คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Medicine, Kasetsart University | |
![]() | |
คติพจน์ | สถาบันการแพทย์ชั้นนำด้านเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม สร้างสรรค์ศาสตร์การแพทย์แห่งแผ่นดินสู่สากล |
---|---|
สถาปนา | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 |
คณบดี | รองศาสตราจารย์ พลเอก นายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ (รักษาการแทน) [1] |
ที่อยู่ | 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
สี | ███ สีเขียวใบนนทรี |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี |
เว็บไซต์ | medicine.ku.ac.th Facebook |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิจัย เพื่อการผลิตแพทย์ และให้บริการทางการแพทย์ แก่ประชาชนในบริบทของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation)
ประวัติ[แก้]
ปี พ.ศ. 2509 สมัยหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนคับแคบ ไม่สามารถจะได้ จึงได้ดำริที่จะหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่มีดินดีเหมาะต่อการเกษตรและมีโครงการชลประทานผ่านเตรียมไว้ ก่อนราคาที่ดินจะมีราคาสูงขึ้น[2] ซึ่งต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 รัฐบาลในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดตั้งวิทยาเขตกำแพงแสน[2] โดยมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น ได้มีนโยบายที่จะนำอาคารเรียนที่มีอยู่ในวิทยาเขตบางเขนภายหลังที่ได้ย้ายคณะวิชาด้านการเกษตรไปเปิดที่วิทยาเขตกำแพงแสนแล้วนำมาใช้เป็นอาคารเรียนด้านการแพทย์ แต่ได้มีคัดต้านจากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นโยบายนี้จึงได้ยุติไป ทำได้เพียงนำหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากคณะเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาศึกษาเกษตร คณะศึกษาศาสตร์ และบางภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือภาควิชาวิศวกรรมอาหาร และวิศวกรรมเกษตรไปดำเนิน ณ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงทำให้นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในช่วงนี้ ต้องยุติไป
ปี พ.ศ. 2539 สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้ทำโครงการนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยภายหลังได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเจ้าของเรื่อง โดยหนึ่งในหลักสูตรที่จะเปิดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตสุพรรณบุรีนั้นคือหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลังจากที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยวางแผนเปิดรับนิสิตตั้งแต่ พ.ศ. 2541 โดยมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา และสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว และปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ซึ่งต่อมาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้ย้ายไปจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาที่วิทยาเขตกำแพงแสน และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ภายหลังได้ยุติการดำเนินการและจึงไปดำเนินการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ณ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร เนื่องจากประสบปัญหาด้านงบประมาณ ไม่ได้รับงานประมาณสำหรับการเปิดสอนหลักสูตรด้านการแพทย์ ณ วิทยาเขตสุพรรณบุรีจึงไม่สามารถเปิดสอนได้
ปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลในขณะนั้นได้มีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มในโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน โดยมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อลดการขาดแคลนของแพทย์ในประเทศไทย โดยมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, มหาวิทยาลัยบูรพา และมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมอยู่ด้วย ปี พ.ศ. 2548 สมัยรองศาสตราจารย์วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ อธิการบดีในขณะนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) ปี 2536 ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[3] แต่เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเป็นอุปสรรค์ในการจัดตั้งหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 3/2552 ได้เห็นชอบให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 และได้มีประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 [4]
ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีประกาศโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งโครงการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร (มก.ฉกส.) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทย์ศาสตรบัญฑิต ตามคำสั่ง เรือง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557
ปี พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 12 /2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีมติในหลักการทบทวนการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ หรือวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่การรับใช้สังคมและประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายขีดความสามารถโดยให้การศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการด้านการสาธารณสุขและการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืนบนฐานความเข้มแข็งทางวิชาการและองค์ความรู้ที่สั่งสมมานานกว่า 80 ปี
ต่อมา ปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน้าที่ดำเนินการทั้งมิติด้านวิชาการและด้านบริหารแก่มหาวิทยาลัย เพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่อธิการบดีมอบหมาย ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และอนุมัติจัดตั้ง "โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์" เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 [5]
คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 10/2565 วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้เห็นชอบการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรับโอนสถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามบันทึก อว 6501.0201/10721 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 แจ้งสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [6]
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีมติอนุมัติ จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน วิจัย เพื่อการผลิตแพทย์ และให้บริการทางการแพทย์ แก่ประชาชนในบริบทของ เวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation)[7] และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 [8]
หน่วยงาน[แก้]
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะประกอบไปด้วยหน่วยงาน ภาควิชา ประกอบด้วย 8 ภาควิชา ชั้นปรีคลินิก และ 17 ภาควิชา ชั้นคลินิก รวมทั้งหมด 25 ภาควิชา [9] โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ภาควิชาชั้นปรีคลินิก
|
ภาควิชาชั้นคลินิก
|
ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ 4 หน่วยงาน
- สำนักงานวิจัยทางการแพทย์
- งานระบาดวิทยาและสถิติ
- งานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- ศูนย์วิจัยคลินิก
ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ 6 งาน
- งานแพทย์ศาสตร์ศึกษา
- งานประกันคุณภาพ
- งานประเมินผล
- งานวิทยบริการ
- งานเวชนิทัศน์
- งานห้องปฏิบัติการ
ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ 3 งาน
- งานโปรแกรมการบริหารจัดการ
- งานโปรแกรมการเรียนการสอน
- งานระบบสารสนเทศ
สำนักงานเลขานุการ 4 งาน
- งานบริหารและธุรการ
- งานทรัพยากรบุคคล
- งานคลังและพัสดุ
- งานอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
หลักสูตร[แก้]
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต | |
---|---|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต | ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง |
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก | หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก |
รายนามรักษาการคณบดีและคณบดีคณะแพทยศาสตร์[แก้]
รายนามรักษาการคณบดีและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่งทางวิชาการ | การศึกษาสูงสุด | ชื่อตำแหน่งบริหาร | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
1 | พลเอกนายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ | รองศาสตราจารย์ | รักษาการคณบดี | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน | ||
2 |
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สถาบันร่วมผลิตแพทย์ และความร่วมมือ[แก้]
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ระหว่างเสนอหลักสูตรให้แพทยสภาอนุมัติหลักสูตร และวางแผนเปิดรับนิสิตในปีการศึกษา พ.ศ. 2567 [12] โดยมีความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) ในการเป็นสถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง [13] และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระครบรอบ 80 ปี พร้อมกันนี้ได้เตรียมการผลิตแพทย์ร่วมกับศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา 2 ศูนย์ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
โรงพยาบาลหลัก | ที่ตั้ง | สังกัด |
---|---|---|
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | เขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ | ที่ตั้ง | สังกัด |
ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร | อำเภอเมืองสกลนคร, จังหวัดสกลนคร | กระทรวงสาธารณสุข |
ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช | อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, จังหวัดสุพรรณบุรี | กระทรวงสาธารณสุข |
สถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง | ที่ตั้ง | สังกัด |
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า | เขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร | กรมแพทย์ทหารบก |
สถาบันวิชาการในความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยน | ที่ตั้ง | |
คณะและบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยฮกไกโด (Faculty and Graduate School of Health Sciences, Hokkaido University) | ซัปโปโระ | ![]() |
สถาบันนวัตกรรมสังคมแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยนาโงยะ (Institute of Innovation for Future Society, Nagoya University) | นาโงยะ | ![]() |
Kyoto University | เกียวโต | ![]() |
Newcastle University | นิวคาสเซิลอะพอนไทน์, ไทน์และเวียร์ | ![]() |
The University of Edinburgh | เอดินบะระ, ประเทศสกอตแลนด์ | ![]() |
University of Helsinki | เฮลซิงกิ | ![]() |
University of Pisa | ปิซา | ![]() |
University of Wisconsin-Madison | แมดิสัน, ![]() |
![]() |
James Cook University | เมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนส์แลนด์ | ![]() |
University of New South Wales | นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ | ![]() |
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[แก้]
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการประชุมคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้พิจารณาปรับสถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง [14]
โครงการอุทยานการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ[แก้]
ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.2565 อนุมัติจัดตั้งโครงการอุทยานการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [15] โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบข้อเสนอการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับโครงการอุทยานการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงเงิน 8,863.93 ล้านบาท [16]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 2703/2565, แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ,8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
- ↑ 2.0 2.1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติมหาวิทยาลัย เรียกดูวันที่ 2013-02-24
- ↑ (20%20%E0%B9%80%E0%B8%A1.%E0%B8%A2.%2048).pdf ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ให้ยุบสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ สรุปนโยบายและมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 10/2565 วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2565 เรียกดูวันที่ 2022-12-16
- ↑ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 เล่มที่ 139 ตอนที่ 305 ง พิเศษ หน้าท28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565
- ↑ การจัดตั้งคณะแพทย์และโรงพยาบาลเกษตรศาสตร์การจัดตั้งคณะแพทย์และโรงพยาบาลเกษตรศาสตร์ เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ ฐานข้อมูลหลักสูตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์[ลิงก์เสีย] เรียกดูวันที่ 2022-11-11
- ↑ คณะ/วิทยาลัย วิทยาเขตบางเขนที่เปิดสอน เรียกดูวันที่ 2022-11-10
- ↑ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไฟเขียวตั้งคณะแพทย์ รับนิสิตรุ่นแรกปี 67เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ ข่าวดี! หลักสูตรใหม่ "แพทยศาสตร์" ม.เกษตรศาสตร์ อยู่ในช่วงรอแพทยสภารับรอง คาดรับรุ่นแรกปี 67 เรียกดูวันที่ 2022-11-08
- ↑ การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2565
- ↑ สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อวันที่ 2022-12-15
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ-ธุรกิจ ประจำวันที่ 24 มกราคม 2566 ครม.จัดเต็มทิ้งทวนงบกว่า 3 แสนล้านบาท หลังสารพัดหน่วยงานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมทั้งขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีโครงการใหญ่วงเงินเกินพันล้านบาทเข้ามาขอความเห็นชอบ เข้าถึงเมื่อ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566