ฝน
ส่วนหนึ่งของชุดธรรมชาติ |
สภาพอากาศ |
---|
ฝน เป็นการตกของน้ำจากฟ้าแบบหนึ่ง นอกจากฝนแล้ว น้ำยังตกในรูปหิมะ เกล็ดน้ำแข็ง ลูกเห็บ น้ำค้าง ฝนอยู่ในรูปหยดน้ำซึ่งตกมายังพื้นผิวโลกจากเมฆ ฝนบางส่วนระเหยเป็นไอก่อนตกลงถึงผิวโลก ฝนชนิดนี้เรียกว่า "virga"
ฝนที่ตกเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฏจักรของน้ำ ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกเป็นฝน ไหลลงแม่น้ำ ลำคลอง ไปทะเล มหาสมุทร
ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้มาตรวัดน้ำฝน โดยวัดความลึกของน้ำที่ตกสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m² = 1 mm)
ฝนเม็ดเล็กจะมีรูปเกือบเป็นทรงกลม ส่วนเม็ดฝนที่ใหญ่ขึ้นจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างแบนคล้ายแฮมเบอร์เกอร์ ส่วนเม็ดที่ใหญ่มาก ๆ นั้นจะมีรูปร่างคล้ายร่มชูชีพ[ต้องการอ้างอิง] เม็ดฝนเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ถึง 2 มิลลิเมตร เม็ดฝนใหญ่ที่สุดที่ตกลงถึงผิวโลก ตกที่ประเทศบราซิล และหมู่เกาะมาร์แชลล์ ใน ค.ศ. 2004 โดยมีขนาดใหญ่ถึง 10 มิลลิเมตร[ต้องการอ้างอิง] เม็ดฝนมีขนาดใหญ่เนื่องจากละอองน้ำในอากาศมีขนาดใหญ่ หรือเกิดการรวมตัวกันของเม็ดฝนหลายเม็ด จากความหนาแน่นฝนที่ตกลงมา[ต้องการอ้างอิง]
ปกติฝนมีค่า pH ต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เพราะรับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้ามาซึ่งเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก[ต้องการอ้างอิง] ในพื้นที่ทะเลทราย ฝุ่นในอากาศมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ซึ่งส่งผลต่อต้านความเป็นกรด ทำให้ฝนนั้นมีค่าเป็นกลางหรือเบส[ต้องการอ้างอิง] ฝนที่ค่า pH ต่ำกว่า 5.6 ถือเป็น ฝนกรด
วัฒนธรรมกับฝน
สังคมมนุษย์พัฒนาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับฝนหลายอย่าง เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ที่เก็บน้ำฝน ฯลฯ ปัจจุบันการเก็บน้ำฝนเพื่อบริโภคไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากมีสิ่งสกปรกมากมาย อยู่ในอากาศ ทำให้น้ำฝนนั้นมีฝุ่นละอองต่าง ๆ ด้วย
ผลกระทบต่อเกษตรกรรม
ฝนเป็นปัจจัยส่งผลต่อเกษตรกรรมมากทั้งด้านบวกและลบ โดยที่ฝนตกจะเป็นการรดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทางธรรมชาติ[ต้องการอ้างอิง] ฝนตกมากเกินไปอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและส่งผลให้พืชบางชนิดล้มตายจากการเน่าเปื่อยอันเกิดจากเชื้อราได้[1][2] นอกจากนี้ หากฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดภัยแล้งตามธรรมชาติยังสามารถทำลายพืชผลการเกษตรได้ด้วย[3]
อ้างอิง
- ↑ จดหมายข่าวผลิใบ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. "วิธีฟื้นฟูไม้ผลและปลูกไม้ผลหลังน้ำท่วม". กรมวิชาการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
- ↑ Robert Burns (2007-06-06). "Texas Crop and Weather". Texas A&M University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
- ↑ Bureau of Meteorology (2010). "Living With Drought". Commonwealth of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-18. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.