สมชาย กรุสวนสมบัติ
สมชาย กรุสวนสมบัติ | |
---|---|
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2484 จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
นามปากกา | “ซูม”, “จ่าแฉ่ง” |
อาชีพ | นักเขียน, นักข่าว, นักหนังสือพิมพ์ |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน |
สมชาย กรุสวนสมบัติ (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2484 ที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์[1]) คอลัมนิสต์ชื่อดัง เจ้าของนามปากกา “ซูม” และ “จ่าแฉ่ง” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นักจัดรายการวิทยุ สปอร์ต เรดิโอ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 2
ประวัติ
[แก้]การศึกษา
[แก้]จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนบรรพตประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้รับปริญญา เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เข้าศึกษา ปีการศึกษา 2502) และปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) M.A. (econs) จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
การงาน
[แก้]เริ่มงานหนังสือพิมพ์ที่ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย จากนั้น ได้ย้ายมาปักหลักที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จนถึงปัจจุบัน เคยรับราชการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่เศรษฐกรตรี จนเป็นข้าราชการ ระดับ 10 จึงได้ลาออกจากราชการ
นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ และ กรรมการมูลนิธิไทยรัฐ อีกด้วย
ผลงาน
[แก้]- คอลัมน์ “เหะหะพาที” (ทุกวันจันทร์-วันเสาร์) และ “ซูม ซอกแซก สุดสัปดาห์” (ทุกวันอาทิตย์) โดย “ซูม” - หน้า 5 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- คอลัมน์ “กีฬาเฮฮา” กับ “จ่าแฉ่ง” (ทุกวันเสาร์) - หน้า 23 (เซ็กชั่นกีฬา) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- รายการ “สนทนากีฬา” กับ “จ่าแฉ่ง” ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทาง สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ช่อง เอ็นบีที 19 “สยามกีฬาทีวี” กระจายเสียงพร้อมกันทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) เอฟ.เอ็ม. 96.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ “สปอร์ต เรดิโอ” ปัจจุบันทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 - 09.30 น.
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2555 รางวัลกูรูกีฬา สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 6[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""ลิงยักษ์" มีไม่มี? ไม่รู้? บรรพตพิสัย "ดัง" ทั่;ประเทศ". ไทยรัฐ. 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- ↑ สยามกีฬารายวัน, ปีที่ 27 ฉบับที่ 9865, วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗๑, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2484
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบรรพตพิสัย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- นามปากกา
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- นักจัดรายการวิทยุ
- เครือสยามสปอร์ต
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.