สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง | |
---|---|
![]() ตราสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง | |
อักษรย่อ | สตม. |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 17 กรกฎาคม, พ.ศ. 2470 |
งบประมาณรายปี | 156,058,700 บาท (พ.ศ. 2563)[1] |
โครงสร้างเขตอำนาจศาล | |
หน่วยงานแห่งชาติ | ประเทศไทย |
อำนาจศาลปฎิบัติการ | ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป |
|
สำนักงานใหญ่ | ถนนสวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | ![]() |
บทบาท | ตรวจคนเข้าเมือง[2] การดำเนินคดี[3] สายตรวจ[4] การรักษาความมั่นคง |
เขตอำนาจปกครอง | ● 9 กองบังคับการ ● 1 ศูนย์ |
สิ่งอำนวยความสะดวก | |
รถตำรวจลาดตระเวน | 260 คัน[5] |
เรือลาดตระเวน | 27 ลำ[6] |
เว็บไซต์ | |
www |
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (อังกฤษ: Immigration Bureau) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจบุคคลและพาหนะที่เดินทางเข้าออกมายังภายในประเทศ พร้อมทั้งตรวจสอบคนต่างด้าวที่อาจเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 ขึ้นพร้อมกับหน่วยงาน คือ กรมตรวจคนเข้าเมือง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจโท สมพงษ์ ชิงดวง
ประวัติ[แก้]
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ตามการการตราพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 เนื่องจากเกิดปัญหาการลักลอบของต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย โดยมีชื่อกรมว่า กรมตรวจคนเข้าเมือง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย มีกองบัญชาการหลักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีด่านตรวจคนเข้าเมืองมณฑล ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด และด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอบางแห่งในในภาคตะวันออกและภาคใต้เท่านั้น
เนื่องจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ทำให้กรมตรวจคนเข้าเมืองลดสถานะเป็นกองตำรวจ และย้ายไปสังกัดกรมตำรวจในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2478 มีการเพิ่มด่านตรวจคนเข้าเมืองขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง กรมตำรวจได้ขอใช้สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันประจำประเทศไทย ซึ่งอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลเป็นที่ทำการกองตรวจคนเข้าเมือง และได้ปรับสถานภาพเจ้าหน้าที่เป็นข้าราชการตำรวจแต่งเครื่องแบบพิเศษ
ในปี พ.ศ. 2536 ได้ปรับปรุงโครงสร้างเป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ โดยเรียกว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ประกอบด้วย 4 กองบังคับการ และ 2 ศูนย์ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2552 ได้ปรับปรุงโครงสร้าง เป็น 8 กองบังคับการ และ 1 หน่วยงาน
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
- กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.สตม.)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (บก.ตม.1)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 (บก.ตม.2)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 (บก.ตม.3)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 4 (บก.ตม.4)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 (บก.ตม.5)
- กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 (บก.ตม.6)
- กองบังคับการสืบสวนสอบสวน (บก.สส.สตม)
- ศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง (ศท.ตม.)
ยุทโธปกรณ์[แก้]
ยานพาหนะ[แก้]
รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รถที่นั่งส่วนบุคคล | |||||||
บีเอ็มดับเบิลยู 330อี ไอคอนิก | ![]() |
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก | ![]() |
จัดซื้อมาทั้งหมด 260 คัน[7] | |||
โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส | ![]() |
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก | ![]() |
||||
อีซูซุ ดีแม็ก | ![]() |
รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก | ![]() |
||||
อีซูซุ อีแอลเอฟ | ![]() |
รถบรรทุก | ![]() |
||||
เมอร์เซเดส-เบนซ์ สปินเตอร์ | ![]() |
รถยนต์นั่งขนาดกลาง | ![]() |
||||
เรือ | |||||||
เรือ ขนาด 21 ฟุต | เรือตรวจการณ์ | - | จัดซื้อมาทั้งหมด 8 ลำ[7] | ||||
เรือ ขนาด 36 ฟุต | - | เรือตรวจการณ์ | - | จัดซื้อมาทั้งหมด 19 ลำ[7] |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายละเอียดการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำแนกตามหน่วยงาน
- ↑ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ตรวจเยี่ยมจุดสกัดคัดกรองคลอง 6 พร้อมมอบอุปกรณ์ป้องกัน
- ↑ เตรียมเอาผิด! คนแหกด่านคัดกรอง "โควิด-19" ที่สุวรรณภูมิ
- ↑ อ.เชียงแสน จัดสายตรวจร่วม ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด พร้อมปล่อยแถวตรวจตรา รักษาความสงบเรียบร้อยตามนโยบาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- ↑ หรือฟ้าจะผ่า กรมปทุมวันฯ? หลังเรื่องร้อนปะทุไม่หยุด
- ↑ ยื่น กมธ.ป.ป.ช.สอบ รถ - เรือ ฉาว สตม. พิรุธเข้าข่ายทุจริต
- ↑ 7.0 7.1 7.2 เรือ 'สตม.' 348 ล้านฉาว