เตียวหิว
เตียวหิว (จาง ซิว) | |
---|---|
張休 | |
ขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍 หยางอู่เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 241 – ค.ศ. 245 | |
กษัตริย์ | ซุนกวน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ป. ค.ศ. 205[1] |
เสียชีวิต | ป. ค.ศ. 245 (40 ปี)[1] มณฑลเกาจิ๋ว |
บุพการี |
|
ญาติ | จาง เฉิง (พี่ชาย) |
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | ชูซื่อ (叔嗣) |
บรรดาศักดิ์ | โหลวโหว (婁侯) |
เตียวหิว[2] (ป. ค.ศ. 205–245) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง ซิว (จีน: 張休; พินอิน: Zhāng Xiū) ชื่อรอง ชูซื่อ (จีน: 叔嗣; พินอิน: Shūsì) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน[1]
ประวัติ
[แก้]เตียวหิวเป็นบุตรชายคนรองของเตียวเจียว รัฐบุรุษผู้รับใช้ซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊ก หลังเตียวเจียวผู้บิดาเสียชีวิต เตียวหิวได้สืบทอดบรรดาศักดิ์ "โหลวโหว" (婁侯) ของบิดา เพราะจาง เฉิง (張承) ที่เป็นพี่ชายของเตียวหิวมีบรรดาศักดิ์ของตนเองอยู่แล้ว[3]
เมื่อเตียวหิวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เมื่ออายุราว 19 ปี เตียวหิวพร้อมด้วยจูกัดเก๊ก, กู้ ถาน (顧譚)[4] และเฉิน เปี่ยว (陳表) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชบริพารของซุนเต๋ง บุตรชายคนโตและทายาทของซุนกวน[5] พวกเขาสั่งสอนความรู้ในตำราประวัติศาสตร์ฮั่นชูให้กับซุนเต๋ง[6] เตียวหิวไม่เพียงสอนอย่างถูกต้องและเป็นระเบียบ แต่ยังเป็นกันเองและเป็นมิตร ซุนเต๋งจึงถือว่าเตียวหิวเป็นสหายสนิทและมักเชิญเตียวหิวมาร่วมงานเลี้ยงครั้งต่าง ๆ[7]
ต่อมาเตียวหิวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายร้อยผู้ช่วยฝ่ายซ้าย (右弼都尉 โย่วปี้ตูเว่ย์) จักรพรรดิซุนกวนมักออกไปประพาสป่าล่าสัตว์อยู่บ่อยครั้งและเสด็จกลับมาช้าในเวลาเย็น เตียวหิวจึงเขียนฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายซุนกวน แนะนำซุนกวนให้จัดการบริหารเวลาให้ดียิ่งขึ้น ซุนกวนทรงทำตามคำแนะนำของเตียวหิวและยังนำฎีกาที่เตียวหิวเขียนให้เตียวเจียวดูด้วย หลังจากซุนเต๋งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 241 เตียวหิวได้ขึ้นเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นแม่ทัพหน่วยยฺหวี่หลิน (羽林都督 ยฺหวี่หลินตูตู) และมีหน้าที่ตรวจสอบกิจการการทหาร ภายหลังเตียวหิวได้เลื่อนขั้นเป็นขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍 หยางอู่เจียงจฺวิน)[8]
ในช่วงทศวรรษ 240 เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างโอรสสองพระองค์ของซุนกวน คือซุนโฮผู้เป็นรัชทายาท และซุน ป้า (孫霸) ผู้เป็นอ๋องแห่งหลู่ (魯王 หลู่หวาง) เตียวหิวเป็นผู้สนับสนุนของซุนโฮ ในปี ค.ศ. 241 หลังจากเตียวหิวกลับจากยุทธการกับรัฐวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊กที่เชฺว่เปย์ (芍陂; อยู่ทางใต้ของอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ขุนพลง่อก๊กจวนจ๋องและเฉฺวียน จี้ (全寄) บุตรชายกล่าวหาเตียวหิว, กู้ ถาน และกู้ เฉิง (顧承) ในข้อหาสมคบกับข้าราชการชื่อเฉิน สฺวิน (陳恂) รายงานเท็จเกี่ยวกับความดีความชอบในยุทธการที่เชฺว่เปย์ ในปี ค.ศ. 245 เตียวหิวและพี่น้องกู้ถูกเนรเทศไปยังมณฑลเกาจิ๋ว ก่อนหน้านี้เตียวหิวมีเหตุบาดหมางกับซุน หง (孫弘) หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ ซุน หงจึงถือโอกาสนี้กล่าวหาเตียวหิวเพิ่มเติม เป็นผลทำให้เตียวหิวได้รับคำสั่งจากซุนกวนให้ฆ่าตัวตาย เตียวหิวเสียชีวิตขณะอายุ 40 ปี[9][10]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 de Crespigny (2007), p. 1081.
- ↑ ("ครั้นถึงเดือนสี่ (พ.ศ. ๗๗๒) ก็ให้แต่งการพระราชพิธีพร้อมเสร็จทุกประการตามประเพณีแต่ก่อน ตั้งพระองค์เปนใหญ่ในเมืองกังตั๋ง ในวันศุภมงคลฤกษ์ จึงตั้งซุนเต๋งพระราชบุตรเปนฝ่ายหน้า ให้จูกัดเจ๊กบุตรจูกัดกิ๋นเปนเสนาบดีฝ่ายขวา ให้เตียวหิวบุตรเตียวเจียวเปนเสนาบดีฝ่ายซ้าย ช่วยทำนุบำรุงพระราชบุตรตามประเพณี") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 7, 2023.
- ↑ (長子承已自封侯,少子休襲爵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ (譚字子默,弱冠與諸葛恪等為太子四友,從中庶子轉輔正都尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ (是歲,立登為太子。選置師傅,銓簡秀士,以為賓友。於是諸葛恪、張休、顧譚、陳表等以選入。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 221 เมื่อซุนกวนยังคงเป็นเงาอ๋อง (吳王 อู๋หวาง) ในปี ค.ศ. 229 ภายหลังจากซุนกวนขึ้นเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ทั้งสี่คนก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง (黄龙元年,权称尊号,登为皇太子,以恪为左辅,休右弼,谭为辅正,表为翼正都尉,是为四友...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 59.
- ↑ (休字叔嗣,弱冠與諸葛恪、顧譚等俱為太子登僚友,以漢書授登。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ (吳書曰:休進授,指摘文義,分別事物,並有章條。每升堂宴飲,酒酣樂作,登輒降意與同歡樂。休為人解達,登甚愛之,常在左右。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ (從中庶子轉為右弼都尉。權嘗游獵,迨暮乃歸,休上疏諫戒,權大善之,以示於昭。及登卒後,為侍中,拜羽林都督,平三典軍事,遷揚武將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ (為魯王霸友黨所譖,與顧譚、承俱以芍陂論功事,休、承與典軍陳恂通情,詐增其伐,並徙交州。中書令孫弘佞偽險詖,休素所忿,弘因是譖訴,下詔書賜休死,時年四十一。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 52.
- ↑ de Crespigny (2004), p. 19.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- de Crespigny, Rafe (2004). "Chapter 8: Empire in the South". Generals of the South: The foundation and early history of the Three Kingdoms state of Wu (PDF) (internet ed.). สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.[ลิงก์เสีย]
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.