ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลตำรวจ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| leader_title = นายแพทย์ใหญ่
| leader_title = นายแพทย์ใหญ่
| leader_name = [[วิฑูรย์ นิติวรางกูร|พลตำรวจโท วิฑูรย์ นิติวรางกูร]]<ref>http://www.komchadluek.net/news/crime/226355</ref>
| leader_name = [[วิฑูรย์ นิติวรางกูร|พลตำรวจโท วิฑูรย์ นิติวรางกูร]]<ref>http://www.komchadluek.net/news/crime/226355</ref>
| key_people = [[พรชัย สุธีรคุณ|พลตำรวจตรี พรชัย สุธีรคุณ]] <br><small>''รองนายแพทย์ใหญ่ (บริหารการแพทย์) ''</small> <br> [[วีระ จิรวีระ|พลตำรวจตรี วีระ จิรวีระ]] <br><small>''รองนายแพทย์ใหญ่ (บริหาร)''</small> <br>
| key_people = [[โชติกร สีมันตร|พลตำรวจตรี โชติกร สีมันตร]] <br><small>''รองนายแพทย์ใหญ่''</small> <br> [[ทรงชัย สิมะโรจน์|พลตำรวจตรีทรงชัย สิมะโรจน์]] <br><small>''รองนายแพทย์ใหญ่''</small> <br> <ref name ="command2">[http://www1.pgh.go.th/ckfinder/userfiles/images_pghfiles/PDF/data_01/%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%97_%E0%B8%9C%E0%B8%9A%E0%B8%81_%20(%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89).PDF คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 531/2557 เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจรักษาราชการแทน]</ref> <br><small>''รองนายแพทย์ใหญ่''</small> <br> [[ชนินทร์ ชะโยชัยชนะ|พลตำรวจตรี ชนินทร์ ชะโยชัยชนะ]]<ref name ="command2"/><br> <small>''รองนายแพทย์ใหญ่''</small>
[[วารินทร์ วชิรปัญญานุกูล|พลตำรวจตรี วารินทร์ วชิรปัญญานุกูล]]<ref name ="command2"/><br> <small>''รองนายแพทย์ใหญ่''</small>
|parent_organization = [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)|สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
|parent_organization = [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)|สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
|website = [http://www1.pgh.go.th www.policehospital.go.th]
|website = [http://www1.pgh.go.th www.policehospital.go.th]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:00, 20 ตุลาคม 2561

โรงพยาบาลตำรวจ
Police General Hospital
อัตลักษณ์ประจำหน่วยงาน
ชื่อย่อรพ.ตร.
PGH
คําขวัญ"ทำงานเป็นทีม บริการด้วยใจ ได้มาตรฐานสากล บนพื้นฐานธรรมาภิบาล"
"World Class Medical Service for Excellent Health of Police and Civil"
ก่อตั้ง13 ตุลาคม พ.ศ. 2495
(ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาล)
ประเภทโรงพยาบาลของรัฐ
หน่วยงานตำรวจระดับกองบัญชาการ
ที่ตั้ง
นายแพทย์ใหญ่
พลตำรวจโท วิฑูรย์ นิติวรางกูร[1]
บุคลากรหลัก
พลตำรวจตรี พรชัย สุธีรคุณ
รองนายแพทย์ใหญ่ (บริหารการแพทย์)
พลตำรวจตรี วีระ จิรวีระ
รองนายแพทย์ใหญ่ (บริหาร)
พลตำรวจตรี วารินทร์ วชิรปัญญานุกูล[2]
รองนายแพทย์ใหญ่
องค์กรปกครอง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เว็บไซต์www.policehospital.go.th

โรงพยาบาลตำรวจ (Police General Hospital) โรงพยาบาลของรัฐ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่ากับหน่วยงานตำรวจระดับกองบัญชาการ เดิมสังกัดสำนักงานแพทย์ใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 492/1 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ประวัติหน่วยงาน

กิจการแพทย์ตำรวจได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 รัฐบาลได้เปลี่ยนโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัด พลับพลาไชย ซึ่งสร้างปี พ.ศ. 2440 มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ โดยมีชนชาติอังกฤษ นายอีริก เชนต์เจ สองสัน มาเป็นเจ้ากรมกองตระเวนได้ชวนแพทย์ชาวต่างชาติมาช่วยทำการรักษา ประชาชนทั่วไปจึงนิยมมากและเรียกกันว่า "โรงพยาบาลวัดโคก" และเมื่อ พ.ศ. 2458 กรมกองตระเวนและกรมตำรวจภูธรรวมกันเป็น "กรมตำรวจ" โรงพยาบาลวัดโคกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลกลาง และถูกโอนไปสังกัดกองสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจได้จัดตั้งสถานพยาบาลใหม่เรียกว่า กองแพทย์กลาง กรมตำรวจ ตั้งอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง

ในปี พ.ศ. 2477 กองแพทย์กลาง กรมตำรวจ ถูกลดฐานะเป็น แผนกแพทย์กองกลาง กรมตำรวจ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและงบประมาณขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2483 แผนกแพทย์กลางได้ถูกเปลี่ยนชื่อ แผนก 6 (แพทย์) กองปกครอง และเปลี่ยนเป็น แผนก 5 (แพทย์) ในอีก 7 ปีถัดมา

ในปี พ.ศ. 2491 แผนก 5 (แพทย์) ถูกยกฐานะเป็น "กองแพทย์ กรมตำรวจ" ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการจเรตำรวจ มี พันตำรวจโทขุนทวีเวชกิจ (แม้น ทวีเวชกิจ) เป็นหัวหน้า ในระยะนี้เริ่มเป็นปึกแผ่นมากขึ้น แบ่งแผนกเป็นแผนกพยาบาล แผนกเวชภัณฑ์

ในปี พ.ศ. 2495 ได้รับการยกฐานะให้จัดตั้งเป็น โรงพยาบาลตำรวจ ขึ้นตรงกับ กองแพทย์ อย่างเป็นทางการในสมัยของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ โดยให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งในกรมตำรวจในการจัดตั้งโรงพยาบาล มีอาคารชาติตระการโกศล (ซึ่งเป็นราชทินนามของ หลวงชาติตระการโกศล อดีตอธิบดีกรมตำรวจ) เป็นอาคารแห่งแรกของโรงพยาบาลตำรวจ และอาคารโอ้วบุ้นโฮ้ว รองรับผู้ป่วยได้จำนวน 50 เตียง โดยมี พันตำรวจเอก ก้าว ณ ระนอง เป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการ และ พันตำรวจโท แสวง วัจนสวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากองแพทย์ ในเวลาต่อมา โรงพยาบาลตำรวจได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้จัดสร้างอาคารเพิ่มอีกหลายอาคาร เพื่อสามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น

ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2522 กองแพทย์ได้รับการยกฐานะเป็น สำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 งาน ได้แก่

  • กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.)
  • โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.)
  • วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (วพ.)
  • สถาบันนิติเวชวิทยา (นต.)
  • งานโรงพยาบาลดารารัศมี (ดร.)

และในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 โรงพยาบาลตำรวจ ได้รับการยกฐานะให้เป็นหน่วยงานในระดับกองบัญชาการ โดยควบรวมสำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.) เข้าด้วยกัน ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [3] เป็นต้นมา

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลตำรวจ มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 650 เตียง [4] มีหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการ , วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ , สถาบันนิติเวชวิทยา , โรงพยาบาลดารารัศมี , โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า , ศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิและการแพทย์ทางเลือกจอมทอง

อ้างอิง

  1. http://www.komchadluek.net/news/crime/226355
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ command2
  3. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548
  4. ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข