)และพระนางชัยเทวีก็ได้ขึ้นไปครองสุโขทัยด้วย พระยากาฬวรรณดิศคือพระเจ้าชัยวรมันที่1เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือพระเจ้าสักรดำมหาราช พระนางจามเทวีจึงมีพระนามจริงในจารึกว่าพระนางชัยเทวีจึงเป็นพระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่1 และได้ขึ้นไปครองสุโขทัยอาณาจักรดั้งเดิมของบรรพชน

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระขนิษฐาคือพระนางโสมเทวีซึ่งได้อภิเษกกับฤาษีโสมสูตรมีผู้สืบเชื้อสายคือพระเจ้าปฤถิวีณวรมัน ผู้เป็นพระบิดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งสืบราชวงศ์ต่อจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สร้างราชอาณาจักรกัมพูชายุคเมืองพระนคร จากหลักฐานที่กล่าวมาแล้วได้แสดงถึงสายสัมพันธ์ที่สืบเนื่องจากพิชัยเชียงแสนและทุ่งยั้งนครแสนหวี มาถึงละโว้และข้ามมาที่นครยโสธรปุระ เอกสารโบราณจึงได้กล่าวความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่าง สุโขทัย(พิชัยเชียงแสน-ทุ่งยั้งแสนหวี)ละโว้และกรุงยโสธร สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนผาเมืองที่มีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์กรุงยโสธร  ที่แปลกมากแสนหวีมีชื่อเต็มว่า มหากัมพูชา เขมรก็นำไปเรียกในจารึกว่ากัมพุชเทศหรือประเทศกัมพูชาแสนหวีมีเมืองหลวงเรียกยโสธร เขมรก็นำไปเรียกนครหลวงว่ายโสธร

อ้างอิง

ธรรมทาส พานิช.(2542).ประวัติพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อรุณวิทยา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2545).พระปฐมเจดีย์ไม่ใช่เจดียแห่งแรก.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน

สุภัทรดิศ ดิศกุล.มจ.(2535).ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึงพ.ศ.2000.กรุงเทพฯ:สมาคมประวัติศาสตร                                                  ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี.

ศิลปากร,กรม.(2506).”พงศาวดารเหนือ”ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1 .กรุงเทพฯ:องค์การค้าคุรุสภา.

อนันต์ อมรตัย.(2544).คำให้การชาวกรุงเก่า.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ.

พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัย[[ขอม]]ปกครองท่าอิด ตั้งแต่ [[พ.ศ. 1400]]<ref name="วิบูลย์ บูรณารมย์">วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). '''ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์'''. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท.</ref>
พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัย[[ขอม]]ปกครองท่าอิด ตั้งแต่ [[พ.ศ. 1400]]<ref name="วิบูลย์ บูรณารมย์">วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). '''ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์'''. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท.</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:08, 5 มีนาคม 2560

จังหวัดอุตรดิตถ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Uttaradit
คำขวัญ: 
เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน
บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก[1]
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุตรดิตถ์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ พิพัฒน์ เอกภาพันธ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
พื้นที่
 • ทั้งหมด7,838.592 ตร.กม.[2] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 25
ประชากร
 (พ.ศ. 2558)
 • ทั้งหมด459,768 คน[3] คน
 • อันดับอันดับที่ 59
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 70
รหัส ISO 3166TH-53
ชื่อไทยอื่น ๆบางโพธิ์ท่าอิฐ, พิชัย, ท่าเหนือ, เมืองลับแล
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สัก
 • ดอกไม้ประดู่บ้าน
 • สัตว์น้ำปลาตะโกก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
 • โทรศัพท์0 5541 1977
 • โทรสาร0 5541 1537, 0 5541 1977
เว็บไซต์http://www.uttaradit.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ[4] เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์[5]

อุตรดิตถ์ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดคือ ทุ่งยั้ง มีกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์สุตตันตปิฎกเรื่องทุยังคนิทาน กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าเสด็จไปยังทุ่งยั้งนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยั้ง แต่ตถาคตเข้าไปสู่อาฬวกยักษ์เพื่อเทศนาโปรด    ใน พ.ศ. 500 ฤาษีสัชชนาไลยและฤาษีสิทธิมงคล ได้สร้างบ้านแปลงเมืองสวรรคโลกให้พระยาธรรมราชาเป็นผู้ครองนคร บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง พระยาธรรมราชา จึงโปรดให้สร้างนครลูกหลวงโดยให้พระโอรสเจ้าธรรมกุมาร ครองเมืองทุ่งยั้งและยกให้เป็นนครชื่อว่ากัมโพชนคร นอกจากนี้ยังมีชื่ออีกว่าเมืองแสนหวีและตักศิลามหานคร อ่านรายละเอียดได้ได้ในสมัยประวัติศาสตร์เมืองอุตรดิตถ์ข้างล่างนี้ (ผศ.วิชิต ดาราบถ)

เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ [6] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด [7]

จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด

ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[8] โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด

ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว

สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ซ้าย: กลองมโหระทึกสำริดในวัฒนธรรมดองซอน ขุดพบที่ม่อนวัดศัลยพงษ์ ตำบลบางโพ ในปี พ.ศ. 2470[9]
กลาง: ซากกระดูกที่กลายเป็นหินและโบราณวัตถุของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบที่บ้านบุ่งวังงิ้ว (สองหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ในจังหวัดอุตรดิตถ์)
ขวา: ถ้วยกระเบื้องแบบจีน พบบนเนินทรายกลางแม่น้ำน่านบริเวณบ้านท่าเสา-บ้านคุ้งตะเภา (หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของเส้นทางคมนาคมและชุมนุมการค้าสำคัญของท่าอิดช่วงต่อมา ก่อนจะหมดความสำคัญลงสิ้นเชิงในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา)

พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในอดีต เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบลุ่มอันเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่านที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานบริเวณรอบที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ดังการค้นพบเครื่องมือหินขัดและซากกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านบุ่งวังงิ้วซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามตำบลบางโพ-ท่าอิฐ และการค้นพบกลองมโหระทึกสำริด, กาน้ำและภาชนะสำริดที่ม่อนศัลยพงษ์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลบางโพในปี พ.ศ. 24701[10]

สมัยประวัติศาสตร์

อุตรดิตถ์ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดคือ ทุ่งยั้ง มีกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์สุตตันตปิฎกเรื่องทุยังคนิทาน กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าเสด็จไปยังทุ่งยั้งนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยั้ง แต่ตถาคตเข้าไปสู่อาฬวกยักษ์เพื่อเทศนาโปรด    ใน พ.ศ. 500 ฤาษีสัชชนาไลยและฤาษีสิทธิมงคล ได้สร้างบ้านแปลงเมืองสวรรคโลกให้พระยาธรรมราชาเป็นผู้ครองนคร บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง พระยาธรรมราชา จึงโปรดให้สร้างนครลูกหลวงโดยให้พระโอรสเจ้าธรรมกุมารยกทุ่งยั้งเป็นกัมโพชนครพระโอรสเจ้าโลกกุมารเป็นพระยาศรีธรรมาโศกราชครองเมืองหริภุญชัย และเจ้าสีหกุมารครองนครพิชัยเชียงแสนทั้งสี่นครร่วมมือกันยกเป็นอาณาจักรสยามสุโขทัย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่ออีกว่าเป็นนครแสนหวี บันทึกจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นว่าเสียม(เป็นคำที่จีนใช้เรียกสยามสุโขทัย)ได้พาทูตโรมันมาติดต่อกับจีน ทางพระราชสำนักจีนได้พระราชทานของตอบแทนเป็นอันมากมีร่องรอยของนครแสนหวีที่จังหวัดอุตรดิตถ์บ้านป้าของผู้เขียนที่สวนผักคลองโพปรับพื้นดินหน้าบ้านได้เจอดาบจีนและกาน้ำชาที่มีลักษณะเก่ามากไม่เคยเห็นดาบและกาน้ำชาแบบนี้มาก่อนที่ดาบมีตัวอักษรจีนแบบโบราณเรียงเป็นแถวสิบกว่าตัวก็นำของสองชิ้นนี้ไปให้กรมศิลปากร กรมศิลป์มีหนังสือตอบมาว่าเป็นของพระราชทานจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับบันทึกของจีนและผู้เขียนไปอ่านหนังสือประวัติศาสตร์พม่าของอาจารย์ไพโรจน์ โพธิ์ไทรว่าเสียมหรือสยามส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นไปจากเมืองแสนหวี(รัฐฉานในพม่า)แต่ในรัฐฉานนั้นไม่มีหลักฐานใดๆเลยกลับพบหลักฐานของใช้ที่เป็นของพระราชทานในราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นที่คลองโพและที่นี้ก็ได้เคยขุดพบกลองมโหรทึกปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ตั้งของคลองโพอยู่ติดเมืองทุ่งยั้งชื่อทุ่งยั้งนี้ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยที่นี่จึงเป็นสถานที่สยามสุโขทัย(เสียม)ที่เป็นศูนย์กลางการค้าโบราณมีเส้นทางการค้าจากอินเดียผ่านทางมะละแหม่งเข้าแม่สอดสุโขทัยอุตรดิตถ์(คลองโพ)ออกลาวทางด้านแขวงไชยบุรีขนส่งสินค้าลงเรือใช้แม่น้ำโขงพาสินค้าขึ้นไปตอนใต้ของจีนเมืองหลวงของจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นก็อยู่ทางตอนใต้ของจีน การค้าในสมัยพุทธศตวรรษที่6 นี้การเดินเรือจากอินเดียมาค้าขายเป็นเรือสำเภาลำเล็กๆเดินเลาะเลียบชายฝั่งมหาสมุทรการใช้เส้นทางการค้าตามที่กล่าวมานี้จึงเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดทำให้คลองโพเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองเป็นถึงมหานคร เมืองเก่าแก่ที่สุดของที่นี่คือทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครถูกสร้างในปีพศ.ห้าร้อยกว่าๆโดยเจ้าธรรมกุมารอายุของเมืองก็เก่าพอๆกันกับเมืองแสนหวีตามบันทึกราชสำนักจีนและที่เมืองแสนหวีนี้ชาวเมืองก็ถูกเรียกว่าชาวสยามด้วยผู้เขียนจึงไปค้นว่าเมืองแสนหวีมีชื่อเต็มว่าศิริรัตน์มหากัมพูชาโกสัมพีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านครโพธิ์ ดาบจีนและกาน้ำชาที่เราพบนี้อยู่ที่นี่คลองโพหรือนครโพธิ์และทุ่งยั้งนั้นชื่อกัมโพชคล้องชื่อกับมหากัมพูชา สถานที่นี่ที่แท้จริงก็น่าจะเป็นเมืองแสนหวีในสมัยโบราณ         ถ้าเป็นเมืองแสนหวีจริง    กล่าวกันว่าจะพบเมืองเชียงแสนอยู่ทางทิศใต้ในระยะทางไม่ไกลนักผู้เขียนก็ไปค้นดูอีกว่าเมืองที่สร้างในรุ่นราวคราวเดียวกับทุ่งยั้งและอยู่ทางใต้ก็พบว่าคือเมืองบริบูรณ์นครสร้างโดยเจ้าสีหกุมารถ้าดูพิกัดแล้วตรงกับเมืองพิชัยพอดีแล้วค้นต่อไปพบหลักฐานอีกว่าเมืองพิชัยนี้เรียกว่าเมืองพิชัยเชียงแสนในพงศาวดารเหนือตอนสร้างเมืองพิษณุโลก(กรมศิลปากร,2506 ก : 29)และในตำนานนครปฐมฉบับนายอ่องไวกำลัง กล่าวว่าพระเจ้าพิชัยเชียงแสนมีโอรสชื่อท้าวอู่ทอง(สุจิตต์ วงศ์เทศ,2545 : 59)ในเร็วๆนี้ผู้เขียนค้นการขอพระราชทานนามสกุลวิชัยขัคคะในสมัยรัชกาลที่6. พบว่าพระยาพิชัยเชียงแสนเป็นบุตรของพระยาพิชัยดาบหักเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรถึงสามแหล่งยืนยันเมืองพิชัยคือเมืองเชียงแสนที่สร้างโดยเจ้าสีหกุมารแล้วนำไปขยายเป็นตำนานพงศาวดารโยนกเป็นเมืองที่พระเจ้าสิงหนวัติสร้างขึ้น ชื่อผู้สร้างจึงคล้องกันแล้วถามว่ากษัตริย์พระองค์ใดที่ส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นพศ.637มีหลักฐานจากพงศาวดารโยนกว่าพระเจ้าอชุตราชครองราชย์เป็นองค์ที่3ต่อจากพระเจ้าสิงหนวัติได้มีพระมหากัสปะเถระจากอินเดียนำกระดูกข้อพระกรและกระดูกไหปลาร้าหรือพระรากขวัญของพระพุทธเจ้ามาถวายปรากฏหลักฐานพระรากขวัญได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองฝางหรือสวางคบุรี(กรมศิลปากร,2506 : 26)แสดงว่าราชวงศ์พิชัยเชียงแสนได้แผ่อำนาจมาครองเมืองทุ่งยั้งหรือแสนหวีในประวัติศาสตร์ทั้งสองเมืองนี้ไม่เคยรบกันเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่สนิทกันมากแล้วกระดูกข้อพระกรจะอยู่ที่ไหนผู้เขียนสันนิษฐานว่าอยู่ในพระบรมธาตุทุ่งยั้งการติดต่อกับอินเดียในสมัยนั้นก็อาจมีชาวโรมันมาด้วยและคงได้พาฑูตชาวโรมันไปติดต่อกับราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตามที่บอกเล่ามาแล้วดังนั้นในสมัยพระเจ้าอชุตราชนี้เองที่ทำให้การค้าที่ทุ่งยั้งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครหรือเมืองแสนหวีจึงได้ถูกยกเป็นมหานครดังเรียกเมืองแสนหวีว่ามหากัมพูชาซึ่งก็คือกัมโพชมหานครนั่นเองและที่ตั้งมหานครนั้นก็คือคลองโพถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศคลองโพเป็นเมืองโบราณทั่มีขนาดใหญ่มากคลองโพจะเชื่อมต่อกับคลองแม่พร่องไปถึงลับแลและคลองโพจะมีคลองแยกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ออกทางหลังวัดอรัญไปจนถึงลับแลต่อกับคลองแม่พร่องพอดีรูปเมืองเป็นวงรีขนาดของเมืองประมาณ 15 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองโบราณที่ใหญ่มากเมืองที่เป็นที่ตั้งคลองโพก็คือทุ่งยั้งหรือเมืองแสนหวีนั่นเอง จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ยืนยันอย่างหนักแน่นทั้งด้านโบราณคดีและลายลักษณ์อักษรว่าเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีอยู่ที่ตรงนี้จึงได้ทำให้ที่นี่มีความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นถึงเมืองมหานคร แต่ความเจริญเมื่อรุ่งเรืองถึงขีดสุดก็ตกต่ำลงเมืองเสื่อมสลายเพราะได้มีการค้นพบลมมรสุมทำให้เดินเรือจากอินเดียตรงไปแหลมมาลายูข้ามช่องแคบมะละกาไปค้าขายกับจีนได้โดยตรงเร็วกว่าและบรรทุกสินค้าได้มากกว่าทำให้แหลมมาลายูรุ่งเรืองทางการค้าบ้านเมืองที่นั่นมีความเจริญชาติอาหรับและอินเดียจึงขนานนามแหลมมาลายูว่าแหลมทองเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในคัมภีร์มหานิเทสกล่าวว่าใครอยากร่ำรวยให้มาค้าขายที่แหลมทองหรือสุวรรณภูมิแล้วเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีที่เสื่อมโทรมจนกล่าวว่าถูกทำลายเป็นเมืองล่มจะเจริญรุ่งเรืองมาได้อีกหรือไม่ผู้เขียนจะนำมาบอกกล่าวต่อไป

                                แหลมทองหรือสุวรรณภูมิเป็นแหล่งขุดทองของพ่อค้าชาวอินเดีย ทำให้สุวรรณภูมิเป็นที่หมายปองของมหาอำนาจในขณะนั้นพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 มหาราชราชวงศ์คุปตะได้แผ่อำนาจเข้าครองอินเดียใต้และได้ขยายอิทธิพลมาสุวรรณภูมิเพื่อจะได้ครอบครองแบบเบ็ดเสร็จจึงต้องสร้างกองทัพม้าที่เคลื่อนที่เร็วเพื่อเข้าปราบปรามเจ้าเมืองเล็กๆและกษัตริย์แห่งสุวรรณภูมิ  สงครามครั้งนี้ใหญ่มากเรียกว่าสงครามม้า ทำความเดือดร้อนแก่พ่อค้าประชาชนชาวสุวรรณภูมิยืดเยื้อมาหลายสิบปี ทำให้พ่อค้าประชาชนจำนวนมากอพยพขึ้นเหนือมาพึ่งใบบุญกัมโพชมหานครซึ่งเดิมทีเป็นนครใหญ่อยู่แล้วก็ยิ่งทำให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นไปอีก ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นศูนย์กลางการค้าแทนสุวรรณภูมิติดต่อกับจีนผ่านทางแม่น้ำโขง(แขวงไชยบุรี)หรือเดินเท้าผ่านเมืองหลวงพระบางเข้าธัญหัว(ญวณ)ลงเรือเข้าจีนและติดต่อกับอินเดียผ่านทางอ่าวเมาะตะมะ ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นแหล่งรวมสรรพวิชาการทั้งหลายจึงได้สมญานามใหม่ว่าตักศิลามหานคร มหากษัตริย์ที่ครองนครนี้พระเจ้าสักรดำได้รับการยกย่องเป็นมหาราช (กรมศิลปากร,2506 : 3-7)เมืองตักศิลามหานครอยู่ที่ทุ่งยั้งจริงมีหลักฐานจากคำให้การชาวกรุงเก่า เมืองซึ่งพระมหากษัตริย์ประทัปอยู่มีเมืองชื่อตักกลงปูมีวงเล็บลายพระหัตถ์ว่าอยู่ที่ด่านนางพูน (คำให้การชาวกรุงเก่า,2544 :191)ที่เมืองทุ่งยั้งมีด่านที่เป็นช่องเขาเทือกเขาเดียวกับน้ำตกแม่พูนเป็นช่องทางที่จะติดต่อกับเมืองศรีสัชชนาลัย เมืองตักกลงปูจึงน่าจะเป็นทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครซึ่งเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ครองเมือง และมีหลักฐานอีกว่าในสมัยรัชกาลที่ 5.หลังจากพระยาไชยบูรณ์ถูกเงี้ยวฆ่าตายที่จวนเมืองแพร่ ร.5ได้แต่งตั้งน้องชายพระยาไชยบูรณ์ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองทุ่งยั้งบางโพให้เป็นพระยาวิชิตรักษาตักศิลาบุรินทร์นั่นคืออุตรดิตถ์มีอีกชื่อว่าตักศิลาบุรี พระเจ้าสักรดำมีเชื้อสายจากราชวงศ์ศรีลังกาทางสายพระมารดา มีพระอนุชาที่มีชื่อเสียงคือพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าสักรดำได้บวชเรียนจากสำนักสงฆ์โปลนวะ ศรีลังกากลับมาได้ถูกสถาปนาเป็นสมเด็จบุพโสหันภวาสังฆราชเจ้า      พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิที่เป็นพระญาติอัญเชิญไปกรุงสุวรรณภูมิได้ตั้งสำนักเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนามีผู้ศรัทธามาแปลงบวชเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิเสด็จสวรรคตไม่มีรัชทายาทเหลือเพียงพระธิดาองค์เดียว ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มหาอำมาตย์จึงขอให้ลาสิกขามาอภิเศกกับพระธิดาและยกเมืองให้ครองมีพระนามว่าพระเจ้าภววรมันโดยนำพยางค์ท้ายบุพโสหันภวา มาตั้งเป็นพระนาม  แต่ผู้คนทั่วไปนิยมเรียกว่าพระเจ้าสักรดำมหาราช พระองค์ได้แผ่แสนยานุภาพลงไปครอบครองแหลมทองจนถึงเกาะสุมาตราโดยอาจได้รับการสนับสนุนจากศรีลังกา(ตำนานสุวรรณปุรวงศ์)

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระโอรสองค์โตพระนามว่าพระมหินทรได้ครองเมืองศรีโพธิ์(ไชยา)ในฐานะพระยุพราช (ธรรมทาส พานิช 2542: 65)พระองค์ได้สร้างเมืองศรีโพธิ์ให้เป็นศูนย์กลางอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ราชสำนักจีนได้เปลี่ยนราชวงศ์เหลียงเป็นราชวงศ์สุย  พระเจ้าเฮี้ยงตี๋ ขึ้นเสวยราชย์ก็ได้ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี ได้ส่งท่านฑูตจางชุ่น และท่านวังซุ่นเซ็ง เป็นหัวหน้าฑูตมายังเมืองศรีโพธิ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง ได้มีการส่งฑูตติดต่อกันไปมาหลายครั้ง ราชสำนักจีนได้บันทึกพระนามว่าพระเจ้า โห-มิ-โต ในรัชกาลของพระองค์นี้ ในปี พ.ศ.1234 หลวงจีนอีจิงได้ลงเรือสำเภาจากท่ากวางตุ้งมาแวะพักที่เมืองศรีโพธิ์เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ก่อนไปอินเดีย หลังจากกลับมาจากอินเดียก็ได้มาแวะพักเพื่อจัดการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีน ในบันทึกของท่านกล่าวถึงพระเจ้า โห-มิ-โต ร่ำรวยด้วยการค้าสำเภาบ้านเมืองจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นกว่านครอื่นๆ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นมหาราช พระเจ้าสักรดำมีพระโอรสองค์เล็กคือพระยากาฬวรรณดิส ไปอภิเษกกับพระนางกุลประภาวดีพระธิดาของพระเจ้าหรรษาวรมันเจ้าเมืองอู่ทองจึงได้ไปสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ใกล้ๆพระยากาฬวรรณดิศจึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ 9 ปีจึงแล้วเสร็จ

                                พระยากาฬวรรณดิศได้ปกครองบ้านเมืองละโว้ร่มเย็นเป็นสุขพสกนิกรหลั่งไหลมาพึ่งพระบารมี พระองค์ไม่มีพระโอรสพระนางกุลประภาวดีให้กำเนิดพระธิดามาหนึ่งองค์พระธิดามีผิวพรรณผุดผ่องสวยสะอาดงามเหมือนพระมารดา พระยากาฬวรรณดิศนึกถึงดอกจำปาที่เป็นสื่อสัมพันธ์ได้ชิดใกล้พระนางกุลประภาวดีจึงตั้งพระนามว่าพระนางจำปา คนทั่วไปจะเรียกว่าพระนางจาม ครั้นพระนางจามเติบใหญ่รูปโฉมโนมพรรณสวยดั่งพระมารดา มีจิตใจที่ใฝ่ในบุญกุศลกริยาก็สมดั่งกุลสตรี เป็นที่เลื่องลือไปแดนไกลพระรามเป็นพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถ (ปราจีณบุรี) มีความองอาจฉลาดเลิศล้ำเหนือกว่าพระโอรสองค์ใดๆทั้งสิ้น พระยากาฬวรรณดิศจึงยกพระธิดาจามเทวีให้อภิเศกด้วย พระรามได้ตั้งใจทุ่มเทปฏิบัติราชการถวายอย่างสุดความสามารถ ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจพระยากาฬวรรณดิศจึงยกให้เป็นพระยุพราช ด้วยความช่วยเหลือของพระรามพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถทำให้พระยากาฬวรรณดิศแผ่ขยายอำนาจเข้าครองเมืองยโสธรปุระ(เขมร)นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่าพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือเป็นพระองค์เดียวกับพระเจ้าสักรดำมหาราช  ได้พบศิลาจารึกที่จังหวัดตาแก้ว(เขมร) กล่าวถึงพระนางกุลประภาวดีเป็นมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่1 ภายหลังคงเกิดความยุ่งยากขึ้น เกิดจราจลแบ่งดินแดนเป็นสองส่วน เป็นเหตุให้พระนางจามเทวีนำผู้คนอพยพขึ้นไปเมืองหริภุญชัย ซึ่งก็คืออาณาจักรสยามสุโขทัยตามที่กล่าวไว้ข้างต้น สอดคล้องกับจารึกวัดขนัตจารึกที่พบที่สระบาราย กล่าวถึงปีพ.ศ. 1256 พระนางชัยเทวีได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือ ที่ฝ่ายจีนเรียกว่าเจลละบก(มจ.สุภัทรดิศดิศกุล2535 :160-161) อาณาจักรเจลละบก จีนเรียกนครหลวงนี้ว่าเหวินถาน (Wen Tan=เวียงตักหรือตักศิลา)หรือเรียกอีกชื่อว่านครโฟชิ (Po-lou=นครโพธิ์)ซึ่งก็คือชื่อของทุ่งยั้งกัมโพชมหานครหรือนครแสนหวี อาณาจักรเจลละบกคืออาณาจักรสยามสุโขทัย พระนางจามเทวีเป็นพระธิดาของพระยากาฬวรรณดิศ ได้ขึ้นไปครองหริภุญชัย(สมัยสร้างเมืองมี สวรรคโลก นครหริภุญชัย ทุ่งยั้งกัมโพชนคร บริบูรณ์นคร รวมเรียกว่าสุโขทัย)และพระนางชัยเทวีก็ได้ขึ้นไปครองสุโขทัยด้วย พระยากาฬวรรณดิศคือพระเจ้าชัยวรมันที่1เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือพระเจ้าสักรดำมหาราช พระนางจามเทวีจึงมีพระนามจริงในจารึกว่าพระนางชัยเทวีจึงเป็นพระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่1 และได้ขึ้นไปครองสุโขทัยอาณาจักรดั้งเดิมของบรรพชน

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระขนิษฐาคือพระนางโสมเทวีซึ่งได้อภิเษกกับฤาษีโสมสูตรมีผู้สืบเชื้อสายคือพระเจ้าปฤถิวีณวรมัน ผู้เป็นพระบิดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งสืบราชวงศ์ต่อจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สร้างราชอาณาจักรกัมพูชายุคเมืองพระนคร จากหลักฐานที่กล่าวมาแล้วได้แสดงถึงสายสัมพันธ์ที่สืบเนื่องจากพิชัยเชียงแสนและทุ่งยั้งนครแสนหวี มาถึงละโว้และข้ามมาที่นครยโสธรปุระ เอกสารโบราณจึงได้กล่าวความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่าง สุโขทัย(พิชัยเชียงแสน-ทุ่งยั้งแสนหวี)ละโว้และกรุงยโสธร สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนผาเมืองที่มีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์กรุงยโสธร  ที่แปลกมากแสนหวีมีชื่อเต็มว่า มหากัมพูชา เขมรก็นำไปเรียกในจารึกว่ากัมพุชเทศหรือประเทศกัมพูชาแสนหวีมีเมืองหลวงเรียกยโสธร เขมรก็นำไปเรียกนครหลวงว่ายโสธร

อ้างอิง

ธรรมทาส พานิช.(2542).ประวัติพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อรุณวิทยา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2545).พระปฐมเจดีย์ไม่ใช่เจดียแห่งแรก.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน

สุภัทรดิศ ดิศกุล.มจ.(2535).ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึงพ.ศ.2000.กรุงเทพฯ:สมาคมประวัติศาสตร                                                  ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี.

ศิลปากร,กรม.(2506).”พงศาวดารเหนือ”ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1 .กรุงเทพฯ:องค์การค้าคุรุสภา.

อนันต์ อมรตัย.(2544).คำให้การชาวกรุงเก่า.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ.

พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยขอมปกครองท่าอิด ตั้งแต่ พ.ศ. 1400[11]

เมืองท่าการค้าขายสำคัญ

ที่ตั้งของตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันมีที่มาจาก 3 ท่าน้ำสำคัญที่มีความสำคัญเป็นชุมทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอม คือ

  • ท่าอิด คือ บริเวณท่าอิฐบนและท่าอิฐล่างปัจจุบัน
  • ท่าโพธิ์ คือ บริเวณวัดท่าถนน ตลาดบางโพ เนื่องจากมีต้นโพธิ์มาก มีคลองไหลผ่าน เรียกว่า คลองบางโพธิ์ (เพี้ยนมาเป็นบางโพ)
  • ท่าเสา คือ บริเวณตลาดท่าเสา

วิบูลย์ บูรณารมย์ ผู้แต่งหนังสือตำนานเมืองอุตรดิษฐ์ ได้อธิบายว่าความหมายของชื่อ "ท่าอิด" และ "ท่าเสา" ไว้ว่า คำว่า "อิด" หรือ "อิฐ" ในชื่อท่าอิดเพี้ยนมาจากคำว่า "อิ๊ด" ในภาษาล้านนา แปลว่า "เหนื่อย" ส่วนคำว่า "เสา" ในชื่อท่าเสามาจากคำว่า "เซา" ในภาษาล้านนา แปลว่า "พักผ่อน" ทั้งสองคำนี้มีที่มาจากการเดินทางมาค้าขายที่ท่าอิดทางเรือ และทางบกของจังหวัดภาคเหนือ และภาคกลางสมัยโบราณ กว่าจะถึงก็เหนื่อยและต้องพักผ่อน[11]

สำหรับความหมายของท่าอิฐและท่าเสาในอีกความเห็นหนึ่งนั้น พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมศิลปากร กล่าวไว้ในหนังสือของท่านคัดค้านการสันนิษฐานความหมายตามภาษาคำเมืองดังกล่าว โดยกล่าวว่า คำว่าท่าอิฐและท่าเสานั้นเป็นคำในภาษาไทยกลาง เพราะคนท่าอิฐและท่าเสาเป็นกลุ่มชนสุโขทัยดั้งเดิมที่ใช้กลุ่มภาษาไทยกลุ่มเมืองในแคว้นสุโขทัย เช่นเดียวกับชาวสุโขทัย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และเช่นเดียวกับกลุ่มคนในตำบลทุ่งยั้ง บ้านพระฝาง เมืองพิชัย บ้านแก่ง และบ้านคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นกลุ่มคนแคว้นสุโขทัยเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์เช่นเดียวกัน โดยคำว่าท่าเสานั้น มีความหมายโดยตรงเกี่ยวข้องกับการล่องซุงหมอนไม้ในสมัยโบราณเช่นเดียวกับชื่อนามหมู่บ้านหมอนไม้ (หมอนไม้ซุง) ซึ่งอยู่ทางใต้ของบ้านท่าอิฐ[12]

อย่างไรก็ดี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นว่าทั้งท่าอิฐและท่าเสานับเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าในภาคเหนือ เป็นทั้งท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงเชียงตุง เชียงแสน หัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนา สิบสองจุไทย จนต่อมาแควน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้าสำคัญของภาคเหนือมาตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6[11]

ปลายกรุงศรีอยุธยา-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมืองฝาง ซึ่งอยู่เหนือน้ำเมืองอุตรดิตถ์ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมสำคัญของประชาชน เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการสงครามระหว่างไทย-พม่า ทำให้เกิดชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองแถบนี้ ก่อนจะถูกปราบปรามลงได้ในภายหลัง

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยใช้เมืองท่าอิดเป็นที่พักทักเมื่อกรีธาทัพผ่านมา [13] และใช้เป็นที่รวบรวมทัพก่อนขึ้นตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและล้านนา สมัยก่อนนั้น การเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อนำมาขายทางตอนเหนือมีสะดวกอยู่ทางเดียวคือ ทางน้ำ แม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้ารวมทั้งเรือสำเภาขึ้นลงได้สะดวกถึงภาคเหนือตอนล่างก็มีแม่น้ำน่านเท่านั้น เรือสินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ หรือกรุงศรีอยุธยาก็จะขึ้นมาได้ถึงบางโพท่าอิฐเท่านั้น เพราะเหนือขึ้นไปแม่น้ำจะตื้นเขินและมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้นตำบลบางโพท่าอิฐจึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญ [11]

ภาพถ่ายวิถีชีวิตริมน้ำแม่น้ำน่านสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพนี้ถ่ายจากฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกอันเป็นที่ตั้งของบ้านท่าเสา ฝั่งตรงข้ามคือแถบย่านทุ่งบ้านคุ้งตะเภา[14]

กำเนิดนามเมืองอุตรดิตถ์

โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อุตรดิตถ์เป็นหัวเมืองชุมนุมการค้าที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองแห่งนี้ในฐานะศูนย์กลางการค้าขายของแถบภาคเหนือตอนล่าง หรือเมืองท่าที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของการควบคุมด้วยอำนาจโดยตรงของ อาณาจักร จึงพระราชทานนามเมืองท่าอิดไว้ว่า "อุตรดิฐ"[15] (อุตร-ทิศเหนือ, ดิตถ์-ท่าน้ำ) แปลว่า "ท่าน้ำแห่งทิศเหนือ" (คำนี้ต่อมาเขียนเป็น "อุตตรดิตถ์ "[16] และ "อุตรดิตถ์" ดังที่ใช้ในปัจจุบัน)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) จังหวัดอุตรดิฐ พ.ศ. 2444[17]

พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิชัย ท่าอิด เมืองทุ่งยั้ง และเมืองลับแล ทรงเล็งเห็นว่าท่าอิดมีความเจริญ เป็นศูนย์ทางการค้า ประกอบกับมีเมืองลับแลอยู่ใกล้ ๆ เป็นเมืองรองลงไป การชำระคดีและการเรียกเก็บภาษีอากรสะดวกกว่าที่เมืองพิชัย แต่ท่าอิดในขณะนั้นยังคงมีฐานะเป็นเมืองท่าขึ้นต่อเมืองพิชัย ดังนั้น คดีต่าง ๆ ที่เกิดขั้นรวมทั้งการเก็บภาษีอากรส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ท่าอิด ราษฎรต้องลงไปเมืองพิชัยติดต่อกับส่วนราชการเป็นการไม่สะดวก จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพิชัยมาตั้งที่บริเวณท่าอิด ส่วนเมืองพิชัยเดิมว่าเรียกว่าเมืองพิชัยเก่า

ที่พักทัพปราบกบฏเงี้ยว

พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ โดยมีประกาหม่องหัวหน้าเงี้ยวตั้งตนเป็นใหญ่[18][19][20] จับพระยาสุรราชฤทธานนท์ข้าหลวงประจำมณฑลกับข้าราชการไทย 38 คนฆ่าแล้วยกทัพลงมาจะยึดท่าอิด กองทัพเมืองอุตรดิตถ์โดยการนำของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ เป็นผู้บัญชาทัพ พระยาพิศาลคีรี (ทัพ) ข้าราชการเกษียณอายุแล้วเป็นผู้คุมกองเสบียงส่ง โดยยกทัพไปตั้งรับพวกเงี้ยวที่ปางอ้อ ปางต้นผึ้ง พระยาศรีสุริยราชฯ จึงมอบหมายพระยาพิศาลคีรี เป็นผู้บัญชาการทัพแทน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีอาวุโสและกรำศึกปราบฮ่อที่หลวงพระบางมามาก พระยาพิศาลคีรีได้สร้างเกียรติคุณให้กองทัพไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการปราบทัพพวกเงี้ยวราบคาบ ฝ่ายไทยเสียชาวบ้านที่อาสารบเพียงคนเดียว กอปรกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นแม่ทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาช่วยเหลือ[21]

ยุคทางรถไฟถึงเมืองอุตรดิตถ์

สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ในอดีต

พ.ศ. 2448-2451 ทางรถไฟได้เริ่มสร้างทางผ่านท่าโพธิ์และท่าเซา ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าไผ่อยู่ ไม่เจริญเหมือนท่าอิด กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟแยกไปที่หาดท่าอิดล่าง ในปี พ.ศ. 2450 สมัยพระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) เป็นเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟถึงบางโพธิ์และท่าเซา ทำให้ท่าโพธิ์และท่าเซาเจริญทางการค้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่ท่าอิดน้ำท่วมบ่อย การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดความสำคัญลง การค้าที่ท่าอิดเริ่มซบเซา พ่อค้าเริ่มอพยพมาตั่งที่ท่าโพธิ์และท่าเซาเพิ่มมากขึ้น ท่าอิดเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1400 ก็เสื่อมความนิยมลง และได้ย้ายศูนย์กลางการค้ามาที่ตลาดท่าโพธิ์และตลาดท่าเสาในเวลาต่อมา

ต่อมาหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐเริ่มหมดความสำคัญลง เพราะรถไฟสามารถวิ่งขึ้นเมืองเหนือได้โดยไม่ต้องหยุดขนถ่ายเสบียงที่เมืองอุตรดิตถ์ และประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำยุติลงสิ้นเชิง โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางถนนในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางถนนในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้ตัวเมืองอุตรดิตถ์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือกลายเป็นเมืองในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง และด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยดังกล่าว จึงทำให้ในช่วงต่อมารัฐบาลได้หันมาพัฒนาเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทน[22]

อุตรดิตถ์ในปัจจุบัน

จนในปี พ.ศ. 2522 ทางการได้ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทำให้เมืองอุตรดิตถ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ เพราะทางเส้นนี้เป็นเส้นทางส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชียที่ตัดผ่านมาจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านนอกเมืองอุตรดิตถ์เข้าสู่จังหวัดแพร่ ทำให้เส้นทางนี้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกสายหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์ และกลายเป็นทางผ่านสำคัญเพื่อเข้าสู่ภาคเหนือ

ตัวเมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้นมาโดยลำดับเนื่องจากเป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายศูนย์ราชการจากเมืองพิชัยมาตั้งไว้ที่เมืองอุตรดิตถ์ และในปีพ.ศ. 2495 เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะจากเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบจนปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
"มณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์" ภายในวัดพระแท่นศิลาอาสน์

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบโดย พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ในปี พ.ศ. 2483 ตามนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น พระพรหมพิจิตรได้สนองนโยบายที่ให้นำปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดมาผูกเป็นตรา ท่านจึงได้นำรูปมณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ โบราณสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาประกอบผูกเข้าไว้เป็นตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ตราที่ผูกขึ้นใหม่นี้เขียนลายเส้นโดย นายอุณห์ เศวตมาลย์ ไม่มีรูปครุฑ, นามจังหวัดและลายกนกประกอบ ต่อมาทางราชการจึงได้เพิ่มรายละเอียดทั้งสามเข้าไว้ในตราจังหวัด ซึ่งตรานี้ยังคงใช้มาจนปัจจุบัน[23]

คำขวัญประจำจังหวัด

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก

— คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์แต่งขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นได้นำนโยบายนี้เข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีการคิดประกอบคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อมอบให้วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์กำหนดกรอบแนวคิดการประกวดคำขวัญประจำจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ดี คำขวัญที่คิดในที่ประชุมส่วนราชการได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงไม่ได้มีการคิดประกวดคำขวัญใหม่ ทำให้คำขวัญดังกล่าวยังคงใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดมาจนปัจจุบัน[23]

วิสัยทัศน์ประจำจังหวัด
เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน
ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นสัก

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกประดู่บ้าน ดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ในราวปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก ได้มีโครงการพัฒนาท้องถิ่นหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เน้นเรื่องเศรษฐกิจในชุมชนเป็นหลักเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาส่วนหนึ่ง จังหวัดจึงมีนโยบายให้หน่วยงานราชการทุกแห่งปลูกไม้ประดับและไม้ยืนต้นในพื้นที่ของส่วนราชการทุกแห่ง และเสนอแนะให้ปลูกพันธุ์ไม้กัลปพฤกษ์และพันธุ์ไม้ประดู่บ้าน แต่พันธุ์ไม้ที่ปลูกทั้งสองชนิดมีเพียงดอกประดู่บ้านที่บานสะพรั่ง ทางจังหวัดจึงกำหนดให้ดอกประดู่บ้านเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์

สัตว์น้ำประจำจังหวัด

ปลาตะโกก ([Cyclocheilichthys enoplos] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))

เพลงประจำจังหวัด

เพลงประจำจังหวัดคือ "อุตรดิตถ์เมืองงาม"

อุตรดิตถ์เมืองงาม
ตัวอย่างบทเพลง อุตรดิตถ์เมืองงาม
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
  • ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์

    ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
    1 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพ เนติโพธิ์) พ.ศ. 2444-2446 2 พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) พ.ศ. 2446-2449
    3 พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) พ.ศ. 2449-2450 4 พระยาสุริยราชวราภัย (จร) พ.ศ. 2450-2454
    5 พระยาวจีสัตยรักษ์ (ดิศ) พ.ศ. 2454-2459 6 พระยาพิษณุโลกบุรี (สวัสดิ์ มหากายี) ดำรงตำแหน่งครั้งแรก พ.ศ. 2459-2459
    7 พระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงษนันท์) พ.ศ. 2459-2467 8 พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) ดำรงตำแหน่งครั้งที่2 พ.ศ. 2467-2496
    9 พระยาวิเศษฤๅชัย (มล.เจริญ อิศรางกูร) พ.ศ. 2469-2471
    10 พระยาวิเศษภักดี (ม.ร.ว.กมลนพวงษ์) พ.ศ. 2471-2474
    11 พระยาอัธยาศัยวิสุทธิ์ (โชติ กนกมณี) พ.ศ. 2474-2476 12 พระประสงค์เกษมราษฎร์ (ชุ่ม) พ.ศ. 2476-2478
    13 พระสนิทประชานันท์ (ทองอิน แสงสนิท) พ.ศ. 2479-2481 14 หลวงอุตรดิตถาภิบาล (เนื่อง ปาณิกบุตร) พ.ศ. 2481-2482
    15 พระสมัครสโมสร (เสงี่ยม บุรณสมบูรณ์) พ.ศ. 2483-2485 16 ขุนพิเศษนครกิจ (ชุบ กลิ่นสุคนธ์) พ.ศ. 2486-2487
    17 ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) พ.ศ. 2487-2488 18 ขุนอักษรสารสิทธิ์ (ละมัย สารสิทธิ์) พ.ศ. 2488-2490
    19 ขุนสนิทประชาราษฎร์ (สนิท จันทร์ศัพท์) พ.ศ. 2490-2491 20 นายพ่วง สุวรรณรัฐ พ.ศ. 2491-2492
    21 นายเกษม อุทยานิน พ.ศ. 2492-2492 22 ร.ท.ถวิล ระวังภัย พ.ศ. 2492-2493
    23 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) พ.ศ. 2493-2495 24 ขุนรัฐวุฒิวิจารย์ (สุวงศ์ วัฎสิงห์) พ.ศ. 2495-2497
    25 ขุนสนิทประชากร (กุหลาบ ศกรมูล) พ.ศ. 2497-2501 26 นายสง่า ศุขรัตน์ พ.ศ. 2501-2506
    27 นายประกอบ ทรัพย์มณี พ.ศ. 2506-2509 28 พล.ต.ต.สามารถ วายวานนท์ พ.ศ. 2509-2510
    29 นายเวทย์ นิจถาวร พ.ศ. 2510-2513 30 นายเวียง สาครสินธุ์ พ.ศ. 2513-2515
    31 นายดิเรก โสตสถิตย์ พ.ศ. 2515-2516
    32 นายวิจิน สัจจะะเวทะ พ.ศ. 2516-2518 33 พล.ต.ต.ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ พ.ศ. 2518-2519
    34 นายเลอเดช เจษฎาฉัตร พ.ศ. 2519-2522 35 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2522-2526
    36 นายธวัช มกรพงศ์ พ.ศ. 2526-2530 37 นายธวัชชัย สมสมาน พ.ศ. 2530-2531
    38 นายสุพงศ์ ศรลัมพ์ พ.ศ. 2531-2532 39 นายศรีพงศ์ สระวาสี 1 มิ.ย. พ.ศ. 2532-30 ก.ย. พ.ศ. 2534
    40 นายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ 1 ต.ค. พ.ศ. 2534-30 ก.ย. พ.ศ. 2536 41 นายสมบัติ สืบสมาน 5 ต.ค. พ.ศ. 2536-30 มี.ค. พ.ศ. 2540
    42 นายนิรัช วัจนะภูมิ 31 มี.ค. พ.ศ. 2540-5 เม.ย. พ.ศ. 2541 43 นายชัยพร รัตนนาคะ 16 เม.ย. พ.ศ. 2541-30 ก.ย.พ.ศ. 2542
    44 นายสิทธิพร เกียรติศิริโรจน์ 1 ต.ค. พ.ศ. 2542-30 ก.ย. พ.ศ. 2545 45 นายปรีชา บุตรศรี 1 ต.ค. พ.ศ. 2545-30 ก.ย. พ.ศ. 2548
    46 ร.ต.ท.อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์ 1 ต.ค. พ.ศ. 2548-12 พ.ย. พ.ศ. 2549 47 นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ 13 พ.ย. พ.ศ. 2549–30 กันยายน 2550
    48 นายธวัชชัย ฟักอังกูร 1 ต.ค. พ.ศ. 2550–30 กันยายน 2552 49 นายโยธิน สมุทรคีรี 1 ต.ค. พ.ศ. 2552–30 กันยายน 2555
    50 นายเฉลิมชัย เฟื่องนคร 12 พ.ย. พ.ศ. 2555––30 กันยายน 2556
    51 นายชัช กิตตินภดล 1 ต.ค. พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน 2558
    52 นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ 1 ต.ค. พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน 2559
    53 นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ 1 ต.ค. พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

    สภาพภูมิศาสตร์

    ที่ตั้งและอาณาเขต

    จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ใต้สุดของภาคเหนือ โดยมีพื้นที่ประมาณ 7,854 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 25 ของประเทศ มีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้

    ภูมิประเทศทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูง ทิวเขาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน

    ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

    ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดอุตรดิตถ์
    เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
    อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.8
    (89.2)
    34.5
    (94.1)
    36.8
    (98.2)
    38.2
    (100.8)
    35.8
    (96.4)
    33.6
    (92.5)
    32.9
    (91.2)
    32.5
    (90.5)
    32.7
    (90.9)
    32.8
    (91)
    32.1
    (89.8)
    31.1
    (88)
    33.73
    (92.72)
    อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.3
    (61.3)
    18.2
    (64.8)
    21.0
    (69.8)
    23.7
    (74.7)
    24.6
    (76.3)
    24.4
    (75.9)
    24.1
    (75.4)
    23.9
    (75)
    23.7
    (74.7)
    22.8
    (73)
    20.2
    (68.4)
    17.0
    (62.6)
    21.66
    (70.99)
    หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7.8
    (0.307)
    9.9
    (0.39)
    22.9
    (0.902)
    71.5
    (2.815)
    225.4
    (8.874)
    196.2
    (7.724)
    194.2
    (7.646)
    259.7
    (10.224)
    282.3
    (11.114)
    134.2
    (5.283)
    24.5
    (0.965)
    4.0
    (0.157)
    1,432.6
    (56.402)
    วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 3 7 15 17 19 22 19 11 3 1 120
    แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

    เขตการปกครอง

    การปกครองส่วนภูมิภาค

    การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 562 หมู่บ้าน

    1. อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
    2. อำเภอตรอน
    3. อำเภอท่าปลา
    4. อำเภอน้ำปาด
    5. อำเภอฟากท่า
    6. อำเภอบ้านโคก
    7. อำเภอพิชัย
    8. อำเภอลับแล
    9. อำเภอทองแสนขัน
    แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

    การปกครองส่วนท้องถิ่น

    จังหวัดอุตรดิตถ์แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 613 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก อำเภอพิชัย อำเภอฟากท่า และอำเภอลับแล และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 ประเภท ประกอบด้วย

    • องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
    • เทศบาลเมือง 1 แห่ง
    • เทศบาลตำบล 25 แห่ง
    • องค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง

    ประชากรในจังหวัด

          หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
          หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
    อันดับ
    (ปีล่าสุด)
    อำเภอ พ.ศ. 2557[24] พ.ศ. 2556[25] พ.ศ. 2555[26] พ.ศ. 2554[27] พ.ศ. 2553[28] พ.ศ. 2552[29] พ.ศ. 2551[30]
    1 เมืองอุตรดิตถ์ 150,341 150,650 150,878 150,389 151,035 151,108 151,974
    2 พิชัย 77,048 77,044 76,975 76,731 76,740 76,813 76,732
    3 ลับแล 55,652 55,808 55,822 56,030 56,231 56,262 56,358
    4 ท่าปลา 48,459 48,374 48,441 48,554 48,799 48,852 48,902
    5 ตรอน 34,733 34,802 34,832 34,842 35,039 34,965 35,036
    6 น้ำปาด 32,516 32,615 32,598 32,646 32,777 32,861 32,836
    7 ทองแสนขัน 32,453 32,484 32,571 32,645 32,768 32,845 32,844
    8 ฟากท่า 14,726 14,805 14,823 14,885 14,980 15,083 15,128
    9 บ้านโคก 14,472 14,413 14,354 14,318 14,249 14,162 14,395
    รวม 460,400 460,995 461,294 461,040 462,618 462,951 464,205

    ความมั่นคง

    ค่ายทหารในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นค่ายทหารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาความสงบในจังหวัดอุตรดิตถ์

    เศรษฐกิจ

    จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลผลิตสาขาที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดคือ สาขาการเกษตร รองลงไปคือการอุตสาหกรรม การประมง และการพาณิชย์

    • พืชเศรษฐกิจของจังหวัดที่สำคัญคือ ลางสาดมีการปลูกมากที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ก็มีทุเรียน เงาะ มังคุด สับปะรด ลำไย ส่วนพืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจคือ ข้าว อ้อย ข้าวโพด กระเทียม ถั่วต่าง ๆ และยาสูบ เป็นต้น
    • มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเพราะมีโรงงานน้ำตาลถึง 2 แห่ง มีโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตไวน์ลางสาด โรงงานผลิตเส้นหมี่ โรงงานผลิตดินขาว โรงงานถลุงแร่ขนาดเล็ก เป็นต้น
    • มีการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายอย่างเช่น การทำไม้กวาดตองกง การทอผ้า การจักสานเครื่องใช้ไม้ไผ่ การทำเครื่องปั้นดินเผา การตีเหล็กทำเครื่องใช้เกษตรกรรมและทำมีด เป็นต้น
    • สภาพความคล่องตัวของเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อำเภอพิชัย มีธนาคารพาณิชย์คอยให้บริการอยู่หลายแห่ง จากสภาพทั่วไปแล้วจังหวัดอุตรดิตถ์มีค่าครองชีพของประชากรอยู่ในระดับปานกลาง

    ทรัพยากรธรรมชาติ

    จังหวัดอุตรดิตถ์มีทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์ มี ทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แร่พลวง เหล็ก ทองแดง ยิปซัม แร่ใยหิน ดินขาว ทัลก์ แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ในทางเศรษฐกิจ และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน ไหลผ่านเขตจังหวัดเป็นระยะความยาวถึง 160 กิโลเมตร แม่น้ำปาด ห้วยพูล คลองแม่พร่อง ห้วยน้ำพี้ คลองตรอน ห้วยน้ำลอก นอกจากนั้นมีเขื่อนและฝายกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน คือ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินช่องเขาขาดหรือแซดเดิล ฝายสมเด็จฯ และฝายหลวงลับแลซึ่งเป็นฝายแรกของประเทศไทย

    อุตสาหกรรม

    ทางด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน คือ อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมทอผ้า และอุตสาหกรรมน้ำปลา ส่วนในเรื่องของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่น เหมืองแร่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ยังไม่เกิดขึ้นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงแม้อุตรดิตถ์จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ต่าง ๆ ก็ตาม

    ประชากร

    ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัด คือชนพื้นถิ่นไทยสยามและไทยวน ผู้เป็นเจ้าของซากโครงกระดูกและเครื่องมือหินและสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในจังหวัด ต่อมาพื้นที่ตั้งเมืองอุตรดิตถ์เป็นทางผ่านสำคัญมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมดองซอน ทำให้มีการเคลื่อยย้ายผู้คนมาจากที่ต่าง ๆ มากขึ้น เรื่อยมาในสมัยทวารวดีและอาณาจักรขอมดังปรากฏหลักฐานเมืองโบราณที่เวียงเจ้าเงาะ จนมาในสมัยสมัยสุโขทัยได้มีเมืองเกิดขึ้นมากมาย เช่น เมืองฝาง เมืองทุ่งยั้ง เมืองตาชูชก และเมืองพิชัย และด้วยการเป็นเส้นทางการค้าทางน้ำ ทำให้ชาวเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยโบราณมีที่มาจากหลายเผ่าพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมสืบเนื่องมาจนปัจจุบันคือไทยสยามจากอาณาจักรสุโขทัยที่อาศัยอยู่ในแถบอำเภอพิชัย และไทยวนจากอาณาจักรล้านนาที่อพยพจากเชียงแสนมาอาศัยอยู่ในแถบอำเภอลับแล ชนสองกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานขึ้นเป็นเมืองอย่างมั่นคงมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

    จนสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการกวาดต้อนผู้คนและการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ล้านช้าง (ลาว) จากทั้งเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง ลงมาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดมากขึ้น ได้แก่บริเวณอำเภอน้ำปาก อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคกในปัจจุบัน และได้มีชาวจีนโพ้นทะเลอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายในแถบเมืองท่ามากเป็นลำดับ จึงทำให้เมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันกลายเป็นเมืองที่มีกลุ่มชนมากถึง 3 วัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข[22]

    จำนวนประชากรในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดอุตรดิตถ์
    (ปี 2551 จังหวัดอุตรดิตถ์มีประชากรทั้งสิ้น 464,205 คน ประชากรชาย 229,207 คน ประชากรหญิง 234,998 คน)

    ชาวทุ่งยั้ง หน้าวัดพระแท่นศิลอาสน์ ภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5
    ชาวไทยสยาม
    (เมืองอุตรดิตถ์, พิชัย, ตรอน, ทองแสนขัน)

    ชาวลับแล ในชุดพื้นเมือง ภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5
    ชาวไทยล้านนา
    (ลับแล, ท่าปลา, เมืองอุตรดิตถ์)

    อันดับ อำเภอ จำนวนประชากร

    ชาวไทยเชื้อสายลาว ในชุดพื้นเมืองล้านช้าง
    ชาวไทยเชื้อสายลาว
    (บ้านโคก, ฟากท่า, ตรอน, ทองแสนขัน)
    ชาวไทยเชื้อสายจีน ตลาดบางโพอุตรดิตถ์ (หน้าวิหารหลวงพ่อเพ็ชร)
    ชาวไทยเชื้อสายจีน
    (เมืองอุตรดิตถ์)

    1 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ 85,124
    2 อำเภอพิชัย 73,119
    3 อำเภอลับแล 37,142
    4 อำเภอท่าปลา 42,951
    5 อำเภอตรอน 30,888
    6 อำเภอน้ำปาด 29,558
    7 อำเภอทองแสนขัน 28,021
    8 อำเภอฟากท่า 14,359
    9 อำเภอบ้านโคก 10,618

    ศาสนา

    พระมหาสถูป วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เมืองสวางคบุรี พุทธศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์

    ประชากรท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัด นับถือผีที่เป็นความเชื่อแบบโบราณเป็นหลัก สังเกตได้จากร่องรอยการใส่ภาชนะและข้าวของเครื่องใช้ลงในหลุมฝังศพตามความเชื่อในเรื่องโลกหน้าของคนโบราณในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบ้านบุ่งวังงิ้ว

    ประชากรอุตรดิตถ์กว่าร้อยละ 99.66 นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
    (ภาพ:สามเณรในวัดคุ้งตะเภา)

    อย่างไรก็ตามศาสนาแรกที่ชาวอุตรดิตถ์รับมานับถือสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธศาสนา เพราะปรากฏหลักฐานโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดที่ พระมหาสถูปแห่งเมืองฝาง จากตำนานที่กล่าวว่าเป็นพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้รับมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณทูตคือพระโสณะและพระอุตตระมาประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมิ และแม้ว่าตำนานนี้อาจจะเป็นเรื่องที่แต่งเสริมความศรัทธาในภายหลัง แต่พระมหาสถูปแห่งเมืองฝางก็คงสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับการสถาปนาเมืองฝางสวางคบุรีให้เป็นเมืองหน้าด่านทิศตะวันออกสุดแห่งอาณาจักรสุโขทัย (สวางคบุรี-เมืองที่รับแสงอรุณแห่งแรกของอาณาจักรสุโขทัย) [22]

    ปัจจุบัน ประชากรของจังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ประมาณร้อยละ 99.66 มีจำนวนวัดในพระพุทธศาสนาถึง 312 วัด พระสงฆ์สามเณรกว่าพันรูป[31] นอกจากนั้นยังมีศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ในภายหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นคนนอกพื้นที่ ที่อพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดอุตรดิตถ์ในช่วงไม่ถึงร้อยปีที่ผ่านมา

    การศึกษา

    จังหวัดอุตรดิตถ์นับได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา ในระดับปฐมวัยและระดับมัธยมศึกษานั้น ดูแลโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ แบ่งออกเป็น 2 เขต โดยแต่ละเขตจะรับผิดชอบการศึกษาของแต่ละอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์

    นอกจากนี้ ยังมีการจัดการเรียนในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ (และที่เปิดสาขาเป็นศูนย์การศึกษาอุตรดิตถ์) ดังต่อไปนี้

    บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยรัฐเพียงแห่งเดียวที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์
    ระดับอุดมศึกษา
    อาชีวศึกษา
    โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
    โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

    สำหรับโรงเรียน ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์

    ประเพณีและวัฒนธรรม

    สภาพพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตรอยต่อ 3 วัฒนธรรม คือล้านนา ล้านช้าง และไทยกลาง เป็นผลให้ลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาถิ่นและงานประเพณีพื้นบ้านต่าง ๆ มีลักษณะผสมผสาน บางส่วนพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) [ต้องการอ้างอิง] บางส่วนพูดภาษาไทยภาคกลาง บางส่วนพูดภาษาลาว และบางส่วนพูดภาษาท้องถิ่นของตน เช่น บ้านทุ่งยั้ง เป็นต้น

    งานเทศกาล และงานประจำปีจังหวัดอุตรดิตถ์

    อำเภอลับแล

    งานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (วันอัฐมีบูชา) วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
    • งานเทศกาลแห่น้ำขึ้นโฮง : ไหว้สาเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร กษัตริย์พระองค์แรกแห่งนครลับแล มีการแห่ขบวนตุงล้านนาที่ยาวที่สุด จัดขึ้นในช่วงเดือน 6 ของทุกปี
    • งานเทศกาลทุเรียนและผลไม้เมืองลับแล : จัดโดย เทศบาลตำบลหัวดง
    • งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งแต่ วันขึ้น 8 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน สาม จัดโดย วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ และจังหวัดอุตรดิตถ์
    • งานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันอัฏฐมีบูชา : จัดในระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึง วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
    • งานประเพณีสงกรานต์เมืองลับแล ถนนข้าวแคบ : จัดโดยเทศบาลพระศรีพนมมาศ ระหว่างวันที่ 12 - 15 เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ
    • งานประเพณีสลากชะลอมและค้างบูยา

    อำเภอเมือง

    • งานเทศกาลพระยาพิชัยดาบหัก และงานกาชาดจังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 7 - 16 มกราคม ของทุกปี ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย
    • งานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสินค้า OTOP อุตรดิตถ์ ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย
    • งานเทศกาลสงกรานต์ถนนหลงหลินลับแล(มหาสงกรานต์เมืองอุตรดิตถ์) ระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน ของทุกปี ณ ถนนฤดีเปรมตั้งแต่งวงวเนียนสาธารณสุข ถึงแยกสนามแบดมินตัน : จัดโดยเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
    • งานประจำปีนมัสการหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน
    • งานประจำปีวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ : จัดโดยเทศบาลตำบลผาจุก
    • งานประจำปีวัดหมอนไม้
    • งานหอการค้าแฟร์ : ณ สนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย จัดโดยหอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์
    • งานอุตรดิตถ์เกษตรแฟร์ : ณ ถนนแปดวา และถนนประตูชัย จัดโดยสำงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์

    อำเภอตรอน

    • งานประเพณีไหลแพไฟเฉลิมพระเกียรติ พิธีขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำ : วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี บริเวณลานอเนกประสงค์ริมน้ำน่าน อำเภอตรอน
    • งานย้อนรำลึกเส้นทางประวัติศาสตร์รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองตรอนตรีสินธุ์ วัดหาดสองแคว
    • งานฮ่วมแอ่วงาน เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ไท-ยวน บ้านน้ำอ่าง สืบสานวิถีไทย ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน ของทุกปี ณ วัดไชยมงคล

    อำเภอน้ำปาด

    • งานพญาปาด เทศกาล หอม-กระเทียม และของดีอำเภอน้ำปาด

    อำเภอบ้านโคก

    • งานสืบสานประเพณีก่อเจดีย์บุญกองข้าวใหญ่

    อำเภอพิชัย

    • งานนมัสการหลวงพ่อโต และของดีเมืองพิชัย

    อำเภอฟากท่า

    • งานของดีอำเภอฟากท่า

    อำเภอท่าปลา

    • งานประเพณีสงกรานต์เขื่อนสิริกิติ์ จัดโดย เขื่อนสิรกิติ์ ณ เขื่อนสิริกิติ์
    • งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและของดีอำเภอท่าปลา จัดโดยเทศบาลตำบลจริม และองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ณ สนามกลางอำเภอท่าปลา

    การละเล่นพื้นบ้าน

    จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังมีการละเล่นดนตรีพื้นบ้านที่ยังคงมีผู้สืบต่อมาจนปัจจุบัน ถึงสามวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาในการทำเครื่องดนตรีและการละเล่น เช่น ดนตรีมังคละ (มีการละเล่นกันอยู่ในอำเภอพิชัย (กองโค) อำเภอเมือง (พระฝาง, หมอนไม้, คุ้งตะเภา) และอำเภอลับแล (ทุ่งยั้ง)) และวงปี่พาทย์ไทยเดิม รวมถึงการละเล่นซะล้อ ซอ ซึง จ๊อย ค่าว ตามแบบวัฒนธรรมล้านนา

    โรงพยาบาล

    การคมนาคม

    ทางรถไฟ

    สถานีรถไฟอุตรดิตถ์

    จังหวัดอุตรดิตถ์มีทางรถไฟผ่านจำนวน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอพิชัย และอำเภอตรอน อีกทั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ยังเป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่สำคัญในภาคเหนือ ได้แก่ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และสถานีรถไฟศิลาอาสน์ ที่มีขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟพิษณุโลก และสถานีรถไฟเชียงใหม่มายังจังหวัดอุตรดิตถ์ทุกวัน วันละ 22 ขบวน(เที่ยวขึ้นและเที่ยวล่อง) ทั้งรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว และรถท้องถิ่น

    ทางรถโดยสารประจำทาง

    สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์

    จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต2) มีรถยนต์โดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศจากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวัน วันละหลายเที่ยว เช่น บ.เชิดชัยทัวร์ จ. บ. สุโขทัย วินทัวร์ (วินทัวร์) บ.นครชัยแอร์ บ.นครชัยทัวร์ และของบขส. เป็นต้น บริษัทที่ให้บริการเดินทางรถประจำทางทั้งรถปรับอากาศชั้นที่ 1 ชั้น 2 ทั้งรถมาตราฐานชั้นที่4 ก,ข (รถสองชั้น) และรถโดยสารธรรมดา นอกจากนี้จากสถานีขนส่งอุตรดิตถ์ สามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ดังนี้

    ภาคเหนือตอนบน

    • ปลายทาง เชียงใหม่ ผ่าน เด่นชัย ลำปาง ลำพูน
    • ปลายทาง แม่สาย ผ่าน เด่นชัย แพร่ พะเยา เชียงราย
    • ปลายทาง เชียงของ ผ่าน แพร่ เชียงคำ เทิง
    • ปลายทาง ทุ่งช้าง น่าน ผ่าน แพร่
    • "ปลายทาง" เชียงราย "ผ่าน" เด่นชัย งาว ดอกคำใต้

    ภาคเหนือตอนล่าง

    • ปลายทาง ตาก กำแพงเพชร ผ่าน ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก สุโขทัย
    • ปลายทาง นครสวรรค์ ผ่าน พิษณุโลก พิจิตร
    • ปลายทาง พิษณุโลก

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    • ปลายทาง อุดรธานี นครพนม ผ่าน นครไทย ด่านซ้าย เลย ภูกระดึง หนองบัวลำภู สกลนคร
    • ปลายทาง ขอนแก่น ผ่าน หล่มสัก ชุมแพ
    • ปลายทาง นครราชสีมา ผ่าน สากเหล็ก เขาทราย สระบุรี ลพบุรี
    • ปลายทาง อุบลราชธานี ผ่าน ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร

    ภาคตะวันออก

    • ปลายทาง พัทยา ระยอง ผ่าน สระบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ศรีราชา พัทยา

    ภาคใต้

    • ปลายทาง ภูเก็ต ผ่าน สิงห์บุรี บางบัวทอง เพชรบุรี ชะอำ หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา

    ทางรถยนต์ส่วนบุคคล

    ป้ายต้อนรับสู่เมืองอุตรดิตถ์ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11

    ทางเครื่องบิน

    เดินทางโดยใช้สายการบินนกแอร์ แบบ Fly'n'Ride กรุงเทพ(ดอนเมือง)-อุตรดิตถ์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางโดยรถตู้ถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่จังหวัดอุตรดิตถ์(โชว์รูมโตโยต้าชัวร์อุตรดิตถ์)

    ระบบขนส่งมวลชนภายในจังหวัดอุตรดิตถ์

    • ท่ารถประจำทาง
      • รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ตรอน-พิชัย (ท่ารถอยู่ข้างวัดท่าถนนฝั่งริมน้ำน่าน)
      • รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ฟากท่า-บ้านโคก (ท่ารถหน้าสถานีรถไฟอุตรดิตถ์เก่า)
      • รถประจำทางสายอุตรดิตถ์-ทองแสนขัน-น้ำปาด (ท่ารถอยู่ข้างวัดท่าถนนฝั่งริมน้ำน่าน)
    • คิวรถสองแถว
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ลับแล (คิวรถอยู่หน้าร้านอุตรดิตถ์เมืองทอง และร้านเพชรนพเก้า)
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-หาดงิ้ว (คิวรถอยู่ฝั่งตรงข้ามนาซ่าแลนด์)
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ห้วยฉลอง (คิวรถอยู่ตึกแถวข้างตลาดเทศบาล 3)
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-น้ำปาด (คิวรถอยู่หน้าสนามแบดมินตันเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์(ตลาดโต้รุ่ง))
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-น้ำหมัน-วังดิน (คิวรถอยู่หน้าสนามแบดมินตันเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์(ตลาดโต้รุ่ง))
      • รถสองแถวสายอุตรดิตถ์-ท่าปลา (คิวรถอยู่ข้างวิทยาลัยอาชีวะศึกษาอุตรดิตถ์)
    • รถแท๊กซี่ มีจุดจอดรับส่งอยู่ที่ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และสถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์
    • รถสองแถวรอบเมือง มีจุดจอดรับส่งอยู่ที่สถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ ,โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ,เทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ ,ตลาด และเกาะกลาง
    • รถตุ๊กตุ๊กรับจ้าง มีจุดจอดรับส่งที่สถานีขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์
    • รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีจุดจอดรับส่งที่ ตรงข้ามตลาดโต้รุ่ง ,หน้าห้างฟรายเดย์ ,หน้าวัดท่าถนนฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์
    • รถสามล้อรับจ้าง

    การเดินทางสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

    อุตรดิตถ์เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการเดินทางจากพรมแดนประเทศไทยสู่หลวงพระบาง

    จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพรมแดนติดกับเมืองปากลาย แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางอำเภอบ้านโคกและน้ำปาด เมือปี 2552 ทางคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกระดับช่องภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นด่านชายแดนสากล ดังนั้นในปัจจุบัน การเดินทางผ่านแดนเข้าออกสู่ประเทศลาวสามารถทำได้อย่างสะดวก ณ ที่ทำการด่าน ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศลาว

    การเดินทางสู่ประเทศลาวเริ่มจาก จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงเมืองหลวงพระบาง เป็นระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง

    • ด่านภูดู่ -ปากลาย 30 กิโลเมตร
    • ปากลาย-ไชยบุรี 168 กิโลเมตร
    • ไชยบุรี-ท่าเรือเฟอร์รี 30 กิโลเมตร (ข้ามแม่น้ำโขง)
    • ท่าเรือเฟอร์รี-เชียงเงิน 60 กิโลเมตร
    • เชียงเงิน-หลวงพระบาง 27 กิโลเมตร

    ในปัจจุบันทางส่วนใหญ่ได้ปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีตที่สามารถเดินทางได้ทุกฤดูกาลจนถึงเชียงเงิน จากนั้นเป็นทางลาดยางจนถึงหลวงพระบาง ในปีพ.ศ. 2555 เส้นทางดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเป็นถนนระหว่างประเทศระดับมาตรฐาน (R4 Highway) เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในการเดินทางจากพรมแดนประเทศไทยสู่หลวงพระบาง

    สถานที่สำคัญ

    หลวงพ่อเพ็ชร วัดท่าถนน พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ (ศิลปะเชียงแสน)

    โบราณสถาน

    พระอารามหลวง

    พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์

    เขื่อน

    สถานที่ท่องเที่ยว

    ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์

    บุคคลสำคัญจากจังหวัดอุตรดิตถ์

    อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

    ด้านศาสนา

    ด้านการเมืองการปกครอง

    ด้านศิลปวัฒนธรรม

    เชิงอรรถ

    หมายเหตุ 1: นายแจ้ง เลิศวิลัย เป็นผู้พบกลองมโหระทึกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว โดยได้ขุดพบที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2470 และได้ส่งมอบให้แก่ทางราชการ ปัจจุบันกลองมโหระทึกดังกล่าวตั้งแสดงอยู่ในพระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร[35]

    อ้างอิง

    1. สัญญลักษณ์และเพลงประจำจังหวัด, สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์
    2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
    3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
    4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
    5. หวน พินธุพันธุ์. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย, 2529.
    6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ, เล่ม 32, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2458, หน้า 178
    7. ประวัติและสภาพทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์. กระทรวงวัฒนธรรม
    8. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. (2552). ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์-พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://utt.onab.go.th/download/serviceutt/128.doc. เรียกข้อมูลเมื่อ 13-6-52
    9. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2545). ศาสนาการเมืองในประวัติศาสตร์สุโขทัย-อยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
    10. ชิน อยู่ดี และสุด แสงวิเชียร. (2517). อดีต. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 170-171
    11. 11.0 11.1 11.2 11.3 วิบูลย์ บูรณารมย์. (2540). ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท.
    12. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2530). วัดใหญ่ท่าเสา : รายงานการสำรวจและแนวทางการสงวนรักษาอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร. อัดสำเนา.
    13. _______. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).
    14. Karl Doehring. (1920). The Country and People of Siam. London : White Lotus Co Ltd. ISBN 978-974-8434-87-2
    15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ, เล่ม ๓๒, ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒๗๘
    16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ในเขตเทศบาลเมืองอุตตรดิตถ์ จังหวัดอุตตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, ตอน ๓๘ ก, ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๕๘๒
    17. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2465). พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทย.
    18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศห้ามไม่ให้ราษฎรตกตื่นในการเล่าลือต่าง ๆ (ข่าวลือเกิดศึกสงครามต่าง ๆ และชี้แจงเหตุปราบผู้อ้างตนเป็นผีบุญในมณฑลอิสาณหลอกลวงชาวบ้าน ,การปราบโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ในมณฑลพายัพ), เล่ม ๑๙, ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๑, หน้า ๓๘๒
    19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ออกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่, เล่ม ๑๙, ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๑, หน้า ๕๓๖
    20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศถอดเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้านครแพร่ออกจากสมาชิกเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๑๙, ๑๒ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๑, หน้า ๕๖๖
    21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศข่าวราชการมณฑลพายัพ (ข่าวการส่งกองทัพยกขึ้นไปปราบโจรเงี้ยวที่ปล้นเมืองแพร่), เล่ม ๑๙ แผ่นที่ ๑๐, ๑๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๑, หน้า ๓๘๕
    22. 22.0 22.1 22.2 เทวประภาส มากคล้าย. (2553). วัดคุ้งตะเภาจากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงเพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847
    23. 23.0 23.1 สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์. (2551). คำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://klang.cgd.go.th/utt/utt2.htm
    24. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
    25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
    26. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
    27. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
    28. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
    29. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
    30. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
    31. ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. (2552). สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://utt.onab.go.th/download/serviceutt/128.doc
    32. สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2552). สารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://61.19.236.136/tourist2009/userArticle.php?content=subgallery&prov=53
    33. "เมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง อยู่ทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์," (2549, กรกฎาคม 17). มติชนรายวัน. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03170752&sectionid=0131&day=2009-07-17
    34. เฮง อิฏฐาจาโร, พระมหา. (2492). ประวัติสังเขปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กฤษณปกรณ์.
    35. หวน พินพันธุ์, ผศ.. (2529). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

    หนังสืออ่านเพิ่มเติม

    • จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกระทรวงมหาดไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทพิฆเณศพริ้นท์ติ้งเซนเตอร์จำกัด, 2545.
    • เดช บุนนาค. การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435–2458. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา, 2548.
    • ธเนศวร์ เจริญเมือง. "การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในระยะผ่าน (1)." หนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 48, 23-29 กันยายน 2545.
    • ธเนศวร์ เจริญเมือง. คนเมือง. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2544.
    • บุญวรรณี วิริยะชัยวงศ์. กระบวนการสร้างบ้านแปงเมืองในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนสมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1800-2030. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539.
    • มณเฑียร ดีแท้. มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: วิเทศธุรกิจการพิมพ์, 2523.
    • วิบูลย์ บูรณารมย์. ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุตรดิตถ์: โรงพิมพ์พี.ออฟเซ็ทอาร์ท, 2540.
    • สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด, 2539.
    • หวน พินธุพันธุ์. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, 2529.
    • หวน พินธุพันธุ์. อุตรดิตถ์ของเรา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2521.
    • อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. "ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นในสังคมเชียงใหม่ (พ.ศ. 1839-2439)." วารสารสังคมศาสตร์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1, เมษายน-กันยายน 2524.

    ดูเพิ่ม

    แหล่งข้อมูลอื่น


    17°38′N 100°06′E / 17.63°N 100.1°E / 17.63; 100.1