เทศบาลเมืองสิงหนคร
เทศบาลเมืองสิงหนคร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Singha Nakhon |
ป้อมของพระยาแขก (มรหุ่ม) หรือป้อมหมายเลข 9 | |
คำขวัญ: เมืองน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมั่งคั่ง | |
พิกัด: 7°14′20″N 100°33′02″E / 7.23889°N 100.55056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | สิงหนคร |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ธนกร สังฆโร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 33.9 ตร.กม. (13.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 39,274 คน |
• ความหนาแน่น | 1,158.52 คน/ตร.กม. (3,000.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04901501 |
ที่อยู่ สำนักงาน | ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 90280 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลเมืองสิงหนคร เป็นเทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนเมืองโบราณ เคยเป็นที่ตั้งและเป็นชื่อเมืองสงขลา ในอดีตก่อนที่จะย้ายตัวเมืองสงขลา มาอยู่ด้านตะวันออกของปากอ่าวทะเลสาบสงขลาซึ่งเห็นที่ตั้งของเทศบาลนครสงขลา ในปัจจุบัน โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลียนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสิงหนครมาเป็นเทศบาลเมืองสิงหนคร และมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ประวัติ
[แก้]สมัยโบราณเมืองแห่งนี้เป็นเมืองท่าสำคัญของภาคใต้ ที่มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ และชาวอินเดียจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมวินิจฉัยว่าคำว่า "สงขลา" มาจากชื่อเดิมคือ "สิงหนคร" อ่านเป็น สิง-หะ-นะ-คะ-ระ แต่ชาวไทยภาคใต้และชาวไทยเชื้อสายมลายูพูดเสียงรัวสั้นเร็วมาก จึงออกเสียงเป็นซิงหะราและกลายเป็นสิงหนครในที่สุด เดิมพื้นที่ของเทศบาลเมืองสิงหนครทั้งหมดเป็นพื้นที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองสงขลา ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสงขลาตั้งเป็นกิ่งอำเภอสิงหนคร แล้วได้ยกฐานะเป็นอำเภอสิงหนครในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องถิ่นของตำบลหัวเขา ตำบลสทิงหม้อ ตำบลชิงโคและตำบลทำนบ มีสภาพความเจริญพอสมควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาลซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งสุขาภิบาลสิงหนครขึ้นในอำเภอสิงหนคร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2535[2]
ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติยกฐานะเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นสุขาภิบาลสิงหนคร ตำบลหัวเขา (หมู่ที่ 1–8 รวม 8 หมู่บ้าน), ตำบลสทิงหม้อ (หมู่ที่ 1–6 รวม 6 หมู่บ้าน), ตำบลชิงโค (หมู่ที่ 1–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 5 และ 6), และตำบลทำนบ (บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ 3) รวมเนื้อที่ทั้งหมด 33.9 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่เดิมของสุขาภิบาลสิงหนคร) จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลสิงหนคร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[3] และล่าสุดได้ประกาศเปลียนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสิงหนครมาเป็นเทศบาลเมืองสิงหนคร ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[4]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลเมืองสิงหนครตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมีอาณาเขตที่ตั้ง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อหมู่ที่ 1 และ 3 ของตำบลทำนบ หมู่ที่ 5 และ 6 ของตำบลชิงโค
- ทิศใต้ ติดต่อทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อทะเลสาบสงขลา
สภาพโดยทั่วไป
[แก้]สภาพความเป็นเมืองของเทศบาลเมืองสิงหนครยังมีไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ใช้สอยเพื่อการเกษตรกรรม โดยพื้นที่ที่นับว่าเป็นพื้นที่เมืองมีการกระจุกตัวของสิ่งปลูกสร้าง ผู้คน และกิจกรรมประเภทเมืองมี 4 บริเวณ คือ
- บริเวณศูนย์ราชการของเมืองสิงหนครที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ สิงหนคร สำนักงานเทศบาลเมืองสิงหนคร และสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมตลอดจนบ้านพักข้าราชการ/พนักงาน และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ของบริษัทน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงทางด้านทิศเหนือ
- บริเวณท่าเรือน้ำลึกสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งยื่นลงในทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร ตลอดถึงบริเวณข้างเคียงอันเป็นที่อยู่อาศัยลักษณะชุมชนแออัดขนาดใหญ่ (ชุมชนบ้านเล)
- บริเวณบ้านหัวเขา ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลาตอนล่างสุดของกลุ่มเขาแดง ที่เป็นที่ตั้งเมืองสงขลาในอดีต บริเวณนี้มีสภาพอาคารบ้านเรือนกระจุกตัวอย่างหนาแน่นและแออัดเช่นเดียวกับท่าเรือน้ำลึกสงขลา
- บริเวณบ้านใหม่ริมทะเลสาบสงขลาด้านใน ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของเขาเขียวมีลักษณะเป็นชุมชนกลุ่มใหญ่แต่ไม่มีความหนาแน่นและการกระจุกตัวแออัดแบบบ้านหัวเขาและท่าเรือน้ำลึกสงขลา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสิงหนคร". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสิงหนคร อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (51 ง): 15–16. 26 เมษายน 2536.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสิงหนคร อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลเมืองสิงหนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (18 ง): 1. 3 กุมภาพันธ์ 2549.