ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองแม่เหียะ"

พิกัด: 18°44′41″N 98°57′4″E / 18.74472°N 98.95111°E / 18.74472; 98.95111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 38: บรรทัด 38:


== ตราสัญลักษณ์ ==
== ตราสัญลักษณ์ ==
ตำบลแม่เหียะมีตราประจำเทศบาล<ref name="Mae Hia">[http://www.maehia.go.th/m2.php ตราสัญลักษณ์เทศบาล].</ref> เป็นรูป[[วงกลม]] ขอบบนวงกลมใหญ่มีอักษร "เทศบาลตำบลแม่เหียะ" และขอบล่างมีอักษร "จังหวัดเชียงใหม่"
ตำบลแม่เหียะมีตราประจำเทศบาล<ref name="Mae Hia">[http://www.maehia.go.th/m2.php ตราสัญลักษณ์เทศบาล].</ref> เป็นรูป[[วงกลม]] ขอบบนวงกลมใหญ่มีอักษร "เทศบาลเมืองแม่เหียะ" และขอบล่างมีอักษร "จังหวัดเชียงใหม่"
ในตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย
ในตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย
* '''วัดพระธาตุดอยคำ''' แสดงถึงเป็นวัดที่ชาวตำบลแม่เหียะให้ความเคารพนับถือ และเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่เหียะ
* '''วัดพระธาตุดอยคำ''' แสดงถึงเป็นวัดที่ชาวตำบลแม่เหียะให้ความเคารพนับถือ และเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่เหียะ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:15, 19 มกราคม 2558

18°44′41″N 98°57′4″E / 18.74472°N 98.95111°E / 18.74472; 98.95111

เทศบาลเมืองแม่เหียะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Mae Hia Town
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองแม่เหียะ
ตรา
คำขวัญ: 
ดอยคำพันสี่ร้อยปี ประเพณีเลี้ยงดง สรงน้ำพระธาตุ ถิ่นปราชญ์ล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นดินขอ น้ำแม่เหียะหล่อชีวี
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีธนวัฒน์ ยอดใจ
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.40 ตร.กม. (9.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด18,546 [1] คน
 • ความหนาแน่น760 คน/ตร.กม. (2,000 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลเมืองแม่เหียะ
โทรศัพท์53-276491
เว็บไซต์http://www.maehia.go.th www.maehia.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองแม่เหียะ เป็นเขตหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เหียะทั้งตำบล เมืองแม่เหียะมีแปลงทดลองและสาธิตทางการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ก็อยู่ในเมืองแม่เหียะเช่นเดียวกัน ตำบลแม่เหียะใช้เวลาเพียง 17 ปีสามารถพัฒนาจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลเมือง

ประวัติ

เมืองแม่เหียะ เดิมเป็นสภาตำบล ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของราชการบริหารส่วนภูมิภาค ต่อมากระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งสภาตำบลแม่เหียะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 เป็นผลให้องค์การบริหาร ส่วนตำบลแม่เหียะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการ ส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 95 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหียะถือเป็นหนึ่งในองค์การบริหาร ส่วนตำบล 617 แห่ง ที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศครั้งแรก[2] ปี พ.ศ. 2554 จากการที่เทศบาลตำบลแม่เหียะ เป็นตำบลที่มีการพัฒนาและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว สภาเทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้มีมติให้ส่งเรื่องยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองไปยังรัฐสภา ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองแม่เหียะ

สังคม

ตำบลแม่เหียะเป็นตำบลแถบชานของเวียงเชียงใหม่ ในอดีตประชาชนดั้งเดิมในพื้นที่มีส่วนใหญ่มีฐานะยากจนทำเกษตรกรรมและหาของป่าเป็นหลัก ด้วยการเกิดขึ้นของทางหลวงสองสายที่เชื่อมกับตัวเมือง คือทางหลวงเชียงใหม่-ฮอด และ ถนนเลียบคลองชลประทาน ทำให้ความเจริญเริ่มเข้ามา ประชาชนในพื้นที่สามารถเดินทางไป-กลับจากตัวเมืองได้สะดวกมากขึ้น เริ่มมีโครงการบ้านจัดสรรเข้ามาในพื้นที่ จากการที่ตำบลด้านหลังติดภูเขา มีคลองชลประทานและลำห้วยแม่เหียะไหลผ่าน ทำให้มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่สวยงาม นี่เองทำให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เริ่มมีชาวต่างชาติจากแถบยุโรปเข้ามาอาศัยในตำบลแม่เหียะ และมากขึ้นเรื่อยๆ

ความเจริญของแม่เหียะก้าวกระโดดขึ้นอย่างมากโดยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย จากการเกิดขึ้นของสามโครงการใหญ่ อย่าง ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี สามโครงการนี้ทำให้แม่เหียะกลายเป็นตำบลแหล่งท่องเที่ยวของเชียงใหม่ มีการเข้ามาของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โครงการบ้านจัดสรรตลอดจน ร้านอาหารมากมาย ในขณะที่จำนวนชาวต่างชาติที่พำนักในแม่เหียะก็มากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันคาดว่ามีมากกว่า 1,000 คน เส้นทางไนท์ซาฟารี–ดอยคำ–เลียบคลองชลประทาน กลายเป็นเส้นทางปั่นจักรยาน กลายเป็นเส้นทางปั่นจักรยานที่คนนิยมมากที่สุดของเชียงใหม่

แม้ความเจริญที่เข้ามาจะรวดเร็วมาก แต่สังคมดั้งเดิมของแม่เหียะก็ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้เป็นอย่างดีเยี่ยม การเข้ามาของห้างสรรพสินค้าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดท้องถิ่นแบบที่หลายคนเคยกังวล แต่กลับให้ผลตรงข้าม คนพื้นถิ่น-คนต่างถิ่น-คนต่างชาติ สามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดี และเริ่มมีวีถีชีวิตที่คล้ายกัน เป็นธรรมดาที่จะพบชาวยุโรปเดินตามตลาดนัด หรือตามร้านอาหารรถเข็นริมทาง

ตราสัญลักษณ์

ตำบลแม่เหียะมีตราประจำเทศบาล[3] เป็นรูปวงกลม ขอบบนวงกลมใหญ่มีอักษร "เทศบาลเมืองแม่เหียะ" และขอบล่างมีอักษร "จังหวัดเชียงใหม่" ในตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย

  • วัดพระธาตุดอยคำ แสดงถึงเป็นวัดที่ชาวตำบลแม่เหียะให้ความเคารพนับถือ และเป็นสัญลักษณ์ของตำบลแม่เหียะ
  • กระเบื้องดินขอ แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าของตำบล
  • รัศมีที่เปล่งออกจากวัดพระธาตุดอยคำ แสดงถึงความศรัทธาของชาวตำบลแม่เหียะ ที่ยึดมั่นในศาสนา
  • รวงข้าว แสดงถึงความสมบูรณ์ของการเกษตร การเจริญเติบโตอย่างมีคุณค่า และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของตำบล

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ลาดเชิงเขา ที่เนิน สลับกับพื้นที่ค่อนข้างราบ มีเทือกเขาดอยสุเทพผ่านทางด้านทิศตะวันตกของตำบล ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 300 เมตร โดยพื้นที่ลาดจะลาดจากทิศเหนือไปทิศใต้และจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก[2] แหล่งน้ำที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่เหียะและคลองชลประทาน

อาณาเขต

ตำบลแม่เหียะมีอาณาเขตติดต่อ 5 ตำบลใน 2 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่[2]

การแบ่งเขตการปกครอง

ตำบลแม่เหียะแบ่งออกเป็น 10 หมู่บ้าน[4] ได้แก่

  1. หมู่ 1 บ้านตำหนัก
  2. หมู่ 2 บ้านอุโบสถ
  3. หมู่ 3 บ้านป่าจี้
  4. หมู่ 4 บ้านท่าข้าม
  5. หมู่ 5 บ้านดอนปิน
  6. หมู่ 6 บ้านใหม่สามัคคี
  7. หมู่ 7 บ้านตำหนักใหม่
  8. หมู่ 8 บ้านวรุณนิเวศน์
  9. หมู่ 9 บ้านไทยสมุทร
  10. หมู่ 10 บ้านป่าเป้า ,บ้านแกรนด์วิว

การคมนาคม

ตำบลแม่เหียะมีถนนสายหลัก 3 สาย ได้แก่

ประชากร

ปัจจุบัน ตำบลแม่เหียะมีประชากรทั้งหมด 18,564 คน แบ่งเป็น ชาย 8,505 คน หญิง 10,059 คน[1]

ประชากรตำบลแม่เหียะแบ่งตามปี
2537 2540 2543 2546 2549 2552 2555
9,997 12,859 13,989 15,039 16,021 17,033 18,135
อ้างอิง: [5]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

สถานที่สำคัญ

วัดสิริมังคลาจารย์
หอคำหลวง ในอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

ศาสนสถาน

  • วัดพระธาตุดอยคำ
  • วัดสิริมังคลาจารย์ (วัดตำหนักสวนขวัญ)
  • วัดท่าข้าม
  • วัดอุโบสถ
  • วัดป่าจี้
  • วัดดอนปิน
  • วัดสวนพริก

สถานที่ท่องเที่ยว

ห้างสรรพสินค้า

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น