คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Faculty of Engineering King Mongkut's University of Technology North Bangkok | |
สถาปนา | พ.ศ. 2507 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2507) วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ(เทคนิคไทย-เยอรมัน) พ.ศ. 2514 คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
---|---|
คณบดี | รศ.ดร. กิตติชัย ธนทรัพย์สิน |
ที่อยู่ | |
สี | สีเลือดหมู |
มาสคอต | เกียร์ |
เว็บไซต์ | http://www.eng.kmutnb.ac.th |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในชื่อวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ(เทคนิคไทย-เยอรมัน)ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นปีที่วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือได้เปลี่ยนฐานะมาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการ
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เดิมคือ "โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ" ซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัด กองโรงเรียนพาณิชย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ที่ถนนประชาราษฎ์สาย 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2507 จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล(ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของคณะ
- พ.ศ. 2510 จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า(ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) เป็นหลักสูตรต่อมา
- พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีการผลิต(เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิตในเวลาต่อมา)
- พ.ศ. 2522 จัดตั้งภาควิชาเทคโนโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม(เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาต่อมา)
- พ.ศ. 2526 จัดตั้งภาควิชาเทคโนโลยีโครงสร้าง(เปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาวิศวกรรมโยธาในเวลาต่อมา)
- พ.ศ. 2527 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
- พ.ศ. 2529 ร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมันจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ
- พ.ศ. 2536 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- พ.ศ. 2542 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
ในปัจจุบันคณะฯได้เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โดยผ่านกระบวนการสอบของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยผ่านการสอบคัดเลือกตรง เพื่อเข้ามาศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 ปี (วศ.บ.) ในสาขาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการรับนักศึกษาโควต้าและผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆเช่น ด้านหุ่นยนต์และสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษาก็จะมีสาขาวิชาที่ต่อเนื่องสูงขึ้นไปจากระดับปริญญาตรีในทุกสาขาวิชาเพื่อเป็นการเสริมสร้างงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาการให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
[แก้]คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. รศ.ดร. สมชอบ ไชยเวช | พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2522 | |
2. รศ.ดร. สุธี อักษรกิตติ์ | พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2533 | |
3. รศ.ดร. บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร | พ.ศ. 2533- พ.ศ. 2541 | |
4. รศ.ดร. สมชาย ฉัตรรัตนา | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 | |
5. รศ.ดร. ศิริศักดิ์ หาญชูวงศ์ | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549 | |
6. รศ.ดร. วิบูลย์ ชื่นแขก | พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557 | |
7. รศ. ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2565 | |
8. รศ. ดร. กิตติชัย ธนทรัพย์สิน | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
ภาควิชาและหลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในระดับสากล โดยมีภาควิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนดังนี้
ภาควิชา | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|---|
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี[ลิงก์เสีย] | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ เก็บถาวร 2016-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
- |
ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
ภาควิชาวิศวกรรมระบบเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์ เก็บถาวร 2014-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
- |
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
|
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
อาคารภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์
[แก้]คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีอาคารต่างๆ ดังนี้
- อาคาร 81
สำนักงานคณะบดี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ห้องบรรยายรวม
- อาคาร 82
ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
- อาคาร 83
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบินอวกาศ
- อาคาร 84
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
- อาคาร 85
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- อาคาร 86
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต
- อาคาร 88
ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุและโลจิสติกส์ ห้องบรรยายรวม
- อาคาร 89
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์ ห้องบรรยายรวม
ศูนย์วิจัย
[แก้]- ศูนย์วิจัยวิศวกรรมคำนวณและทดสอบขั้นสูง(RACE)
- ศูนย์วิจัยการเผากากของเสีย(WIRC)
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม(DMIE)
- ศูนย์วิจัยพอลิเมอร์(PRC)
- ศูนย์ระบบการจัดการขั้นสูงทางวิศวกรรมอุตสาหการ
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการพลังงานและควบคุมการตรวจวัด-พิสูจน์
- ศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และพลังงานหมุนเวียน
- ศูนย์วิจัยการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรม
- ศูนย์วิจัยการขนส่งและสิ่งแวดล้อม
- ศูนย์วิจัยวิศวกรรมการคำนวณทดสอบขั้นสูง
- ศูนย์วัสดุเชิงนิเวศน์และเทคโนโลยีสะอาด
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบฝังตัวเคลื่อนที่และระบบอัตโนมัติทางไกล
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาหน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมเคมีและตัวเร่งปฏิกิริยา
- ศูนย์วิจัยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- ศูนย์นวัตกรรมสำหรับวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์
- ศูนย์วิจัยการวิจัยดำเนินงานและการจัดการเชิงวิศวกรรม