คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University
สถาปนา6 กันยายน พ.ศ. 2561; 5 ปีก่อน (2561-09-06)
คณบดีดร.สรายุทธ ฐิตะภาส
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง
เลขที่ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
วารสารวารสารคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สี███ สีเลือดหมู
เว็บไซต์www.eng.ksu.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Faculty of Engineering and Industrial Technology, Kalasin University) เป็น คณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ประวัติคณะ[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 69 ก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 ภารกิจหลักของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คือ การเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตช่างเทคนิคฝีมือและการผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการและทักษะในวิชาชีพด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความใฝ่เรียนรู้ เพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์และภูมิภาค โดยส่งเสริมและสนับสนุนแผนบูรณาการอุตสาหกรรม พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกระดับผลิตภัณฑ์โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต สร้างนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 5 ด้าน ประกอบด้วย ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ยางพารา และวัสดุก่อสร้าง ตลอดจน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth ) คือ อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve)  และอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) และ อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้

         1. เพื่อผลิตช่างเทคนิคฝีมือ และผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF: HEd) และสภาวิชาชีพรวมถึงเป็นช่างเทคนิคฝีมือและบัณฑิตที่มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดี

         2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัย สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการสู่การต่อยอดสำหรับการให้การบริการทางวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น

         3. เพื่อจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนและบัณฑิตตระหนักถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์[1]
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (หลักสูตร 2 ปี)

  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
  • สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการขนส่ง
  • สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
  • สาขาวิชาเครื่องกลเกษตร

หลักสูตรปริญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)

  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
  • สถ.บ สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ
  • อส.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร

หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (เทียบโอน)

  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • อส.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร

หลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี (เทียบโอน)

  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
  • วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
  • สถ.บ สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2018-11-03.