การสำรวจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักสำรวจ คาซิเมียร์ โนวัก

การสำรวจ (อังกฤษ: Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่

ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นหนึ่งในสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงประจักษ์ (อีกสองอย่างคือการพรรณาและการอธิบาย)

ยุคสมัยสำคัญในการสำรวจของมนุษย์[แก้]

การแล่นเรือแกลลีย์ของชาวฟินิเชีย[แก้]

ชาวฟินิเชีย (1,550 - 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทำการค้าขายทั่วทะเลเมดิเตอเรเนียนและเอเชียไมเนอร์แม้ว่าเส้นทางค้าขายจำนวนมากยังคงไม่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้ การมีอยู่ของดีบุกในสิ่งประดิษฐ์บางอย่างของชาวฟินิเชียแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอาจเดินทางไปถึงบริเตน ตามที่มหากาพย์อีนีอิดของเวอร์จิลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ราชินีในตำนานไดโดซึ่งเป็นชาวฟินิเชียจากไทร์ได้แล่นเรือไปยังแอฟริกาเหนือและก่อตั้งเมืองคาร์เธจ

การสำรวจของชาวคาร์เธจในแอฟริกาตะวันตก[แก้]

ฮันโนนักเดินเรือ (500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) นักเดินเรือชาวคาร์เธจได้สำรวจบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา

การสำรวจของชาวกรีกในยุโรปเหนือและทัวเล[แก้]

นักสำรวจชาวกรีกจากมาร์แซย์ ไพเธียส (380 – ประมาณ 310 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นคนแรกที่แล่นเรือไปถึงเกรตบริเตน สำรวจเยอรมนี และค้นพบทัวเล (โดยทั่วไปส่วนใหญ่คาดว่าเป็นหมู่เกาะเชตแลนด์หรือไอซ์แลนด์)

การสำรวจของชาวโรมัน[แก้]

การสำรวจแอฟริกา[แก้]

ชาวโรมันจัดการสำหรับเดินทางข้ามทะเลทรายสะฮาราด้วยห้าเส้นทางที่แตกต่างกัน:

การสำรวจทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังทหารและมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้าขาย มีเพียงหนึ่งเดียวคือจักรพรรดิแนโรที่ดูเหมือนจะเตรียมการสำรวจสำหรับการพิชิตเอธิโอเปียหรือนูเบีย ซึ่งสองกองกำลังทหารของแนโรได้สำรวจแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำไนล์ในปี ค.ศ. 62

หนึ่งในเหตุผลหลักของการสำรวจคือการได้มาซึ่งทองคำโดยใช้อูฐในการขนส่ง[1]

การสำรวจใกล้ชายฝั่งตะวันตกและตะวันออกของแอฟริกาได้รับการสนับสนุนโดยกองเรือโรมันและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายทางทะเล (ส่วนใหญ่มุ่งไปยังมหาสมุทรอินเดีย) ชาวโรมันยังได้จัดการสำรวจขึ้นหลายครั้งในยุโรปเหนือและเอเชียจนถึงจีน

30 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 640[แก้]

ด้วยการยึดครองอียิปต์จากราชวงศ์ทอเลมี ชาวโรมันจึงเริ่มค้าขายกับอินเดีย จักรวรรดิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการค้าเครื่องเทศในอียิปต์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ 118 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ค.ศ. 100 - 166[แก้]

การเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างจีนและโรมัน ทอเลมีได้เขียนถึงแหลมทองคำ (หมายถึงคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน) และท่าเรือค้าขายของกัตติการะ ซึ่งได้รับการระบุว่าคือเมืองอกแอวทางเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเจียวโจวในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน

ศตวรรษที่ 2[แก้]

ผู้ค้าชาวโรมันเดินทางมาถึงสยาม กัมพูชา สุมาตรา และชวา

ค.ศ. 161[แก้]

คณะทูตจากจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุสหรือทายาทของพระองค์ มาร์กุส เอาเรลิอุส เข้าพบจักรพรรดิฮั่นหฺวันที่ลกเอี๋ยง

ค.ศ. 226[แก้]

นักการทูตหรือผู้ค้าชาวโรมันขึ้นฝั่งในเวียดนามตอนเหนือและเยี่ยมชมหนานจิงและวังของซุนกวน ผู้ปกครองง่อก๊ก

การสำรวจของชาวจีนในเอเชียกลาง[แก้]

ยุคชาวไวกิง[แก้]

เส้นทางเดินทางและการตั้งถิ่นฐานของชาวไวกิง

ช่วงประมาณ ค.ศ. 800 - 1,040 ชาวไวกิงสำรวจยุโรปและฝั่งตะวันตกของซีกโลกเหนือผ่านแม่น้ำและมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น เป็นที่ทราบว่าเอริกเดอะเรด (ค.ศ. 950 – 1003) นักสำรวจชาวไวกิงนอร์เวย์ แล่นเรือและตั้งถิ่นฐานที่กรีนแลนด์หลังจากถูกเนรเทศจากไอซ์แลนด์ ขณะที่ลูกชายของเขา เลฟ เอริกสัน นักสำรวจชาวไอซ์แลนด์ (ค.ศ. 980 – 1020) มาถึงนิวฟันด์แลนด์และชายฝั่งอเมริกาเหนือที่อยู่ใกล้เคียง และเชื่อว่าน่าจะเป็นชาวยุโรปคนแรกที่มาถึงแผ่นดินในทวีปอเมริกาเหนือ

ยุคชาวพอลินีเชีย[แก้]

การขยายถิ่นฐานของชาวออสโตรนีเซีย

ชาวพอลินีเชียเป็นผู้เดินเรือซึ่งตั้งถิ่นฐานและสำรวจบริเวณตอนกลางและแปซิฟิกใต้เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน จนถึงประมาณ ค.ศ. 1280 ปีเมื่อพวกเขาค้นพบนิวซีแลนด์ สิ่งประดิษฐ์หลักในการสำรวจของพวกเขาคือเอาทริกเกอร์แคนูซึ่งรวดเร็วและมั่นคงสำหรับการบรรทุกสินค้าและผู้คน จากหลักฐานที่มีอย่างจำกัดคาดว่าการเดินทางไปนิวซีแลนด์เป็นไปโดยเจตนา และไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามีจำนวนเรือ ชนิดของเรือ หรือชื่อของผู้อพยพที่เดินทางไปยังนิวซีแลนด์ การศึกษาในปี 2011 ที่สันดอนไวราอูในนิวซีแลนด์แสดงให้เห็นความเป็นไปได้สูงว่ามีจุดเริ่มต้นที่เกาะฮัวไฮน์ในหมู่เกาะโซไซเอตี ชาวพอลินีเชียอาจใช้กระแสลมค้าตะวันออกซึ่งเป็นลมประจำปีทางเหนือไปถึงนิวซีแลนด์เป็นเวลาประมาณสามสัปดาห์ หมู่เกาะคุกเป็นทางผ่านของเส้นทางการอพยพและอาจเป็นจุดพักระหว่างทาง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมและภาษาระหว่างชาวเกาะคุกและชาวเมารีในนิวซีแลนด์

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากการศึกษาจีโนมของดีเอ็นเอซึ่งเป็นเทคนิคที่ทันสมัยที่สุด ได้แสดงให้เห็นผู้อพยพชาวพอลินีเชียจำนวนมากประมาณ 100 - 200 คน เข้ามายังนิวซีแลนด์ในช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1280 การศึกษาของมหาวิทยาลัยโอทาโกได้พยายามเชื่อมโยงลักษณะเฉพาะของรูปแบบฟันจากดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นจากการบริโภคอาหารซึ่งใกล้เคียงกับหมู่เกาะโซไซเอตี

การสำรวจของชาวจีนในมหาสมุทรอินเดีย[แก้]

ยุคแห่งการค้นพบของชาวยุโรป[แก้]

การเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ยุคแห่งการค้นพบหรือรู้จักในชื่อยุคแห่งการสำรวจ เป็นหนึ่งในยุคที่สำคัญที่สุดของการสำรวจทางภูมิศาสตร์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 จนถึงศตวรรษที่ 17 ในยุคนั้นชาวยุโรปได้ค้นพบและสำรวจพื้นที่อันกว้างใหญ่ของอเมริกา แอฟริกา เอเชีย และโอเชียเนีย

เส้นทางการเดินทางไปและกลับระหว่างโปรตุเกสและอินเดีย (Carreira da Índia) ในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย ด้วยวังวนมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (Volta do mar) ถูกเสนอโดยเอนรีเกราชนาวิก และเส้นทางไปที่ใช้ลมตะวันตกมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัชค้นพบในปี ค.ศ. 1488 จากการติดตามและสำรวจจาการเดินทางของวัชกู ดา กามาและเปดรู อัลวารึช กาบรัล

เหล่านักสำรวจที่สำคัญที่สุดในช่วงดังกล่าว ได้แก่

เส้นทางการเดินทางของกัปตันเจมส์ คุก การเดินทางครั้งแรกแสดงด้วยสีแดง การเดินทางครั้งที่สองแสดงด้วยสีเขียว และการเดินทางครั้งที่สามแสดงด้วยสีน้ำเงิน.

ต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 และ 17 โดยมีนักสำรวจเช่น

หลังจากยุคทองของยุคแห่งการค้นพบมายาวนาน นักสำรวจคนอื่น ๆ ได้สำเร็จในการสร้างแผนที่โลกอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับนักสำรวจชาวรัสเซียหลายคนได้ไปยังชายฝั่งทางมหาสมุทรแปซิฟิกของไซบีเรียและช่องแคบแบริ่ง ณ สุดขอบของทวีปเอเชียและอะแลสกา (อเมริกาเหนือ)

การสำรวจอวกาศ[แก้]

ผู้หวนคืนและนักสำรวจในวันนี้[แก้]

อ้างอิง[แก้]

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. Roth, Jonathan 2002. The Roman Army in Tripolitana and Gold Trade with Sub-Saharan Africa. APA Annual Convention. New Orleans.

อ้างอิง[แก้]

  • di Cosmo, Nicola (2002). Ancient China and Its Enemies: The Rise of Nomadic Power in East Asian History. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-77064-4.
  • Groh, Arnold (2018). Research Methods in Indigenous Contexts. New York: Springer. ISBN 978-3-319-72774-5.
  • Morton, William Scott; Lewis, Charlton M. (2005). China: Its History and Culture (Fourth ed.). New York City: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-141279-7.
  • Petringa, Maria (2006). Brazzà, a Life for Africa. Bloomington, IN: AuthorHouse. ISBN 1-4259-1198-6. OCLC 74651678.
  • Torday, Laszlo (1997). Mounted Archers: The Beginnings of Central Asian History. Durham: The Durham Academic Press. ISBN 978-1-900838-03-0.
  • Yü, Ying-shih (1986). "Han Foreign Relations". ใน Twitchett, Denis; Loewe, Michael (บ.ก.). The Cambridge History of China. Vol. I: the Ch'in and Han Empires, 221 B.C.–A.D. 220. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 377–462. ISBN 978-0-521-24327-8.

ดูเพิ่ม[แก้]