แสงชัย สุนทรวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงชัย สุนทรวัฒน์

เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2486
จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต11 เมษายน พ.ศ. 2539 (52 ปี)
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน
สัญชาติไทย
อาชีพ
  • นักข่าว
  • ทนายความ
  • นักเขียน
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2525–2539
มีชื่อเสียงจากผู้อำนวยการและเป็นบุคคลสำคัญขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)
ผลงานเด่นคอลัมนิสต์ "ฟุต ฟิต ฟอ ไฟ"
คู่สมรสวัชรี สุนทรวัฒน์
บุตรอิสรา สุนทรวัฒน์

แสงชัย สุนทรวัฒน์ (12 มิถุนายน พ.ศ. 2486 – 11 เมษายน พ.ศ. 2539) เป็นนักกฎหมาย คอลัมนิสต์ในคอลัมน์ "ฟุต ฟิต ฟอ ไฟ" อดีตหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อดีตผู้อำนวยการองค์การฟอกหนัง และอดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)

ประวัติ[แก้]

แสงชัย สุนทรวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2486[1] ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของ นายประดิษฐ์ กับนางบุญยืน สุนทรวัฒน์ เป็นน้องชายสมชาย สุนทรวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และมีพี่น้องร่วมกันอีก 3 คน รวม 5 คน คือ อำไพ ตรีสุวรรณ, อำนวย สุนทรวัฒน์ แม่ชีในรัฐยูทาห์ สหรัฐ, และอำนาจ สุนทรวัฒน์ อดีตประธานสภาคนไทยในรัฐเท็กซัส สหรัฐ และอดีตประธานสภามวยโลก แสงชัยสมรสกับวัชรี สุนทรวัฒน์ มีบุตรชายคนเดียว คือ อิสรา สุนทรวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แสงชัยเสียชีวิตด้วยการถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน ขณะเดินทางกลับที่พักย่านเมืองทองธานี โดยมีอุบล บุญญชโลธร อดีตผู้รับสัมปทานจัดรายการทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ส่วนภูมิภาค เป็นผู้บงการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 52 ปี[2]

การศึกษา[แก้]

แสงชัย สุนทรวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโทด้านกฎหมายจากสหรัฐ และได้รับ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

แสงชัย ทำงานเป็นนักกฎหมายที่สหรัฐ ในขณะเดียวกัน แสงชัยก็มีกิจการร้านอาหาร จนกระทั่งเริ่มงานในวงการสื่อสารมวลชน ด้วยการเป็นนักเขียนคอลัมนิสต์ให้กับหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ใน พ.ศ. 2525 ขณะที่อาศัยอยู่ที่นั่น ตามลำดับ

แสงชัย เริ่มมีชื่อเสียงจากการเป็นนักเขียนคอลัมนิสต์ คอลัมน์ "ฟุต ฟิต ฟอ ไฟ" ให้กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เมื่อกลับมาที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2526 แสงชัยก็ยังทำงานด้านกฎหมายเช่นเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ชาติเชื้อ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในขณะนั้นได้ชักชวนให้แสงชัยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการข่าว แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 11 เดือน ในปี พ.ศ. 2533 แสงชัยก็ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการองค์การฟอกหนัง รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงกลาโหม และทำงานที่องค์การแห่งนี้ได้เกือบ 4 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2536 แสงชัยเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) และได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการโทรทัศน์ไทย ตราบจนช่วงสุดท้ายของชีวิต[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสืออนุสรณ์ นายแสงชัย สุนทรวัฒน์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแสงชัย สุนทรวัฒน์ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วันที่ 23 เมษายน พุทธศักราช 2539
  2. พลิกแฟ้มคดีดัง : ปิดคดีฆ่า "แสงชัย สุนทรวัฒน์"[ลิงก์เสีย]
  3. "'แสงชัย สุนทรวัฒน์' ชายผู้สร้างความหวังให้กับสื่อไทย - เพจยอดมนุษย์..คนธรรมดา". ไลน์. 22 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗