ตำบลเชิงแส
ตำบลเชิงแส | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Choeng Sae |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | กระแสสินธุ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 2,746 คน |
• ความหนาแน่น | 97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 90270 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 900803 |
เทศบาลตำบลเชิงแส | |
---|---|
พิกัด: 7°37′54.4″N 100°19′48.2″E / 7.631778°N 100.330056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | กระแสสินธุ์ |
จัดตั้ง | • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลเชิงแส) • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.เชิงแส) • 27 ตุลาคม 2552 (ทต.เชิงแส) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 28.3 ตร.กม. (10.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,746 คน |
• ความหนาแน่น | 97.03 คน/ตร.กม. (251.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05900802 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ที่ 3 ถนนเกาะใหญ่-ระโนด ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา 90270 |
เว็บไซต์ | www |
เชิงแส เป็นตำบลในอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรกระแสสินธุ์ ที่ทำการไปรษณีย์กระแสสินธุ์ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ เป็น 1 ใน 2 ตำบลของอำเภอที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลเชิงแส มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโรง
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลวัดสน ตำบลบ่อตรุ (อำเภอระโนด) และตำบลชุมพล (อำเภอสทิงพระ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคลองรี (อำเภอสทิงพระ) และตำบลเกาะหมาก (อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกระแสสินธุ์ และตำบลลำปำ (อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง)
ประวัติ
[แก้]ตำบลเชิงแสเดิมเป็นตำบลที่ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2460 ได้มีผู้ลอบวางเพลิงที่ว่าการอำเภอปละท่า จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปละท่าเสียเป็น "อำเภอจะทิ้งพระ"[3] พร้อมกับยุบเมืองระโนด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอระโนด และให้ขึ้นกับอำเภอจะทิ้งพระ และปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยโอนตำบลเชิงแส ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลบ่อตรุ และตำบลวัดสน ของอำเภอจะทิ้งพระ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกิ่งอำเภอระโนด[4] ก่อนที่ปี พ.ศ. 2466 กรมหลวงลพบุรีราเมศร อุปราชปักษ์ใต้เห็นว่าการคมนาคมไม่สะดวก จึงยุบอำเภอจะทิ้งพระ เป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเมืองสงขลา ส่วนกิ่งอำเภอระโนดเดิมที่ขึ้นอำเภอจะทิ้งพระ ให้ยกฐานะเป็น อำเภอระโนด[5] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอระโนดแทนอำเภอจะทิ้งพระ
ในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่หมู่บ้านด้านทิศเหนือของตำบลเชิงแส ได้แก่ หมู่ 5 บ้านโคกพระ, หมู่ 6 บ้านกาหรำ, หมู่ 7 บ้านโคกแห้ว และหมู่ 8 บ้านโรง รวม 4 หมู่บ้าน ตั้งขึ้นเป็น ตำบลโรง[6] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2521 ทางตำบลเกาะใหญ่ได้ขอแยกการปกครองออกจากอำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง โดยมีการรวมพื้นที่ตำบลข้างเคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชิงแสและตำบลโรง เนื่องจากการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่มีระยะทางเพียง 1.9 กิโลเมตร ซึ่งอำเภอสังกัดเดิมต้องใช้ระยะทาง 18 กิโลเมตร จึงรวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์[7] และยกฐานะเป็น อำเภอกระแสสินธุ์ ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[8] ตำบลเชิงแสจึงย้ายมาขึ้นกับทางอำเภอและเป็นตำบลลำดับที่ 3 ของทางอำเภอกระแสสินธุ์
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลเชิงแสแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านเขาใน | (Ban Khao Nai) | ||||
หมู่ 2 | บ้านรัดปูน | (Ban Rat Pun) | ||||
หมู่ 3 | บ้านเชิงแส | (Ban Choeng Sae) | ||||
หมู่ 4 | บ้านเชิงแส | (Ban Choeng Sae) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลเชิงแสทั้งตำบลอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเชิงแส เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเชิงแส ในปี พ.ศ. 2517[9] ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลใน พ.ศ. 2539[10] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2552[11]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลเชิงแสประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,746 คน แบ่งเป็นชาย 1,372 คน หญิง 1,374 คน (เดือนธันวาคม 2566)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอกระแสสินธุ์
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[12] | พ.ศ. 2565[13] | พ.ศ. 2564[14] | พ.ศ. 2563[15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เชิงแส (หมู่ 3) | 900 | 909 | 929 | 933 | 924 | 935 | 924 |
เชิงแส (หมู่ 4) | 796 | 806 | 812 | 814 | 832 | 825 | 840 |
รัดปูน | 659 | 665 | 669 | 684 | 694 | 694 | 687 |
เขาใน | 391 | 390 | 396 | 394 | 400 | 405 | 410 |
รวม | 2,746 | 2,770 | 2,806 | 2,825 | 2,850 | 2,859 | 2,861 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 30 ง): 186–201. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2541
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 464–480. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464
- ↑ "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (21 ง): 519. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลเชิงแส". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน
- ↑ 12.0 12.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.