ตำบลเกาะแต้ว

พิกัด: 7°06′28″N 100°38′59″E / 7.107727°N 100.649722°E / 7.107727; 100.649722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเกาะแต้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ko Taeo
ตำบลเกาะแต้วตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา
ตำบลเกาะแต้ว
ตำบลเกาะแต้ว
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลเกาะแต้ว
พิกัด: 7°06′28″N 100°38′59″E / 7.107727°N 100.649722°E / 7.107727; 100.649722
ประเทศไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอเมืองสงขลา
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด28.38 ตร.กม. (10.96 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2561)[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด11,360 คน
 • ความหนาแน่น400.28 คน/ตร.กม. (1,036.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90000
รหัสภูมิศาสตร์900103
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลเกาะแต้ว
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอเมืองสงขลา
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีรอเซ็ง ไหรเจริญ
รหัส อปท.05900104
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลตำบลเกาะแต้ว หมู่ที่ 10 ถ.บ้านด่าน – บ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์0 7426 0616
โทรสาร0 7459 2114
เว็บไซต์www.kt.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เกาะแต้ว เป็นตำบลหนึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พื้นที่ทั้งตำบลอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลเกาะแต้ว

ประวัติ[แก้]

สมัยก่อน ในพื้นที่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะทรงพุ่มใหญ่ ร่มรื่น ชาวบ้านเรียกว่า ต้นแต้ว ซึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายเป็นเกาะ และได้มีชาวอิสลาม จากต่างอำเภอ เช่น สิงหนคร จะนะ สะเดา ได้เข้ามาบุกเบิกตั้งที่อยู่อาศัย (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 6 บ้านเกาะแต้ว) ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผัก สวนยาง และเลี้ยงสัตว์ ต่อมามีประชากรอพยพเข้ามาอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ทั่วทั้งตำบล และได้ตั้งชื่อถิ่นที่อยู่ว่า “บ้านเกาะแต้ว” และพัฒนามาเป็นตำบลเกาะแต้ว ในปัจจุบันนี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแต้วจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 โดยได้รับประกาศให้ยกฐานะจากสภาตำบลมาเป็น อบต. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 เป็นรุ่นที่ 2 ของการยกฐานะจากสภาตำบลเป็น อบต. จำนวน 2,143 แห่งทั่วประเทศในขณะนั้น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 เป็น อบต. ชั้น 5 ในขณะที่ยกฐานะเป็น อบต. ขนาดเล็ก และในปัจจุบันเป็น อบต.ขนาดกลาง ตามมติการประชุม ก.อบต.จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]