สุริยา ลาภวิสุทธิสิน
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนักการเมือง นักธุรกิจที่มีความสนิทแนบแน่นกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
ประวัติ
[แก้]สุริยา ลาภวิสุทธิสิน เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร(จังหวัดพระนครในขณะนั้น) ในครอบครัวนักธุรกิจย่านประตูน้ำ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1]
การทำงาน
[แก้]สุริยา ลาภวิสุทธิสิน ประกอบธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับการส่งออกด้าย โรงปั่น และโรงทอผ้า รวมถึงธุรกิจทางด้านเชื้อเพลิง (แก๊ส) ในชื่อบริษัทยูเนี่ยนแก๊สแอนด์เคมีคอล จำกัด จากนั้นจึงได้เริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษาให้กับนายเสริมศักดิ์ การุญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสังข์ทอง ศรีธเรศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย ในลำดับที่ 94 และได้เป็นที่ปรึกษานายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[2] จนกระทั่งได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548[3] หลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียง 4 เดือน ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]
ในปี พ.ศ. 2553 นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ถูกกล่าวหาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าได้กระทำทุจริตผิดหน้าที่ และยักยอกเงินของ EWC[5] เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เพื่อตนเองหรือผู้อื่นในระหว่างปี 2547-2548 ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทเป็นเงินรวม 580.1 ล้านบาท เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ผู้จัดการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ลาออก, ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง จำนวน ๑๖ ราย, แต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ กล่าวโทษ'สุริยา ลาภวิสุทธิสิน'ยักยอกEWC[ลิงก์เสีย]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ภ.
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์