ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 40: บรรทัด 40:


==ประวัติ==
==ประวัติ==

โอรสคนโตของ[[หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์]] และหม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เกิดที่[[วังเพชรบูรณ์]] (ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้า[[เซ็นทรัลเวิลด์]]) เติบโตอยู่ภายใน[[วังสระปทุม]] <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=11043 ชีวิตที่เกินคำบรรยาย]</ref> ศึกษาที่[[โรงเรียนราชินี]]และเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปี 2481 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5444 จนจบชั้นมัธยมในปี 2485 นับรุ่นคือนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รุ่นปี 2485 และศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง]] พร้อมกับเริ่มร้องเพลงหารายได้
โอรสคนโตของ[[หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์]] และหม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เกิดที่[[วังเพชรบูรณ์]] (ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้า[[เซ็นทรัลเวิลด์]]) เติบโตอยู่ภายใน[[วังสระปทุม]] <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=11043 ชีวิตที่เกินคำบรรยาย]</ref> ศึกษาที่[[โรงเรียนราชินี]]และเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปี 2481 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5444 จนจบชั้นมัธยมในปี 2485 นับรุ่นคือนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รุ่นปี 2485 และศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง]] พร้อมกับเริ่มร้องเพลงหารายได้



รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:32, 13 ตุลาคม 2555

ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
ไฟล์:Thanatsri.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด28 พฤษภาคม 2470
(96 ปี 351 วัน)
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
คู่สมรสหม่อมหลวงประอร (จักรพันธุ์) มาลากุล (2495 - 2501)
นางโรจนา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (2505 - ปัจจุบัน)
อาชีพนักชิม, นักจัดรายการโทรทัศน์, นักเขียน, นักร้อง, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2486 - ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2551 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)

หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 [1] - ) นักเขียนและนักจัดรายการโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแนะนำและจัดระดับความอร่อยของร้านอาหาร ในชื่อ "เชลล์ชวนชิม" ทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 [2] โดยดัดแปลงมาจาก "มิชลินไกด์" ของผลิตภัณฑ์มิชลิน [3] และจัดรายการโทรทัศน์ "การบินไทยไขจักรวาล", "ครอบจักรวาล" ติดต่อมานานหลายปี นอกจากนี้ยังเป็นนักร้องเพลงลูกกรุง เพลงที่มีชื่อเสียง เช่น ข้องจิต, สีชัง, ยามรัก, หวงรัก, วนาสวาท, ระฆังทอง

ประวัติ

โอรสคนโตของหม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ และหม่อมเจริญ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา เกิดที่วังเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์) เติบโตอยู่ภายในวังสระปทุม [4] ศึกษาที่โรงเรียนราชินีและเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปี 2481 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5444 จนจบชั้นมัธยมในปี 2485 นับรุ่นคือนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์รุ่นปี 2485 และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมกับเริ่มร้องเพลงหารายได้

งานด้านสื่อสารมวลชน

ช่วงหลังสงครามได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ได้เป็นนักจัดรายการให้กับสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ได้เป็นนักร้องให้กับวงสุนทราภรณ์ และแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม

เคยปรากฏตัวพิเศษในภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว (ฉากร้องเพลง "ยามรัก") เรื่อง กลัวเมีย ของ ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง พ.ศ. 2514 กำกับการแสดงโดย ขุนวิจิตรมาตรา

ปัจจุบัน ยังเขียนบทความประจำคอลัมน์ถนัดศรีชวนชิมให้กับหนังสือมติชนรายสัปดาห์ และไทยรัฐ และจัดรายการโทรทัศน์ร่วมกับบุตรชาย ในปี พ.ศ. 2551

ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นนักเขียนอาวุโส รางวัลนราธิป ล่าสุดในปี พ.ศ. 2551 และได้รับคัดเลือกเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดง [5] รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 รางวัลเกียรติยศคนทีวี

ครอบครัว

มีบุตรกับหม่อมหลวงประอร มาลากุล (หย่าขาดกันและสมรสใหม่กับ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์) 2 คนคือ หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ (หมึกแดง) และ หม่อมหลวงเพิ่มวุทธ์ สวัสดิวัตน์ (จิ๋ว) และมีบุตรกับนางโรจนา สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สวนรัตน์) คือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (อิงค์) [6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 80 ปี หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
  2. ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ผู้สร้างตำนาน "นักชิมอาหาร"
  3. http://www.archives.scene4.com/jul-2009/html/janineyasovantthai0709.html
  4. ชีวิตที่เกินคำบรรยาย
  5. ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ศิลปินครอบจักรวาล มติชนฉลองใหญ่ "คุณชายยอดนักชิม" โดย สกุณา ประยูรศุข (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11311 มติชนรายวัน)
  6. แถมสิน รัตนพันธุ์ตำนาน "ลึก(ไม่)ลับ"' ฉบับ ทระนง ฅนหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน, พ.ศ. 2548. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9785-33-9
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี 2552

แหล่งข้อมูลอื่น