เวียงเจ้าเงาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบราณสถานเวียงเจ้าเงาะ

แหล่งประวัติศาสตร์เวียงเจ้าเงาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ เห็นป้ายบอกทางแยกเข้าเวียงเจ้าเงาะทางด้านขวามือ การเดินทางสะดวกปลอดภัย บริเวณที่ตั้งเวียงเจ้าเงาะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมุมเมืองทุ่งยั้ง มีเนื้อที่ประมาณ 129 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา หรืออยู่ห่างจากวัดพระแท่นศิลาอาสน์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 800 เมตร ภูมิประเทศของเวียงเจ้าเงาะนั้นเป็นที่ราบดินปนศิลาแลง บางตอนเป็นศิลาแลงล้วน ด้านทิศเหนือติดต่อกับหนองพระแลและหนองพระทัยอันเป็นที่ลุ่ม ปัจจุบันคันคูเมืองส่วนที่ขุดลงไปในศิลาแลงบางตอนตื้นเขินมาก ส่วนคันคูเมืองด้านที่เป็นคันดินถูกราษฎรบุกรุกทำลาย พื้นที่ในบริเวณคูเมืองด้านในและในคูเมืองมีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นรก บางส่วนของพื้นที่ในบริเวณเวียงเจ้าเงาะมีราษฏรจับจองปลูกพืชทำมาหากิน

มีตำนานที่สืบต่อกันมาเล่าขานกันว่า เวียงเจ้าเงาะมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัยของจังหวัดสุโขทัย โดยสังเกตเห็นได้จากพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งในอดีตมีทรงเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ปัจจุบันได้บูรณะซ่อมแซมเป็นทรงลังกาครอบทรงเดิมเอาไว้ในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันคูเมืองส่วนที่ขุดลงไปในศิลาแลงบางตอนตื้นเขินมาก ส่วนคูเมืองด้านที่เป็นคันดินถูกราษฎรบุกรุกทำลาย[1]

ชื่อเรียกในอดีต[แก้]

  1. เวียงเจ้าเงาะ
  2. เวียงเท้าสามล
  3. ตรีสมบูรณ์
  4. ทุ่งยั้ง
  5. ศรีนพวงศ์
  6. กัมโพชนคร
  7. ธรรมบาลนคร

ลักษณะผังเมือง[แก้]

  1. เป็นเมืองรูปไข่ มีคูเมือง3ชั้นกำแพงเจาะลงไปถึงคูเมืองชั้นที่3 มีคูล้อมรอบ(กำแพง)
  2. คูเมืองชั้นนอกก่อด้วยศิลาแลง ชั้นสองก่อด้วยอิฐ ชั้นสามก็ด้วยศิลาแลง

โบราณสถานที่ค้นพบ[แก้]

  1. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำทิพย์ 18 บ่อ
  2. วัดพระบรมธาตทุ่งยั้ง
  3. คูเมืองเก่า3ชั้น

โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ[แก้]

  1. กำไลหิน
  2. โครงกระดูก
  3. แหวนสำริด
  4. แหวนหิน
  5. สร้อยทำจากลูกปัด
  6. ลูกปัดโบราณ
  7. ลูกปัดสำริด
  8. กลองมโหระทึกแขก
  9. กลองมโหระทึกละว้า
  10. พร้าสำริด
  11. มีดสำริด
  12. ถ้วยชามสังคโลก
  13. ภาชนะดินเผาไม่เคลือบ
  14. ภาชนะดินเผาเคลือบสี

การเดินทาง[แก้]

  1. ใช้ถนนหมายเลข 102 (ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์) จากตัวเมืองอุตรดิตถ์บริเวณแยกห้วยไผ่ ผ่านแยกทุ่งยั้ง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตลาดทุ่งยั้ง จนถึงป้ายบอกทางเข้าเวียงเจ้าเงาะอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เวียงเจ้าเงาะจะตั้งอยู่ก่อนถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์

อ้างอิง[แก้]

  1. "แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเวาะ". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  1. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์
  2. สถานโทรทัศน์กองทัพบกแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2008-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน