ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงชนบท ชม.3029
ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ถนนวงแหวนรอบกลาง
ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี.jpg
บริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว26.130 กิโลเมตร (16.236 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2549–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107
รอยต่อตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม กับตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
ปลายทางทิศใต้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121
ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1365
ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว0.876 กิโลเมตร (0.544 ไมล์; 2,870 ฟุต)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121
รอยต่อตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม กับตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ ใกล้สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ปลายทางทิศตะวันออก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107
รอยต่อตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม กับตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี หรือ ถนนวงแหวนรอบกลาง หรือ ทางหลวงชนบท ชม.3029 เป็นทางหลวงสายหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีเส้นทางอ้อมรอบตัวเมืองเชียงใหม่จึงเป็นเสมือนถนนวงแหวนรอบที่ 2 ของเมือง ซึ่งรอบที่ 1 คือ ถนนมหิดล (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1141) และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง–เชียงใหม่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11) ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นถนนคอนกรีตขนาดหกช่องจราจร ความยาวทั้งสิ้น 26.13 กิโลเมตร โดยถนนสายนี้มีการออกแบบให้เป็นทางลอดและทางแยกต่างระดับทั้งหมดเมื่อตัดกับถนนหลักสายอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนทางลอดทั้งสิ้น 7 แห่ง และทางแยกต่างระดับ 1 แห่ง โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแล

ประวัติและการก่อสร้าง[แก้]

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 มอบหมายให้กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย (ในยุคที่มีนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ดำเนินการก่อสร้าง ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โครงการนี้จึงไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ตัวโครงการออกแบบและก่อสร้างตามแนวผังเมืองรวมของจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2532) มีรหัสโครงการ "ฌ3" กำหนดให้เป็นถนน 6 ช่องจราจร ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน หน้าสนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ สิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน สายแม่แตง–หางดง ในเส้นทางมีสะพานข้ามแม่น้ำปิง 2 แห่ง สะพานข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง ทางลอด 7 แห่ง ที่จุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 1001 118 1006 1317 106 และ 108 ทางต่างระดับ 1 แห่ง ที่จุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ซึ่งบริเวณทางต่างระดับได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะชื่อ "สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" นอกจากนี้ยังตั้ง "ศูนย์ควบคุมและบำรุงรักษาถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี" เพื่อควบคุมระบบควมคุมการจราจร ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบบันทึกกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีได้ทำพิธีเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ใช้งบประมาณทั้งสิ้นรวม 10,070 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นงบประมาณเพื่อการเวนคืนที่ดิน 1,700 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 10 ปี

รายชื่อทางแยก[แก้]

ทางแยก จำนวนแยก ตัดกับ ลักษณะทางแยก พิกัด
สนามกีฬา 700 ปี 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 (เลียบคลองชลประทาน) สี่แยก 18°50′23″N 98°57′54″E / 18.83972°N 98.96500°E / 18.83972; 98.96500 (สนามกีฬา 700 ปี)
ศูนย์ราชการร่วมใจ 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (ถนนโชตนา) ทางลอด 18°50′23″N 98°58′26″E / 18.83972°N 98.97389°E / 18.83972; 98.97389 (ศูนย์ราชการร่วมใจ)
รวมโชคมีชัย 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1001 (เชียงใหม่–พร้าว) ทางลอด 18°49′23″N 99°0′43″E / 18.82306°N 99.01194°E / 18.82306; 99.01194 (รวมโชคมีชัย)
แม่คาวสะอาดใส 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 (เชียงใหม่–ดอยสะเก็ด) ทางลอด 18°48′34″N 99°1′35″E / 18.80944°N 99.02639°E / 18.80944; 99.02639 (แม่คาวสะอาดใส)
บวกครกศิวิไล 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1006 (เชียงใหม่–สันกำแพงสายเก่า) ทางลอด 18°46′49″N 99°2′32″E / 18.78028°N 99.04222°E / 18.78028; 99.04222 (บวกครกศิวิไล)
ศรีบัวเงินพัฒนา 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1317 (เชียงใหม่–สันกำแพงสายใหม่) ทางลอด 18°45′48″N 99°2′19″E / 18.76333°N 99.03861°E / 18.76333; 99.03861 (ศรีบัวเงินพัฒนา)
เชียงขางแสนงาม 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ซุปเปอร์ไฮเวย์) ทางต่างระดับ 18°45′10″N 99°1′56″E / 18.75278°N 99.03222°E / 18.75278; 99.03222 (เชียงขางแสนงาม)
4 ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานข้ามทางรถไฟ 18°45′00″N 99°1′29″E / 18.75000°N 99.02472°E / 18.75000; 99.02472 (สะพานข้ามทางรถไฟ)
เวียงกุมกามโบราณสถาน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (เชียงใหม่–ลำพูนสายเก่า) ทางลอด (ไม่มีแยกตัดเหนือทางลอด) 18°44′39″N 99°0′48″E / 18.74417°N 99.01333°E / 18.74417; 99.01333 (เวียงกุมกามโบราณสถาน)
แม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซี หางดง) 4 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่–ฮอด) ทางลอด 18°44′35″N 98°57′34″E / 18.74306°N 98.95944°E / 18.74306; 98.95944 (แม่เหียะสมานสามัคคี)
อุโบสถวารีประทาน 3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 121 (เลียบคลองชลประทาน) สามแยก 18°44′58″N 98°56′28″E / 18.74944°N 98.94111°E / 18.74944; 98.94111 (อุโบสถวารีประทาน)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML