เทียเป๋ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียเป๋ง
เกิด?
ถึงแก่กรรม?
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม程秉
ชื่อรองเต๋อฉู่ (德樞)
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

เทียเป๋ง (จีน: 程秉 fl. 190s-200s) หรือ เฉิงปิง ชื่อรอง เต๋อฉู่ (德樞) ขุนนางและนักเขียนของ ง่อก๊ก ระหว่าง ยุคสามก๊ก ของจีน.

ประวัติ[แก้]

เทียเป๋งมาจาก อำเภอหนานตุ้น เมืองยีหลำ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง เซียงเฉิง มณฑลเหอหนาน ในปัจจุบัน. เขาเป็นลูกศิษย์ของบัณฑิต ลัทธิขงจื๊อ Zheng Xuan. เมื่อความวุ่นวายเข้าปกคลุมแผ่นดินจีนจนนำไปสู่ ยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น, เทียเป๋งออกจาก เจียวจิ๋ว ทางตอนใต้ของจีน. ช่วงเวลานี้, เขาเข้าเป็นลูกศิษย์ของบัณฑิตนาม Liu Xi (劉熙) และกลายเป็นผู้รอบรู้ใน สี่หนังสือและวรรณกรรมทั้งห้า. ซื่อเซี่ย, เจ้าแคว้นเจียวจิ๋ว, แต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้าเสมียน (長史).[1]

บางช่วงเวลาในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 220, พระเจ้าซุนกวน จักรพรรดิผู้ก่อตั้ง ง่อก๊ก, ได้ยินชื่อเสียงของเทียเป๋งในฐานะบัณฑิตลัทธิขงจื๊อผู้คงแก่เรียนจึงส่งทูตไปยังเจียวจิ๋วเพื่อชักชวนเทียเป๋งให้มารับราชการกับพระองค์. เทียเป๋งตกลงและได้รับการแต่งตั้งโดยพระเจ้าซุนกวนให้เป็นพระอาจารย์ของรัชทายาท (太子太傅). ใน ค.ศ. 225 พระเจ้าซุนกวนจัดงานอภิเษกระหว่างรัชทายาทของพระองค์ องค์ชาย ซุนเต๋ง กับบุตรสาวของ จิวยี่. เทียเป๋งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น เจ้ากรมพิธีการ (太常) และพิธีอภิเษกได้จัดขึ้นที่ เมืองง่อ (รอบ ๆ ซูโจว เจียงซู ทุกวันนี้).[2]

เทียเป๋งถึงแก่กรรมในตำแหน่ง. โดยไม่มีรายละเอียดเรื่องการถึงแก่กรรมของเขาบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์.[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. (程秉字德樞,汝南南頓人也。逮事鄭玄,後避亂交州,與劉熈考論大義,遂博通五經。士燮命為長史。) Sanguozhi vol. 53.
  2. (權聞其名儒,以禮徵秉,旣到,拜太子太傅。黃武四年,權為太子登娉周瑜女,秉守太常,迎妃於吳,權親幸秉船,深見優禮。旣還,秉從容進說登曰:「婚姻人倫之始,王教之基,是以聖王重之,所以率先衆庶,風化天下,故詩美關雎,以為稱首。願太子尊禮教於閨房,存周南之所詠,則道化隆於上,頌聲作於下矣。」登笑曰:「將順其美,匡救其惡,誠所賴於傅君也。」) Sanguozhi vol. 53.
  3. (病卒官。著周易摘、尚書駮、論語弼,凡三萬餘言。) Sanguozhi vol. 53.