เล่งทอง (ลั่ว ถ่ง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล่งทอง (ลั่ว ถ่ง)
駱統
ผู้บังคับการเขตยี่สู (濡須督)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 223 (223) – ค.ศ. 228 (228)
กษัตริย์ซุนกวน
รองขุนพล (偏將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 222 (222) – ค.ศ. 223 (223)
กษัตริย์ซุนกวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 193[a]
นครอี้อู มณฑลเจ้อเจียง
เสียชีวิตค.ศ. 228 (35 ปี)[1]
คู่สมรสบุตรสาวของซุน ฝู่
บุพการี
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองกงซฺวี่ (公緒)
บรรดาศักดิ์ซินหยางถิงโหฺว
(新陽亭侯)

เล่งทอง[b] (ค.ศ. 193–228)[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ลั่ว ถ่ง (จีนตัวย่อ: 骆统; จีนตัวเต็ม: 駱統; พินอิน: Luò Tǒng) ชื่อรอง กงซฺวี่ (จีนตัวย่อ: 公绪; จีนตัวเต็ม: 公緒; พินอิน: Gōngxù) เป็นขุนนางผู้รับใช้ขุนศึกซุนกวนในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต้นยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ[แก้]

เล่งทองเป็นชาวอำเภออูชาง (烏傷縣 อูชางเซี่ยน) เมืองห้อยเข (會稽 ไคว่จี) ซึ่งอยู่บริเวณนครอี้อู มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน บิดาของเล่งทองคือลั่ว จฺวิ้น (駱俊) ผู้รับราชการในฐานะปลัดราชรัฐเฉิน (陳相 เฉินเซียง) ภายใต้หลิว ฉ่ง (劉寵) ผู้เป็นอ๋องแห่งราชรัฐเฉิน (陳王 เฉินหวาง) ภายหลังลั่ว จฺวิ้นถูกสังหารโดยขุนศึกอ้วนสุด[4] มารดาของเล่งทองแต่งงานใหม่หลังสามีเสียชีวิต และกลายเป็นภรรยาน้อยของขุนนางฮัวหิม เล่งทองซึ่งเวลานั้นอายุ 7 ปีกลับมายังเมืองห้อยเขพร้อมกับเหล่าเพื่อนสนิท ก่อนที่เล่งทองจะจากไป มารดามองส่งเขาทั้งน้ำตา แต่เล่งทองไม่ได้หันกลับมาขณะขึ้นรถม้า เมื่อสารถีผู้ขับรถม้าบอกว่ามารดาของเล่งทองอยู่ด้านหลังเขา เล่งทองตอบว่า "ข้าไม่อยากให้มารดาคิดถึงข้าไปมากกว่านี้ นั่นคือเหตุผลที่ข้าไม่เห็นหลังกลับไปมอง" เล่งทองยังมีชื่อเสียงในเรื่องความกตัญญูต่อแม่เลี้ยงของตน (ภรรยาหลวงของฮัวหิม)[5]

ลั่ว จฺวิ้น[แก้]

คำวิจารณ์[แก้]

ในนิยายสามก๊ก[แก้]

ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊กโดยล่อกวนตง เล่งทองมีบทบาทในตอนที่ 43 ในเหตุการณ์ที่จูกัดเหลียงโต้วาทีกับเหล่าขุนนางบัณฑิตของซุนกวน เล่งทองพร้อมด้วยเตียวอุ๋นต้องการออกไปโต้วาทีกับจูกัดเหลียง แต่ขุนพลอุยกายเข้ามาขัดจังหวะเสียก่อน[c]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ชีวประวัติเล่งในจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) บันทึกว่าเล่งทองเสียชีวิตในรัชศกหฺวางอู่ปีที่ 7 (ค.ศ. 228) ในรัชสมัยของซุนกวน ขณะอายุอายุ 36 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้วปีที่เกิดจึงควรเป็นราว ค.ศ. 193
  2. ชื่อปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 34[2] ตรงกับในนิยายสามก๊กต้นฉบับตอนที่ 38[3]
  3. เหตุการณ์การโต้วาทีนี้มีเล่าในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 38[6] แต่ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ไม่ได้บรรยายความที่เล่งทองและเตียวอุ๋นตั้งใจจะออกไปโต้วาทีกับจูกัดเหลียงด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 (年三十六,黃武七年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  2. (" แลขอดเต๊กชาวเมืองห้อยเข เหยียมจุ้นชาวเมืองเพ้งเสีย ชีจ๋องชาวเมืองไพก๊วน เทียเป๋งชาวเมืองยีหลำ จีห้วนลกเจ๊กกับเตียวอุ๋นนั้นชาวเมืองต๋องง่อ เล่งทองกับงอซันนั้นชาวเมืองห้อยเข เก้าคนนี้ซุนกวนตั้งไว้เปนที่ปรึกษา") "สามก๊ก ตอนที่ ๓๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 6, 2023.
  3. (時有會稽闞澤,字德潤;彭城嚴畯,字曼才;沛縣薛綜,字敬文;汝南程秉,字德樞;吳郡朱桓,字休穆;陸績,字公紀;吳人張溫,字惠恕;會稽駱統,字公緒;烏程吳粲,字孔休:此數人皆至江東。) สามก๊ก ตอนที่ 38.
  4. (駱統字公緒,會稽烏傷人也。父俊,官至陳相,為袁術所害。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  5. (統母改適,為華歆小妻,統時八歲,遂與親客歸會稽。其母送之,拜辭上車,面而不顧,其母泣涕於後。御者曰:「夫人猶在也。」統曰:「不欲增母思,故不顧耳。」事適母甚謹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 57.
  6. "สามก๊ก ตอนที่ ๓๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 6, 2023.