คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Environment, Kasetsart University |
---|---|
ที่อยู่ | 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
วันก่อตั้ง | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม 11 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - คณะสิ่งแวดล้อม |
คณบดี | ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ |
สีประจำคณะ | สีเขียวอมทอง |
สัญลักษณ์ | ลูกโลกรวมกับใบไม้ |
เพลง | มาร์ชคณะสิ่งแวดล้อม |
เว็บไซต์ | www.envi.ku.ac.th |
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการปรับปรุงหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวม วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม และ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ เข้าเป็น คณะสิ่งแวดล้อม[1]
ประวัติ[แก้]
สมัยวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม[แก้]
เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภายใต้การดูแลของภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย ต่อมา ได้มีการประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรทางด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น หลังจากนั้น จึงมีการเสนอหลักสูตรต่อบัณฑิตวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มรับนิสิตปริญญาโทรุ่นแรก ในปี พ.ศ. 2520
ปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเสนอ "โครงการจัดตั้งคณะสิ่งแวดล้อม" ขึ้น และได้เปลี่ยนเป็น "วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม" โดยได้รับการอนุมัติจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้วันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันสถาปนาวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม"
สมัยภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม[แก้]
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พุทธศักราช 2538 หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีการจัดตั้ง “ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม” ขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พุทธศักราช 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2539 และเริ่มรับนิสิตระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีเดียวกัน [2]
ประวัติคณะสิ่งแวดล้อม[แก้]
วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ปรับปรุงหน่วยงานโดยโอนทรัพย์สินบุคลากรและนิสิตจากวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม กับภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ไปสังกัดคณะสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่
หน่วยงาน[แก้]
ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะสิ่งแวดล้อม ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร[แก้]
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน[แก้]
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)
|
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในอนาคต[แก้]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบสารสนเทศสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (Natural Resource Management and Environmental Information Systems)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา (ไทย)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา (ไทย)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบสารสนเทศสิ่งแวดล้อม (ไทย)
ทำเนียบคณบดี[แก้]
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคณบดีมาแล้ว 1 ท่าน ดังรายนามต่อไปนี้[3]
ทำเนียบคณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ | พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
อันดับและมาตรฐาน[แก้]
ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา QS world university ranking by subject [4] คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในกลุ่ม Natural Sciences สาขา Environmental Sciences ติดต่อกันหลายปี รายละเอียดดังนี้
QS World University Rankings by Subject | |
กลุ่ม Natural Sciences | |
QS Environmental Sciences | 251-300 (2020) |
251-300 (2019) | |
201-250 (2018) | |
201-250 (2017) | |
251-300 (2016) |
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2020[แก้]
กลุ่ม Natural Sciences
อันดับที่ 251-300 ของโลก
- สาขา Environmental Sciences[5]
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2019[แก้]
กลุ่ม Natural Sciences
อันดับที่ 251-300 ของโลก
- สาขา Environmental Sciences[6]
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2018[แก้]
กลุ่ม Natural Sciences
อันดับที่ 201-250 ของโลก
- สาขา Environmental Sciences[7]
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2017[แก้]
กลุ่ม Natural Sciences
อันดับที่ 201-250 ของโลก
- สาขา Environmental Sciences[8]
ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2016[แก้]
กลุ่ม Natural Sciences
อันดับที่ 251-300 ของโลก
- สาขา Environmental Sciences[9]
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[แก้]
เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องจากพระราชดำริ โดยมอบหมายโครงการสหวิทยาการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมต่อมาคือ วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ บ้านพะเนิน ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76100 ต่อมาวิทยาลัยสิ่งแวดล้อมได้ถูกยุบและโอนไปสังกัดคณะสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบโครงการนี้จึงไปอยู่กับคณะสิ่งแวดล้อมด้วย
บุคคลสำคัญ[แก้]
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุคลากรและนิสิตเก่าที่สร้างคุณประโยชน์แก่วงการสิ่งแวดล้อม อาทิ
- ศาสตราจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว (บุคลากร) อดีตอธิบดีกรมป่าไม้, อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์, อดีตคณบดีวิทยาลัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอดีตรองอธิการบดีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [10]
- ดร.วิจารย์ สิมาฉายา (ศิษย์เก่า - สวล.6) อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [11]
- ธนินวัฒน์ พัฒนวีรคุณ (ศิษย์เก่า - สวล.14) พิธีกรรายการ 360 องศา [12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...ครั้งที่ 11/2555 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 http://www.gad.ku.ac.th/PDF/Summarize_Dean/2555/11-55.pdf
- ↑ https://www.sci.ku.ac.th/news/wp-content/uploads/2016/09/50year2.pdf. หนังสือ "5 ทศวรรษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" : พ.ศ. 2539 - จัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มก.
- ↑ คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดี เรียกดูวันที่ 2019-06-10
- ↑ https://www.topuniversities.com/. "QS World University Rankings by Subject"
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2020 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2019 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2018 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2017 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ "QS World University Rankings by Subject 2016 - Environmental Studies - Kasetsart University". QS Quacquarelli Symonds. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p189.html/ ฐานข้อมูลบูรพาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “ศาสตรจารย์ ดร. เกษม จันทร์แก้ว”
- ↑ http://www.bedo.or.th/bedo/content.php?id=92/. คณะกรรมการ - สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
- ↑ ไฟล์:///C:/Users/USER/Downloads/Fulltext%2310_214296.pdf. ภาคผนวก ก ประวัติผู้ควบคุมการผลิตและผู้ประกาศข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ไทย
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|
|