ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองอ่างศิลา

พิกัด: 13°19′33″N 100°56′31″E / 13.32583°N 100.94194°E / 13.32583; 100.94194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองอ่างศิลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Ang Sila
จากบนซ้ายไปล่างขวา: อ่างศิลามองจากเขาสามมุก ริมทะเลอ่างศิลา และตลาดอ่างศิลา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองอ่างศิลา
ตรา
คำขวัญ: 
สักการะองค์หน่าจา งามล้ำค่าพระตำหนัก ชนรู้จักแหล่งครกหิน เชิญเที่ยวถิ่นบุญกองข้าว ตลาดเก่านับร้อยปี
ทม.อ่างศิลาตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทม.อ่างศิลา
ทม.อ่างศิลา
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองอ่างศิลา
ทม.อ่างศิลาตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.อ่างศิลา
ทม.อ่างศิลา
ทม.อ่างศิลา (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°19′33″N 100°56′31″E / 13.32583°N 100.94194°E / 13.32583; 100.94194
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวินัย พ้นภัยพาล
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.60 ตร.กม. (7.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด35,408 คน
 • ความหนาแน่น1,903.66 คน/ตร.กม. (4,930.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04200105
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนเสม็ด–อ่างศิลา ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์angsilacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองอ่างศิลา เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมทะเลที่มีชื่อเสียงด้านการทำครกหินและผลิตภัณฑ์จากทะเลตากแห้ง ปัจจุบันเป็นมีการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในอ่างศิลาเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากอ่างศิลาไปประมาณ 5 กิโลเมตร

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลเมืองอ่างศิลาก่อตั้งจากการที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่าสมควรยกฐานะท้องถิ่นตำบลอ่างศิลาและตำบลบ้านปึกทั้งตำบล บางส่วนของตำบลเสม็ด และบางส่วนของตำบลห้วยกะปิ ซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่ของสุขาภิบาลแสนสุข จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งใหม่มีชื่อว่า สุขาภิบาลอ่างศิลา เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2530[2] จากนั้นในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ โดยขยายออกไปถึงคลองบางโปรง ซึ่งแนวเขตสุขาภิบาลจะเลียบคลองบางโปรงจนถึงปากคลองบางโปรง[3] และมีการเปลี่ยนแปลงฐานะครั้งแรกจากสุขาภิบาลเป็น เทศบาลตำบลอ่างศิลา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[4] และครั้งล่าสุดจากเทศบาลตำบลเป็น เทศบาลเมืองอ่างศิลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[5]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เทศบาลเมืองอ่างศิลาอยู่ค่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองชลบุรีมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล มีอาณาเขตการปกครอง 18.60 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลอ่างศิลา (หมู่ 1-5), ตำบลบ้านปึก (หมู่ 1-7), ตำบลเสม็ด (หมู่ 3-8) และตำบลห้วยกะปิ (หมู่ 4-5) โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลเสม็ด
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลเมืองแสนสุข
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลห้วยกะปิ

ภูมิประเทศในอ่างศิลา ประกอบด้วยหินอัด เป็นประเภทหินแกรนิตและหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชั้น ซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขาติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิต ซึ่งมีสีขาวนวล สีเหลืองอ่อน และมีความแข็งแกร่งจำนวนมาก ทำให้เกิดอาชีพการทำครกหินและเป็นสัญลักษณ์ของอ่างศิลา

ประชากร

[แก้]

เทศบาลเมืองอ่างศิลามีประชากรทั้งสิ้น 35,408 คน ประกอบด้วย 20,872 หลังคาเรือน[1] ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,903.66 คนต่อตารางกิโลเมตร ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นชุมชนศูนย์กลางเกษตรกรรมด้านการประมงชายฝั่งทะเล เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ และเป็นแหล่งทำครกหิน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน มีประชากรนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 96 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 3 และศาสนาอิสลามร้อยละ 1

ชุมชน

[แก้]

เทศบาลเมืองอ่างศิลาแบ่งการปกครองออกเป็นชุมชนทั้งสิ้น 20 ชุมชน ดังนี้

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สถานที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา เช่น

  • ชายหาดอ่างศิลาและสะพานปลาอ่างศิลา จะมีสินค้าท้องถิ่นและอาหารทะเลจำหน่าย โดยมีสินค้าที่สำคัญคือ ครกหินและการแกะสลักหินเป็นรูปต่างๆ และสะพานปลาอ่างศิลาซึ่งเดิมเรียกว่าสะพานหิน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้เป็นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา ในเวลาเช้ามืดจะมีเรือประมงมาเทียบท่าที่สะพานปลาเพื่อขึ้นอาหารทะเลและจำหน่ายที่บริเวณสะพานปลาและส่งไปจำหน่ายทั่วไปตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลอ่างศิลา
  • ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ สร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 โดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ เดิมสร้างเป็นศาลเจ้าขนาดเล็กบนเนื้อที่ 200 ตารางวา ต่อมาศิษยานุศิษย์ พ่อค้า และประชาชนที่เคารพเลื่อมใส ร่วมบริจาคทุนสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ เป็นผู้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาก่อสร้างกว่า 4 ปี บนเนื้อที่ 4 ไร่ และเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และประทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม โดยมีการขยายอาคารและเนื้อที่ประกอบด้วยอาคารหลัก จำนวน 3 หลัง และหอฟ้าดิน จำนวน 1 หลัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองอ่างศิลา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/D/118/4216.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/D/020/12.PDF
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]