ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
David Supervid (คุย | ส่วนร่วม)
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{แม่แบบ:กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
{{แม่แบบ:กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
| ชื่อ = คณะวิศวกรรมศาสตร์ <br> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
| ชื่อ = คณะวิศวกรรมศาสตร์ <br> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
| ภาพ = [[ไฟล์:Logo EN.png|150px]]
| ภาพ = [[File:Faculty of Engineering, Kasetsart University, Official Sublogo (English).svg|200px]]
| ชื่อไทย = คณะวิศวกรรมศาสตร์<br> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
| ชื่อไทย = คณะวิศวกรรมศาสตร์<br> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Engineering <br>Kasetsart University
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Engineering <br>Kasetsart University

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:39, 18 กรกฎาคม 2563

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Engineering
Kasetsart University
ไฟล์:Faculty of Engineering, Kasetsart University, Official Sublogo (English).svg
สถาปนาพ.ศ. 2481 - โรงเรียนช่างชลประทาน กรมชลประทาน
พ.ศ. 2497 - คณะวิศวกรรมชลประทาน ในเครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2509 - คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณบดีรศ.ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล
ที่อยู่
วารสารวิศวกรรมสาร มก.
(Kasetsart Engineering Journal)
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.eng.ku.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก

ประวัติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถือกำเนิดมาจาก โรงเรียนช่างชลประทาน สังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยระยะแรกเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน และมีประวัติความเป็นมายาวนานก่อนจะได้รับการจัดตั้งให้เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเป็นทางการและได้มีการพัฒนาการต่าง ๆ เรื่อยมา ดังนี้[1]

  • พ.ศ. 2481 หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ได้จัดตั้งโรงเรียนช่างชลประทาน สังกัดกรมชลประทาน (สามเสน) กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน (2 ปี) เพื่อผลิตช่างชลประทานให้เป็นกำลังสำคัญของกรมชลประทาน สำหรับการสำรวจ การออกแบบ การก่อสร้าง การบริหารงานก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงการชลประทาน
  • พ.ศ. 2494 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการชลประทาน” สมทบเข้าเป็นเครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2497 จัดตั้ง “คณะวิศวกรรมชลประทาน” ในเครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2498 ย้ายคณะฯ จากกรมชลประทาน สามเสน ไปที่กรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  • พ.ศ. 2509 คณะวิศวกรรมชลประทานได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "คณะวิศวกรรมศาสตร์" สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2509
  • พ.ศ. 2513 ย้ายคณะฯ จากกรมชลประทาน ปากเกร็ด มาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • พ.ศ. 2535 รับวิทยาลัยการชลประทานเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หน่วยงาน

ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน

หลักสูตรปริญญาตรีร่วมนานาชาติ 2 ปริญญา

  • สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) และบริหารธุรกิจ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบฝังตัว
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการบริหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ทำเนียบคณบดี

  • ทำเนียบผู้บริหารนับตั้งแต่เป็นโรงเรียนช่างชลประทาน กรมชลประทาน จนมาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปัจจุบัน
ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายพระนามและรายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. หม่อมหลวงชูชาติ กำภู พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486
2. นายเฉลียว ทองอุทัย พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2493
3. ขุนยันตรวิทย์ชลาทร พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2494
4. หม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรร กมลาสน์ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2496
5. หม่อมหลวงถาวร สนิทวงศ์ พ.ศ. 2496 - พ.ศ. 2503
6. นายสันทิศ วีรเธียร พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2517
7. นายจิตต์ พิชญ์กุล พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521
8. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม สุวชิรัตน์ พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2525 (ครั้งที่ 1)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย พานิชพัฒน์ พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
10. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม สุวชิรัตน์ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2)
11. รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2545
12. อาจารย์ นนทวัฒน์ จันทร์เจริญ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2553
13. รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557
14. รองศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้าพระนามและนามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้าพระนามและนามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อันดับและมาตรฐาน

QS ranking by subject & ARWU Rankings by Subject

ARWU Global Ranking of Academic Subjects
กลุ่ม Engineering
สาขา Chemical Engineering
ปี 2019[2] 2018[3]
อันดับ 301-400 301-400
QS World University Rankings by Subject
กลุ่ม Engineering & Technology
สาขา Engineering Mechanical, Aeronautical & Manufacturing
ปี 2020[4] 2019[5]
อันดับ 451-500 451-500
สาขา Engineering Chemical
ปี 2020[6] 2019
อันดับ 351-400 -

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [7]พบว่าในกลุ่ม Engineering สาขา Chemical Engineering ซึ่งเป็นสาขาของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก ได้แก่ ปี 2018 อันดับที่ 301-400 และปี 2019 อันดับที่ 301-400

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา QS World University Rankings by Subject ในปี 2019[8] พบว่าในกลุ่ม Engineering & Technology สาขา Engineering Mechanical, Aeronautical & Manufacturing ซึ่งเป็นสาขาของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก อันดับที่ 451-500

ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา QS World University Rankings by Subject ในปี 2020[9] พบว่าในกลุ่ม Engineering & Technology สาขา Engineering Mechanical, Aeronautical & Manufacturing ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก อันดับที่ 451-500 และในสาขา Engineering Chemical ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก อันดับที่ 351-400

ผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยแยกตามสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 ในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ พบว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน่วยงานได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก) และระดับ 4 (ดี) จำนวน 2 หน่วยงาน ใน 2 สาขา[10] คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) โดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) โดยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต่อมาในการประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554 ในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ พบว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน่วยงานได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 4 (ดี) จำนวน 1 หน่วยงาน[11] คือ สาขาวิศวกรรมระบบการผลิต โดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศิษย์เก่าดีเด่น

ผลงาน/รางวัล

ไฟล์:Imaginecupku.jpg
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์โลก

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานทั้งภายในประเทศและระดับโลกโดยคณาจารย์และนิสิตที่ไปแข่งขันมา โดยผลงานเด่นๆระดับโลก ได้แก่

  • ชนะเลิศ รายการ World Imagine Cup 2 สมัย (ปี 2007, 2010)
  • ชนะเลิศ รายการ World Robocup ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล 4 สมัย (ปี 2009, 2010, 2011, 2012)
  • กวาดรางวัลในรายการ World Cup of Computer Implemented Inventions
  • ชนะเลิศ รายการ Microsoft Office Specialist Olympic 2008

อ้างอิง

  1. ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก.,
  2. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2019 - Chemical Engineering เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  3. ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2018 - Chemical Engineering เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  4. QS by Subject QS World University Rankings by Subject 2020 - Engineering Mechanical, Aeronautical & Manufacturing เรียกดูวันที่ 2020-03-05
  5. QS by Subject QS World University Rankings by Subject 2019 - Engineering Mechanical, Aeronautical & Manufacturing เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  6. QS by Subject QS World University Rankings by Subject 2020 - Engineering Chemical เรียกดูวันที่ 2020-03-05
  7. ARWU Global Ranking of Academic Subject เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  8. QS by Subject QS World University Rankings by Subject 2019 เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  9. QS by Subject QS World University Rankings by Subject 2020 เรียกดูวันที่ 2020-03-05
  10. สกว. การประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 เรียกดูวันที่ 2020-02-03
  11. สกว. การประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554 เรียกดูวันที่ 2020-02-03

แหล่งข้อมูลอื่น