สี่คิงส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่คิงส์
กำกับศิริ ศิริจินดา
เขียนบทบทประพันธ์ :
เศก ดุสิต
บทภาพยนตร์ :
ประทีป โกมลภิศร์
อำนวยการสร้างแท้ ประกาศวุฒิสาร
นักแสดงนำอมรา อัศวนนท์
ไชยา สุริยัน
อาคม มกรานนท์
สุทิน บัณฑิตกุล
ประจวบ ฤกษ์ยามดี
จรูญ สินธุเศรษฐ
ประมินทร์ จารุจารีต
วิน วันชัย
ไฉน สัตยพันธ์
สุวิน สว่างรัตน์
ชลิต สุเสวี
ล้อต๊อก
สมพงษ์ พงษ์มิตร
ชูศรี มีสมมนต์
ดอกดิน กัลยามาลย์
กำกับภาพแสวง ดิษยวรรธนะ
ผู้จัดจำหน่ายไทยไตรมิตรภาพยนตร์
วันฉาย28 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
ที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์
ประเทศไทย
ภาษาไทย

สี่คิงส์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2502 จากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต สร้างโดยทีมงานสร้างชุดเดิมของภาพยนตร์ เห่าดง ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงไปก่อนหน้านั้น เริ่มฉายวันแรกที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2502

ภาพยนตร์กำกับโดย ศิริ ศิริจินดา บทภาพยนตร์ อำนวยการสร้างโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร นำแสดงโดย อมรา อัศวนนท์ และไชยา สุริยัน เป็นผลงานแสดงเรื่องที่สองของไชยา เพลงโฆษณาภาพยนตร์ สี่คิงส์ กล่าวว่า "สี่คิงส์ หนังดี สี่คิงส์ ยิ่งใหญ่ เด็ดจริง ถึงใจ ใช่ใคร สี่คิงส์"

สี่คิงส์ เป็นผลงานการสร้างของ ไทยไตรมิตรภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์แนวอาชญากรรม เรื่องนี้เหมือน เห่าดง คือพระเอกและนางเอกเป็นทรชนคนดี ชื่อเรื่องเป็นชื่อของวายร้ายสี่คิงส์ อมรา อัศวนนท์ นางเอกของเรื่องยังคงเป็นทรชนหญิงผู้สวมหน้ากาก เหมือนเรื่องเห่าดง อมรานี้ถือว่าเป็นนางเอกผู้สวมหน้ากากคนแรกของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ เรื่องแรกศิริ ศิริจินดา เป็นคนสร้าง ไชยา ขึ้นมา พอมาเรื่องนี้ แท้ ประกาศวุฒิสารสร้าง คนกำกับก็เลยต้องเป็น ศิริ ศิริจินดา คนเดียวกับที่กำกับเรื่องเห่าดง

ภาพยนตร์ สี่คิงส์ ถูกนำมาสร้างอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2525 นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, พอเจตน์ แก่นเพชร, นาท ภูวนัย, วิยะดา อุมารินทร์, สุพรรณี จิตต์เที่ยง และสังข์ทอง สีใส กำกับการแสดงโดย เชาว์ มีคุณสุต เพลงไตเติ้ลดัดแปลงและร้องใหม่โดย สังข์ทอง สีใส ฉายครั้งแรกเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 ที่โรงภาพยนตร์แอมบาสเดอร์และดาดา แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

เรื่องย่อ[แก้]

กรุงเทพมหานครกำลังวุ่นวายเนื่องจาก ขบวนการสี่คิงส์ คือ องค์กรลับนอกกฎหมายที่คอยรีดไถเรียกค่าคุ้มครองผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ แต่สารวัตรมนตรี (ไชยา สุริยัน) ได้ค่อยติดตามสืบเสาะเพื่อที่จะจับกุมขบวนการนี้ให้ได้ โดยมี คม พยัคฆราช (อาคม มกรานนท์) ที่มีความแค้นอันใหญ่หลวงกับขบวนการสี่คิงส์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]