ซุนเหลียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุนเหลียง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ง่อ
ประสูติพ.ศ. 786
สวรรคตพ.ศ. 803 (อายุ 17 ปี)
ทรงราชสมบัติช่วงพ.ศ. 795 - พ.ศ. 801
จักรพรรดิองค์ก่อนหน้าซุนกวน
จักรพรรดิองค์ถัดไปซุนฮิว
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม孫亮
อักษรจีนตัวย่อ孙亮
พระนามรองจื่อหมิง

พระเจ้าซุนเหลียง (จีนตัวย่อ: 孙亮; จีนตัวเต็ม: 孫亮; พินอิน: Sūn Liàng; เวด-ไจลส์: Sun Liang) พระนามรองว่า จื่อหมิง เป็นพระจักรพรรดิองค์ที่สองของรัฐอู๋ตะวันออก(ง่อก๊ก) ในช่วงยุคสามก๊กของจีน พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องและรัชทายาทของพระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนารัฐอู๋ พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า อ๋องแห่งไคว่จี หรือ(ไม่บ่อยนัก) โฮว่กวนโหว (候官侯) ซึ่งเป็นตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์ที่พระองค์ได้รับมาภายหลังจากที่พระองค์ทรงถูกปลดออกจากราชบังลังก์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 801 โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นามว่า ซุนหลิม ซุนฮิว พระเชษฐาต่างมารดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชบังลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งสามารถโค่นล้มอำนาจของซุนหลิมและสังหารลงได้ สองปีหลังจากซุนเหลียงถูกปลดออกจากราชบังลังก์ พระองค์ทรงถูกกล่าวหาอันเป็นเท็จว่า พระองค์ทรงคิดก่อการกบฎ และถูกลดยศฐาบรรดาศักดิ์จากอ๋องมาเป็นโหว ภายหลังจากนั้นพระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม

พระชนมชีพช่วงต้น[แก้]

ซุนเหลียงทรงประสูติใน พ.ศ. 786 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซุนกวน ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนารัฐอู๋ตะวันออกและพระสนมพาน หนึ่งในพระสนมของพระองค์ที่โปรดปราน ในฐานะพระราชโอรสองค์สุดท้องของพระเจ้าซุนกวน พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากพระราชบิดา ซึ่งทรงพระเกษมสำราญมากที่มีพระโอรสในวัยชรา (ทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาตอนที่ซุนเหลียงทรงประสูติ) นอกจากนี้ทรงประสูติในท่ามกลางบรรยากาศภายในวังที่เหล่าข้าราชบริพารได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายได้สนับสนุนสองพระเชษฐาของพระองค์ที่กำลังแก่งแย่งชิงอำนาจ - ซุนโห ผู้เป็นองค์รัชทายาท และซุน ป๋า อ๋องแห่งหลู่ซึ่งเป็นผู้ได้รับตำแหน่งนี้ ในเดือนกันยายนหรือตุลาคม พ.ศ. 793 ด้วยความเอือมระอากับการโจมตีอย่างไม่หยุดหย่อนของซุนป๋าต่อซุนโห พระเจ้าซุนกวนทรงมีพระราชโองการลับให้ซุนป๋าทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม และเนรเทศซุนโหตามคำยุงยงของซุน หลู่ปัง พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ซึ่งได้กล่าวหาอันเป็นเท็จต่อซุนโหและพระสนมหวังผู้เป็นพระมารดา และดังนั้นจึงต้องการเห็นซุนโหถูกปลดออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาท พระองค์ทรงแต่งตั้งซุนเหลียงเป็นองค์รัชทายาทองค์ใหม่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 793 หรือมกราคม พ.ศ. 794 จากนั้นซุน หลู่ปังได้ให้ซุนเหลียงอภิเษกสมรสกับกวนฮุ่ยเจี๋ย หลานสาวของจวนจ๋อง พระสวามีของพระนาง ใน พ.ศ. 795 พระเจ้าซุนกวนทรงแต่งตั้งนางพัวฮูหยิน(พานฟูเหริน) พระมารดาของซุนเหลียงเป็นฮองเฮาหรือสมเด็จพระจักรพรรดินี

ใน พ.ศ. 796 ซุนเหลียงทรงสูญเสียทั้งพระราชบิดาและพระราชมารดาอย่างรวดเร็ว ช่วงต้นปีนั้น พระจักรพรรดินีพานทรงถูกลอบปลงพระชนม์ แต่วิธีการที่พระนางถูกลอบปลงพระชนม์ยังคงเป็นปริศนา ขุนนางของอู๋ตะวันออกอ้างว่า มหาดเล็กรับใช้คนหนึ่งทนความโหดเหี้ยมของพระนางไม่ได้จึงลอบสังหารโดยการรัดพระศอให้ตายขณะนอนหลับสนิท และสร้างสถานการณ์ว่าป่วยตายกระทันหัน แต่มีพิรุธความลับรั่วไหลทำให้มีคนถูกประหารไปเจ็ดแปดคน

ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนรวมทั้งหูซานซิ่ง นักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ้อง ผู้เขียนคำบรรยายเชิงอรรถของหนังสือกระจกส่องการปกครอง(จึซ์จื้อทงเจี้ยน)ที่ประพันธ์โดยซือหม่ากวง ต่างเชื่อว่า พวกขุนนางชั้นสูงของง่อเป็นผู้ลงมือ เพราะกลัวว่าพระนางจะฉวยโอกาสยึดอำนาจเมื่อได้ขึ้นเป็นไทเฮาหรือพระพันปีหลวงภายหลังจากที่พระเจ้าซุนกวนสวรรคต ต่อมาในปีนั้น พระเจ้าซุนกวนทรงสวรรคตแล้ว ดังนั้นพระเจ้าซุนเหลียงทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิองค์ใหม่

รัชสมัย[แก้]

ยุคสมัยการสำเร็จราชการแทนพระองค์ของจูกัดเก๊ก[แก้]

ก่อนที่พระเจ้าซุนกวนจะสวรรคต พระองค์ทรงเลือกจูกัดเก๊กให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในคอยค้ำจุนแก่พระเจ้าซุนเหลียง ตามความเห็นชอบของซุนจุ๋น ผู้ช่วยของพระองค์ที่ทรงไว้วางพระทัย ประชาชนในจักรพรรดิต่างชื่นชมจูกัดเก๊กอย่างมาก เนื่องจากเขาได้เป็นที่รู้จักมาจากความเป็นสำเร็จทางการทหารและการฑูตที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองไป่เยว่และสำหรับความไวพริบอันรวดเร็วของเขา อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยเพียงประการเดียวของพระเจ้าซุนกวนคือ จูกัดเก๊กนั้นยิ่งยโสโอหังและมีความเห็นที่สูงเกินไปเกี่ยวกับความสามารถของเขาเอง - จะกลายเป็นลางหายนะ

ใน พ.ศ. 796 เมื่อพระเจ้าซุนกวนสวรรคต สุมาสู ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐเฉาเว่ย์ได้ยกทัพเข้าโจมตีออกเป็นสามง่ามครั้งใหญ่ต่อรัฐอู๋ตะวันออก อย่างไรก็ตาม กองกำลังจูกัดเก๊กสามารถเอาชนะกองทัพหลักของเฉาเว่ย์ได้ ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก ชื่อเสียงของจูกัดเก๊กได้เป็นที่ยอมรับ ใน พ.ศ. 797 เขาได้ดำเนินแผนการที่มีมาระยะหนึ่งแล้ว - เพื่อรวบรวมชายฉกรรจ์เกือบทั้งหมดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในรัฐอู่ตะวันออกเพื่อเข้าโจมตีรัฐเฉาเว่ย์ครั้งใหญ่ - แม้จะมีการคัดค้านจากข้าราชการหลายคนก็ตาม เขายังได้คอยประสานการโจมตีกับเกียงอุย ขุนพลจากรัฐฉู่ฮั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐอู่ตะวันออก อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของเขากลับกลายเป็นความผิดพลาด ในตอนแรก เขามุ่งเป้าไปที่อำเภอฉิวฉุน(โซ่วชุน) (壽春; ลู่อัน, มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) แต่ระหว่างทาง เขากลับเปลี่ยนใจและเข้าโจมตีอำเภอหับป๋า(เหอเฟ่ย์)แทน แม้ว่าการป้องกันของอำเภอหับป๋าจะแข็งแกร่งและมีจุดประสงค์เพื่อต้านทานการโจมตีครั้งใหญ่ของรัฐอู่ตะวันออก กองกำลังของจูกัดเก๊กแทบหมดสภาพจากการปิดล้อมที่ยาวนานและประสบกับโรคระบาด ซึ่งจูกัดเก๊กดูเพิกเฉย ในที่สุดเขาได้ตัดสินใจถอนกำลังภายหลังกองทัพเสริมของรัฐเฉาเว่ย์มาถึง แต่แทนที่จะกลับไปยังเมืองเจี้ยนเย่(เกี๋ยนเงียบ) ซึ่งเป็นเมืองหลวง(หนานจิง, มณฑลเจียงซูในปัขจจุบัน) เพื่อกล่าวขอโทษสำหรับกลยุทธ์ที่ผิดพลาดของเขาเอง เขากลับออกจากเมืองหลวงไปพักหนึ่งและไม่เคยกล่าวขอโทษแก่ประชาชนสำหรับความสูญเสียครั้งใหญ่ที่พวกเขาได้รับ

ในที่สุดเมื่อจูกัดเก๊กได้กลับมายังเจี้ยนเย่ เขาได้พยายามอย่างยิ่งที่จะกำจัดความขัดแย้งทั้งหมดโดยลงโทษทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับเขา เขาได้วางแผนที่จะโจมตีรัฐเฉาเว่ย์อีกครั้ง โดยไม่สนใจถึงความสูญเสียครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับและความไม่พอใจของพวกเขา ซุนจุ๋นได้ตัดสินใจที่จะสังหารจูกัดเก๊กเสีย เขาได้กราบทูลแก่พระเจ้าซุนเหลียงว่า จูกัดเก๊กคิดวางแผนก่อการกบฎ และเขาได้วางกับดักในงานเลี้ยงสำหรับจูกัดเก็ก (ยุวจักรพรรดิทรงรับรู้แผนการของซุนจุ๋นมากน้อยเพียงใดและไม่ปรากฎชัดเจนว่าพระองค์ทรงเห็นด้วยหรือไม่ นักประวัติศาสตร์แต่เดิมต่างบอกเป็นนัยว่าพระเจ้าซุนเหลียงทรงรับรู้และเห็นชอบด้วย แต่พระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 10 พรรษาในตอนนั้น) ในท่ามกลางงานเลี้ยง มือสังหารที่ซุนจุ๋นมอบหมายให้ลอบสังหารจูกัดเก็กจนสำเร็จ จากนั้นกองกำลังของซุนจุ๋นได้เข้ากวาดล้างครอบครัวตระกูลจูกัดจนหมดสิ้นในที่สุุด

ยุคสมัยการสำเร็จราชการแทนพระองค์ของซุนจุ๋น[แก้]

ภายหลังซุนจุ๋นได้สังหารจูกัดเก๊กแล้ว เขาได้ทำการรวบรวมอำนาจอย่างรวดเร็ว ในตอนแรก เขาได้แบ่งปันอำนาจกับเตงอิ๋นซึ่งมองดูเพียงแค่เปลือกนอก แต่เขากลับควบคุมทางทหาร ในไม่ช้าเขาได้กลายเป็นจอมเผด็จการมากกว่าจูกัดเก็กเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้กล่าวหาอันเป็นเท็จต่อซุนโห อดีตองค์รัชทายาทว่า พระองค์ทรงสมคบคิดกับจูกัดเก็ก และบีบบังคับให้ซุนโหกระทำอัตวินิบาตกรรม การกระทำเยี่ยงเผด็จการของเขานำไปสู่การสมรู้ร่วมคิดระหว่าง Sun Ying (孫英) อู๋โหวและขุนนางฝ่ายทหารนามว่า Huan Lü (桓慮) แต่เขารับรู้แผนการใน พ.ศ. 798 และทั้ง Sun Ying และ Huan Lü ได้ถูกประหารชีวิต

ในน พ.ศ. 799 ท่ามกลางรัฐเฉาเว่ย์ต้องรับมือกับการก่อกบฎของบู๊ขิวเขียม และ Wen Qin กองกำลังอู๋ตะวันออกที่นำโดยซุนจุ๋ได้พยายามเข้าโจมตีบริเวณชายแดนของรัฐเฉาเว่ย์ แต่กลับต้องถอนกำลังออกไปภายหลังจากที่สุมาสูสามารถปราบกบฎได้อย่างรวดเร็ว (Wen Qin และกองทหารของเขาได้ยอมจำนนต่อเขาภายหลังจากที่พวกเขาพ่ายแพ้) ต่อมาในปีนั้น มีการค้นพบแผนการต่อต้านซุนจุ๋นอีกครั้ง และข้าราชการจำนวนมากถูกประหารชีวิตพร้อมกับซุน หลู่ยู พระราชธิดาของพระเจ้าซุนกวนซึ่งถูกใส่ร้ายป้ายสีโดยพระเชษฐภคินีของพระนางอย่างซุน หลู่ปัง

ใน พ.ศ. 800 ซุนจุ๋นได้ทำตามแนะนำของ Wen Qin กำลังวางแผนโจมตีรัฐเฉาเว่ย์ เมื่อเขาล้มป่วยกระทันหัน และมอบหมายให้ซุนหลิม ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของเขาเข้ามารับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตนเอง และถึงแก่อสัญกรรมหลังจากนั้นไม่นาน

ยุคสมัยการสำเร็จราชการแทนพระองค์ของซุนหลิม[แก้]

การถึงแก่อสัญกรรมของซุนจุ๋นทำให้เกิดมรสุมการเมืองครั้งใหญ่ ขุนพลนามว่า ลีกี (Lü Ju) ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำกองทัพหลักต่อกรกับรัฐเฉาเว่ย์ รู้สึกโกรธแค้นที่ซุนจุ๋น จอมเผด็จการได้แต่งตั้งซุนหลิมซึ่งไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองแต่อย่างใด ลิกีได้เรียกร้องให้เตงอิ๋นขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนที่อย่างเปิดเผย และเตงอิ๋นก็ยินยอมที่จะดำเนินการร่วมกับเขา ซุนหลิมได้ทำการตอบโต้ทางทหารและกองกำลังของเขาสามารถเอาชนะเตงอิ๋นและลิกีได้ เตงอิ๋นและตระกูลของเขาถูกประหารชีวิตทั้งหมด ในขณะที่ลิกีได้กระทำอัตวินิบากกรรม ด้วยความรู้สึกของเขาจากการที่สามารถเอาชนะเตงอิ๋นและลิกีได้ ซุนหลิมเริ่มหยิ่งยโสโอหังมากขึ้นเรื่อย ๆ

ใน พ.ศ. 801 เมื่อพระชนมพรรษ 14 พรรษา พระเจ้าซุนเหลียงทรงเริ่มจัดการเรื่องสำคัญของรัฐเป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ทรงจัดตั้งกองกำลังอารักขาส่วนพระองค์ซึ่งประกอบไปด้วยชายฉกรรจ์และข้าราชการที่มีอายุไล่เลี่ยกับเขา โดยกล่าวว่า พระองค์ทรงตั้งใจที่จะเติบโตไปพร้อมกับพวกเขา บางครั้งพระองค์ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของซุนหลิม ซุนหลิมเริ่มค่อนข้างวิตกกังวลต่อยุวจักรพรรดิ

ในปีต่อมานั้น ขุนพลแห่งรัฐเฉาเว่ย์นามว่า จูกัดเอี๋ยน เชื่อว่า สุมาเจียว (น้องชายของสุมาสู) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กำลังคิดจะแย่งชิงราชบังลังก์ จึงประกาศก่อการกบฎและขอความช่วยเหลือจากรัฐอู๋ตะวันออก กองกำลังอู๋ตะวันออกกลุ่มเล็กๆ ที่นำโดย Wen Qin มาถึงอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือเขา แต่ซุนหลิมได้นำกองทัพหลักและเลือกที่จะตั้งค่ายซึ่งห่างจากซิ่วซุนเป็นระยะทางไกล ซึ่งจูกัดเอี๋ยนถูกปิดล้อมโดยสุมาเจียวและไม่ได้ทำอะไรเลย เมื่อซุนหลิมออกคำสั่งให้ขุนพลนามว่า จูอี้ พยายามที่จะปลดปล่อยซิ่วซุนด้วยกองกำลังทหารที่เหนื่อยล้าและหิวโหย จูอี้จึงปฏิเสธคำสั่ง ดังนั้นซุนหลิมได้สั่งประหารชีวิตเขา ทำให้ประชาชนที่ชื่นชมถึงทักษะทางทหารและความซื่อสัตย์ของจูอี้รู้สึกโกรธแค้นอย่างมาก ด้วยการที่ซุนหลิมไม่สามารถทำอะไรได้เลย การก่อจลาจลของจูกัดเอี๋ยนจึงล้มเหลวใน พ.ศ. 802 และทหารของ Wen Qin ได้ตกเป็นเชลยศึกของรัฐเฉาเว่ย์

ถูกปลดราชบังลังก์[แก้]

ซุนหลิมรู้ว่าประชาชนและยุวจักรพรรดิต่างโกรธแค้นตนเอง และเลือกที่จะไม่กลับไปที่เจี้ยนเย่ แต่กลับส่งลูกน้องคนสนิทไปดูแลการป้องกันเมืองหลวงแทน พระเจ้าซุนเหลียงทรงกริ้วและวางแผนร่วมกับซุน หลู่ปัง พระเชษฐภคินีของพระองค์ ขุนพลนามว่า เล่าเสง (劉丞) ผู้เป็นพระสัสสุระของพระองค์ และจวนกี๋ (全紀) ผู้เป็นพระเทวันของพระองค์ เพื่อโค่นล้มอำนาจของซุนหลิม อย่างไรก็ตาม จวนเสียง(Quan Shang) ไม่ได้เก็บเรื่องไว้เป็นความลับจากภรรยาของเขา ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของซุนหลิม และนางจึงไปบอกกับซุนหลิม ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 802 ซุนหลิมได้สั่งจับกุมจวนเสียงและสังหารเล่าเสงอย่างรวดเร็ว จากนั้นได้นำกองกำลังเข้าปิดล้อมพระราชวังและบีบบังคับให้ขุนนางคนอื่น ๆ เห็นด้วยที่จะทำการปลดพระเจ้าซุนเหลียงออกจากราชบังลังก์ โดยป่าวประกาศเท็จต่อประชาชนว่า พระเจ้าซุนเหลียงทรงมีพระจิตวิปลาส และไร้ความสามารถ ซุนเหลียงจึงถูกลดยศฐาบรรดาศักดิ์มาเป็นอ๋อง ทรงมีพระนามว่า "อ๋องแห่งไคว่จี"

ภายหลังจากถูกปลดราชบังลังก์[แก้]

ซุนหลิมได้อัญเชิญซุนฮิว พระอนุชาของซุนเหลียง อ๋องแห่งหลังหยา ขึ้นมาเป็นพระจักรพรรดิองค์ใหม่ หลายเดือนต่อมา พระเจ้าซุนฮิวได้วางแผนที่จะโค่นล้มอำนาจของซุนหลิมจนสามารถจับกุมซุนหลิมได้และถูกประหารชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งที่ถูกเนรเทศของซุนเหลียงไม่ได้ปลอดภัยแต่อย่างใดเลย เนื่องจากพระเจ้าซุนฮิวทรงกลัวอย่างยิ่งว่าจะมีแผนการทวงคืนราชบังลังก์ของซุนเหลียง ในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 804 มีข่าวลือว่าซุนเหลียงจะได้เป็นพระจักรพรรดิอีกครั้ง และบ่าวรับใช้ของซุนเหลียงได้กล่าวหาอันเป็นเท็จว่า พระองค์เป็นผู้ใช้วิชาอาคม พระเจ้าซุนฮิวทรงลดยศฐาบรรดาศักดิ์ของซุนเหลียงมาเป็นโหว ทรงมีพระนามว่า โฮว่กวนโหว และส่งพระองค์ไปยังที่ดินศักดินาตามตำแหน่งขุนนางระดับโหวในโฮว่กวน(ฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยนในปัจจุบัน) ซุนเหลียงได้สิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ พระเจ้าซุนฮิวทรงวางยาพิษแก่พระองค์

ก่อนหน้า ซุนเหลียง ถัดไป
จักรพรรดิหวูต้าตี้
(พระเจ้าซุนกวน)
จักรพรรดิจีน
ง่อก๊ก

(พ.ศ. 795 - พ.ศ. 801)
จักรพรรดิหวูจิ่งตี้
(พระเจ้าซุนฮิว)