ฮ่อ
ภาพถ่ายชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดลำปาง, จังหวัดพะเยา ประเทศไทย | |
ภาษา | |
ภาษาจีน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยกลาง | |
ศาสนา | |
ตามประเพณีทั่วไปของชาวจีนฮั่นที่นับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่: นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ |
ฮ่อ , จีนยูนนาน ภาษาไทยถิ่นเหนือเรียกว่า ห้อ[2] (อังกฤษ: Haw, จีน: 云南人) เป็นการเรียกกลุ่มชนเชื้อสายจีนที่อพยพลงมาจาก มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยไม่จำแนกว่านับถือศาสนาใด[3] เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทย พม่า และลาว มีทั้งอาศัยอยู่บนเทือกเขาและในเมือง ในประเทศไทยชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนานมักอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน
การอพยพ
[แก้]ชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามานั้นพอจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มพ่อค้าคาราวาน[4] ที่ใช้ม้าต่างหรือ ล่อ เป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้าผ่านมาทางฮ่องลึกหรือด่านแม่สาย เดินทางตามช่องทางนี้มาตั้งแต่โบราณ
- กลุ่มจีนฮ่อลี้ภัย ในช่วงปราบปรามกบฏปันทาย นำโดยสุลต่านสุลัยมาน (Sulayman ibn Abd al-Rahman) หรือตู้เหวินซิ่ว (ภาษาจีนกลาง:杜文秀) ผู้สถาปนารัฐผิงหนานขึ้นในมณฑลยูนนานในช่วงปี ค.ศ. 1856–1873 แต่กลับถูกทางการราชวงศ์ชิงปราบปรามอย่างราบคาบ คาดการว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนไปนับล้านคน
- กลุ่มทหารกู้ชาติจีนอพยพเข้ามา หลังจากการปฏิวัติประเทศจีนประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1949 ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ทำให้ทหารกองพล 93 ของจีนคณะชาติหรือพรรคก๊กมินตั๋งต้องถอยร่นลงมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า และต่อมาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศไต้หวัน อีกส่วนหนึ่งปักหลักอยู่ทางภาคเหนือของไทย [5]
ศิลปะและวัฒนธรรม
[แก้]ภาษา
[แก้]ชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน ใช้ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ในการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว คนรุ่นหลังสามารถอ่านเขียนภาษาจีนมาตรฐานได้ดี จะมีการสอนภาษาจีนในโรงเรียนไทย นักเรียนชาวฮ่อก็จะได้เรียนการเขียนอักษรจีนตัวย่อและพินอิน ครั้นเสร็จสิ้นการเรียนในโรงเรียนไทย พวกเขาจะเข้าเรียนโรงเรียนจีนต่อในช่วงภาคค่ำ โดยศึกษาการเขียนอักษรแบบจีนตัวเต็ม[6]
ประเพณี
[แก้]ประเพณีชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน
งานปีใหม่หรือตรุษจีน
[แก้]จะมีการเซ่นไหว้เจ้าที่ด้วยอาหาร ผลไม้ จุดประทัด ทุกคนต่างหยุดงาน และแต่งกายสวยงามเลี้ยงสุราอาหาร ให้ของขวัญแก่กัน มีการไหว้บิดามารดา(ไหว้บรรพบุรุษ)หรือสามีภรรยาที่ล่วงลับไปแล้ว
การขึ้นบ้านใหม่
[แก้]จะมีการเซ่นเจ้าอย่างแบบจีนโดยเอาผ้าผืนใหญ่ มาเขียนตัวอักษรจีนปิดไว้บนขื่อและประตู ห้อยชายลง เจ้าของบ้านจะฆ่าหมู ไก่ เป็ด และแพะ ปรุงเป็นอาหารเลี้ยงชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่มารับประทานน้ำชา อาหาร มีการเล่นละครแบบยูนนานคล้าย ๆ งิ้ว
ลักษณะบ้านเรือน
[แก้]ชาวฮ่อนิยมตั้งบ้าน เรือนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่มีชนชาติอื่นเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ปะบน การปลูกบ้านของชาวฮ่อ จะใช้ดินมาปั้นเป็นก้อน ๆ โดยไม่ต้องเผาไฟ ทำเป็นอิฐก่อกันเป็นตึก 2 ชั้นเตี้ย ๆ ข้างบนทึบ ชายคายื่นล้ำลงมาเพื่อกันไม่ให้ฝนสาดฝาพังทลาย และเพื่อป้องกันอิฐดิบนั้น ชาวฮ่อจึงใช้ปูนผสมดินเหนียวกับทรายฉาบนอกอีกชั้นหนึ่ง[7]
อาหาร
[แก้]อาหารของชาวฮ่อหรือจีนยูนนาน รู้จักกันในชื่ออาหาร Dian เป็นอาหารของชาวจีนฮั่นผสมผสานกับชนกลุ่มน้อยในมณฑลยูนนานในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์มากที่สุด อาหารของยูนนานจึงมีความหลากหลายอย่างมาก อาหารยูนนานหลายมีรสชาติค่อนข้างเผ็ด และมีเห็ดเป็นส่วนประกอบ ดอกไม้ เฟิร์น สาหร่าย และแมลง ก็นำมาทำอาหารได้เช่นกัน อาหารของชาวจีนยูนนานมีความไกล้เคียงกับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีพรมแดนติดกับภูมิภาคนี้และได้ผสมผสานกับอาหารของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อีกด้วย อาหารของชาวจีนยูนนานจึงมีความหลากหลาย
สามผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาวจีนยูนนาน คือ ชาผูเอ่อร์ ซึ่งได้รับการปลูกแบบดั้งเดิม และ แฮม Xuanwei ซึ่งมักใช้ปรุงรสอาหารตุ๋นและเคี่ยวในอาหารจีน รวมไปถึงสำหรับทำน้ำสต็อกและน้ำซุป และ ฮวาเจียว guoqiao ใช้ทำพริกปิ้งย่างของจีนหรือที่คนไทยเรียนว่า หม่าล่า และยังใช้ทำซุปก๋วยเตี๋ยวไก่อีกด้วย
อาหารยูนนานมีความเป็นเอกลักษณ์ เช่น ชีส Rubing และ ชีส Rushan และและอิทธิพลอื่นๆ ได้แก่ อิทธิพลของมองโกเลียในสมัยราชวงศ์หยวน (เช่น การตั้งถิ่นฐานชาวเอเชียกลางในยูนนาน) และอิทธิพลของอินเดียและทิเบตที่มีต่ออาหารของชาวฮ่อหรือชาวจีนยูนนาน[8]
-
ก๋วยเตี๋ยวยูนนานที่จังหวัดเชียงราย
-
ชาวนาซี
-
ชาวจีนยูนนานมุสลิม
-
ชายแดนพม่ายูนนาน
-
บ้านจีนยูนนานในจีน
ศาสนา
[แก้]ชาวจีนฮ่อประมาณ 1 ใน 3 จะนับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาจีนกลาง [9] นอกนั้นจะนับถือบูชาบรรพบุรุษ และถูกกลืนไปในวัฒนธรรมล้านนา โดยผู้ที่เป็นมุสลิมจะถูกเรียกว่า ผ่าสี่ แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจะเรียกว่า ผ่าห้า[10] สันนิษฐานได้ว่าคำว่าผ่าสี่อาจจะมาจากภาษาไทใหญ่ มีความหมายว่า เปอร์เซีย
ชาวฮ่อที่ยังนับถือผีบรรพชนนั้น จะมีซินแสหรือที่เรียกว่าสล่าเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่ออย่างชาวจีน[11] นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์[2]
อย่างไรก็ตาม ชาวจีนฮ่อมุสลิม ตามความหมายของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จะหมายถึงชาวหุย ซึ่งหมายถึงชาวมุสลิมที่มีลักษณะวัฒนธรรมและค่านิยมเช่นเดียวกับชาวจีนเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม มักอาศัยอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน[12]
ชาวจีนยูนนานมีการนับถือสามศาสนาหลักคือ พุทธ คริสต์และอิสลาม ในประเทศไทยสามารถแบ่งกลุ่มตามความเชื่อทางศาสนาได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
ฮั่นเจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานผสมลัทธิเต๋า มีศาลเจ้าและในบ้านจะมีหิ้งบูชาบรรพบุรุษ
หุยเจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดหรือสุเหร่าเพื่อประกอบพิธี
จีตู๋เจียว เป็นกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ มีโบสถ์เป็นศาสนสถานที่ใช้เพื่อทำพิธีกรรมในหมู่บ้านและความเชื่อเรื่องสิ่งสักการบูชา 5 ประการได้แก่ ฟ้า ดิน กษัตริย์ บิดามารดาและครู
สีแดงเป็นสีมงคล การบูชาผีเรือนจะทำให้ผู้บูชาอยู่เย็นเป็นสุข กระดูกไก่สามารถใช้ทำนายโชคชะตาอนาคตและความรุ่งเรืองของบุคคลได้ ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ และชีวิตหลังความตาย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง 2540, น.63
- ↑ 2.0 2.1 "จีนยูนนาน". มูลนิธิโครงการหลวง. 24 มกราคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชาวจีนฮ่อ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-07-05.
- ↑ Hellet, 1890 และ Bock, 1884 อ้างใน Suthep Soonthornpasuch, 1977
- ↑ หนังสือครบรอบ 80 ปี มัสยิดบ้านฮ่อ ,2539 ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี
- ↑ เหนือขวัญ บัวเผื่อน (กันยายน–ธันวาคม 2560). วัฒนธรรมการสืบทอดภาษาของชาวไทยเชื้อสายจีน ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย (PDF). Dusit Thani College Journal (11:3). p. 289. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.
{{cite book}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ "จีนยูนาน หรือ จีนฮ่อ | Royal Project Foundation". www.royalprojectthailand.com.
- ↑ แอนเดอร์สัน, EN (1988). อาหารของจีน (ภาพประกอบ พิมพ์ซ้ำ ปรับปรุงแก้ไข) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล. หน้า 91, 178, 207. ISBN [[1]]. สืบค้นเมื่อ24 เมษายน 2557
- ↑ "คุ้มนายพล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-29.
- ↑ "แอ่วกาดฮ่อ ตลาดจีนฮ่อ เชียงใหม่ จากเว็บพันทิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-23.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อฮ่อ
- ↑ China's Muslim Hui Community