แหล่งโบราณคดีแก่งตาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แหล่งโบราณคดีแก่งตาน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านในเขต ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยโบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่เศษภาชนะดินเผาผิวขัดมัน และผิวเรียบ มีลายเชือกทาบเส้นเล็กและเส้นใหญ่ ลายประทับตาข่าย และไม่มีลาย ชิ้นส่วนเครื่องมือหินขัด ก้อนดินเผาไฟ เครื่องถ้วยลายครามจีน เศษไห เนื้อดินสีเทาแบบไม่เคลือบ สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ที่เดินทางมาโดยทางน้ำ และเดินเท้ามาตามริมฝั่งแม่น้ำน่าน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ (สมัยรัชกาลที่5)

สิ่งที่ค้นพบ[แก้]

  1. เศษภาชนะดินเผาผิวขัดมัน
  2. เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ
  3. เศษภาชนะดินเผาผิวเรียบ ลายเชือกทาบเส้นเล็ก และเส้นใหญ่
  4. เศษภาชนะดินเผา ลายประทับตาข่าย
  5. เศษภาชนะดินเผาไม่มีลาย
  6. เครื่องมือหินขัด
  7. ก้อนดินที่ใช้เผาไฟสมัยโบราณ
  8. เครื่องถ้วยชามครามจีน
  9. เศษไห เนื้อดินสีเทาแบบไม่เคลือบ

การเดินทางในสมัยโบราณ[แก้]

  1. เดินทางเท้าตามริมแม่น้ำ
  2. ใช้เรือในการเดินทางล่องตามแม่น้ำน่าน

อ้างอิง[แก้]