ข้ามไปเนื้อหา

หลวงพระบาง

พิกัด: 19°53′24″N 102°08′05″E / 19.89000°N 102.13472°E / 19.89000; 102.13472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองหลวงพระบาง)
หลวงพระบาง

ຫຼວງພະບາງ, ຫລວງພຣະບາງ
เมืองหลวงพระบาง
ເມືອງຫຼວງພະບາງ
ภาพถ่ายทางอากาศของหลวงพระบาง
ภาพถ่ายทางอากาศของหลวงพระบาง
หลวงพระบางตั้งอยู่ในประเทศลาว
หลวงพระบาง
หลวงพระบาง
ที่ตั้งในประเทศลาว
พิกัด: 19°53′24″N 102°08′05″E / 19.89000°N 102.13472°E / 19.89000; 102.13472
ประเทศ ลาว
แขวงหลวงพระบาง
เมืองหลวงพระบาง
การปกครอง
 • ประเภทคณะกรรมการท้องถิ่น เมืองมรดกโลก แขวงหลวงพระบาง[1]
ความสูง[2]305 เมตร (1,001 ฟุต)
ประชากร
 • ทั้งหมด55,027 คน
เขตเวลาUTC+7 (ICT)
รหัสไปรษณีย์06000[3]
เว็บไซต์http://tourismluangprabang.org/
เมืองหลวงพระบาง *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พิกัด19°53′51.2″N 102°08′35.2″E / 19.897556°N 102.143111°E / 19.897556; 102.143111
ประเทศ ลาว
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iv), (v)
อ้างอิง479
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2538 (คณะกรรมการสมัยที่ 19)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

หลวงพระบาง (ลาว: ຫຼວງພະບາງ หรือ ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองหลักของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้วย

ประวัติ

[แก้]

หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่เป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านช้าง สมัยแรกเริ่มสถาปนาอาณาจักรล้านช้าง แต่เดิมมีชื่อว่า "เมืองซวา" และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอซึ่งถือเป็นปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชียงทอง"

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 – พ.ศ. 1916) เสด็จกลับจากกัมพูชา อันเนื่องจากพระองค์และพระบิดาต้องเสด็จลี้ภัยเพราะถูกขับไล่จากกษัตริย์องค์ก่อน ซึ่งแท้จริงก็คือพระอัยกาของเจ้าฟ้างุ้มนั่นเอง เจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมกำลังขณะอยู่ในเมืองพระนคร หรือเมืองเสียมราฐ และนำกองทัพนับพันกำลังเพื่อกู้ราชบัลลังก์กลับคืน และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นมาใหม่ และสถาปนาเมืองเชียงทองขึ้นเป็นราชธานีว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี ต่อมาในรัชสมัยพระโพธิสารราชเจ้า พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระบางซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำขึ้นมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวง เมืองเชียงทองจึงมีชื่อเรียกว่า "หลวงพระบาง" นับแต่นั้นมา

ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น "นครหลวงพระบาง" เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 และมีพิธีการประกาศยกฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา

แหล่งมรดกโลก

[แก้]

หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม

ซึ่งตรงกับเกณฑ์พิจารณาของยูเนสโกดังนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา

ในขณะที่แหล่งมรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Sengnaly, Phanthong. "Conference of Local Committee For World Heritage". www.luangprabang-heritage.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
  2. "Luangphabang Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2023. สืบค้นเมื่อ 24 January 2016.
  3. "Laos Postal Explorer". pe.usps.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2016. สืบค้นเมื่อ 19 October 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]