ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองแสนสุข"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OktaRama2010 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
|เทศบาล= เมืองแสนสุข
|เทศบาล= เมืองแสนสุข
|seal= logo_ss.gif
|seal= {{#property:p158}}
|ชื่ออังกฤษ= Saen Suk Town
|ชื่ออังกฤษ= Saen Suk Town
<!-- ข้อมูลเสริม -->
<!-- ข้อมูลเสริม -->

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:36, 23 มกราคม 2562

เทศบาลเมืองแสนสุข
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Saen Suk Town
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองแสนสุข
ตรา
คำขวัญ: 
บางแสนแสนสุข สามมุขลือนาม ข้าวหลามหนองมน ประชาชนสามัคคี ประเพณีวันไหล
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายณรงชัย คุณปลื้ม
พื้นที่
 • ทั้งหมด20.268 ตร.กม. (7.826 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด46,217 คน
 • ความหนาแน่น2,280 คน/ตร.กม. (5,900 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์http://www.saensukcity.go.th/ http://www.saensukcity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองแสนสุข หรือ เมืองแสนสุข เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแสนสุขทั้งตำบล บางส่วนของตำบลเหมือง และบางส่วนของตำบลห้วยกะปิในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวเมืองชลบุรี ประมาณ 13 กิโลเมตร อยู่ภายใต้การบริหารงานของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีนายสมชาย คุณปลื้ม อดีตนายกเทศมนตรี นายสวัสดิ์ หอมปลื้ม และนายสมชาติ คุณปลื้ม ร่วมคิดร่วมทำและกำหนดนโยบายและบริหารงานต่างๆ ในรูปแบบเทศบาล ทำให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาเจริญก้าวหน้าภายในระยะเวลา 13 ปี สถานที่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยคือ ชายหาดบางแสน เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนทุกระดับ และห่างจากกรุงเทพมหานครไม่ไกลนัก เพียง 89 กิโลเมตรเท่านั้น

ประวัติ

เทศบาลเมืองแสนสุขได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลแสนสุข ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลแสนสุข เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ต่อมาด้วยศักยภาพของท้องถิ่น และ ผู้บริหารท้องถิ่น ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบสร้างความเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และในปีพ.ศ. 2536 เทศบาลก็ได้รับการยก ฐานะเป็นเมืองลักษณะพิเศษ (เมืองท่องเที่ยว) ทำให้เทศบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ มากมาย เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครอง ฯลฯ ซึ่งเทศบาลได้นำมาใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เทศบาลเมืองแสนสุข ได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยการดำเนินการขององค์การจัดการน้ำเสีย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542[1] และเทศบาลได้รับการเปลี่ยนแปลงจนขึ้นเป็นเทศบาลเมืองแสนสุข เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2544[2]

ภูมิอากาศและภูมิประเทศ

ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง เฉลี่ย 3 เมตร ภูมิอากาศจัดอยู่ในประเภทมรสุมเมืองร้อนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ด้านตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขาลาดแนวชายฝั่งทะเล จึงเป็นหาดทรายยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความสูงของพื้นที่วัดจากน้ำทะเลประมาณ 3 เมตร

สัญลักษณ์ประจำเมืองแสนสุข

ไฟล์:A001.jpg
สำนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข

ตราเทศบาลเมืองแสนสุข

เป็นตรารูปพวงมาลัยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ตรงกลางมีรูปทรง กลมประกอบด้วยเรือใบหาปลาสมัยดั่งเดิมกำลังแล่นในทะเล โดยมีรูปเขาสามมุขและภาพนกประกอบด้านหลัง ด้านบนของรูปมีข้อความ เทศบาลเมืองแสนสุข ด้านล่างมีข้อความ จังหวัดชลบุรี การที่กำหนดรูปลักษณะดวงตราประจำเทศบาลเมืองแสนสุขเช่นนี้เนื่องจากเขาสามมุขเป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ได้รับการนับถือต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านานจากประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป ส่วนพวงมาลัยเรือและรูปเรือใบแสดงลักษณะเด่นของเมืองทะเลซึ่งในอดีต ประชาชนมีอาชีพด้านการประมงเป็นหลักตราบจนในปัจจุบันนอกจากนี้ชายทะเลแสนสุขหรือหาดบางแสนยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพื่อมาพักผ่อนตากอากาศจนกระทั่งมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ

คำขวัญเมืองแสนสุข

"บางแสนแสนสุข สามมุขลือนาม ข้าวหลามหนองมน ประชาชนสามัคคี ประเพณีวันไหล"

ที่ตั้งและอาณาเขต

ไฟล์:Map saensukcity.gif
แผนที่เมืองแสนสุข

ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเมืองชลบุรีบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย มีพื้นที่ทั้งสิ้น 20.268 ตารางกิโลเมตร (12,668 ไร่) โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประชากร

มีประชากร ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ทั้งสิ้น 46,217 คน จำนวนบ้าน 36,158 หลัง 11,230 ครอบครัว

ลักษณะโดยทั่วไปของประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการพาณิชยกรรม กิจกรรมการค้าตั้งอยู่หนาแน่นบริเวณตลาดหนองมนและชายหาดบางแสนซึ่งเป็นผลมาจากการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว ฟาร์มกุ้ง แปรรูปผลิตผลทางทะเล และรับจ้างรวมถึงกิจการ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการด้านการท่องเที่ยว

มีผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมด วัดในเขตเทศบาลมี 6 วัด และผู้นับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีโบสถ์ 2 แห่ง

การศึกษา

เทศบาลเมืองแสนสุขจัดเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก ประกอบด้วยสถานศึกษาที่เป็นของรัฐและเอกชน ในระดับต่างๆ ดังนี้

การสาธารณสุข

ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุขมีหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา ขนาด 160 เตียง สถานีอนามัยตำบล 2 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล 1 แห่ง และคลินิกเอกชนอีก 17 แห่ง

ชุมชนในเขตเมืองแสนสุข

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุขมีชุมชนอยู่ในเขตจำนวน 10 แห่ง คือ ชุมชนหมู่บ้านโชคดี ชุมชนบ้านเหมือง ชุมชนบ้านแหลมแท่น ชุมชนท้ายตลาด ชุมชนหาดวอนนภา ชุมชนเขาสามมุข ชุมชนร่วมใจพัฒนา ชุมชนมุขแสนเจริญ ชุมชนตาลล้อม และชุมชนมณีแก้ว

การคมนาคม

- ถนนสายประธาน ได้แก่ ถนนบางแสนสาย 1 ซึ่งเป็นถนนเลียบชายหาด ขนาด 4 ช่องทาง
- ถนนสายหลัก ได้แก่ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3134, 3137 และถนนบางแสนสาย 2 ขนาด 4 ช่องทาง
- ถนนสายรอง ได้แก่ ถนนตัดสายใหม่ สาย ค เป็นถนนขนาด 2 ช่องทาง โดยเป็นถนนที่สร้างรองรับการจราจรจากถนนสายประธานและถนนสายหลักของเทศบาล
- ถนนสายย่อย ได้แก่ ถนนที่เชื่อมต่อระหว่างถนนสายประธาน(บางแสนสาย 1)กับถนนสายหลัก(บางแสนสาย 2)และถนนตัดใหม่เชื่อมต่อกับถนนบางแสนสาย 1 อ้อมแหลมแท่นไปบรรจบกับถนนบางแสนสาย 2 และถนนรอบเขาสามมุข เป็นถนนที่เชื่อมต่อแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสนเข้าด้วยกันเป็นโครงข่าย

นอกเหนือจากโดรงข่ายถนนดังกล่าว ยังมีเส้นทางที่สามารถใช้ติดต่อกันในพื้นที่ได้ คือ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.)101 สาย ถนนลาดยาง 10 สาย และถนนลูกรัง 23 สาย

สถานที่ที่น่าสนใจ

บางแสน

หาดบางแสน ชายหาดที่มีชื่อเสียงมาช้านานของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีเพียง 10 กิโลเมตร แยกขวาจาก ถนนสุขุมวิทตรงหลักกิโลเมตรที่ 104 เข้าไป 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด ในบริเวณหาดมีเครี่องดื่ม และอาหารทะเลประเภทของกินเล่นหาบมาขาย เช่น ปลาหมึก หอยแมลงภู่ ห่อหมก ฯลฯ มีเก้าอี้ผ้าใบ ลูกยาง ว่ายน้ำให้เช่า มีห้องอาบน้ำจืดไว้บริการ ร้านอาหารหลายแห่งเรียงรายอยู่ริมหาด หาดบางแสนเหมาะสำหรับ นักท่องเที่ยวที่มีเวลาน้อยที่ต้องการพาครอบครัวไปพักผ่อนเพียงวันเดียว

แหลมแท่น

อยู่บริเวณหาดบางแสนเลยมาทางเขาสามมุข เป็นสถานที่สวยงามที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมานาน เป็นแหลมที่ยื่นออกไปไม่มากนัก ในช่วงเย็นๆ จะมีนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดมาพักผ่อนกันมากมาย มีร้านขายอาหาร เช่น ส้มตำ อาหารทะเล เครื่องดื่มชนิดต่างๆ เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองไปที่เขาสามมุขได้ ส่วนทางด้านหาดบางแสนก็จะสามารถมองเห็นแนวหาดบางแสนเป็นแนวยาวสุดตา

ตลาดหนองมน

อยู่ริมถนนสุขุมวิท ห่างจากทางแยกเข้าหาดบางแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นแหล่งรวมของกินของฝากจากจังหวัดชลบุรี ทั้งผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลสดและแปรรูป เช่น ปลาเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง กะปิ น้ำปลา อาหารท้องถิ่น เช่น ห่อหมก ทอดมัน แจงลอน และขนม หวานนานาชนิด เช่น ข้าวหลาม ขนมจาก ขนมไทยๆ

เขาสามมุข

สัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดชลบุรี เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านอ่างศิลากับหาดบางแสน เชิงเขาเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่เขาสามมุขซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป บริเวณเขาสามมุขมีลิงป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก หากขับรถไปขึ้นไปบนเขาจะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลบางแสนได้สวยงาม

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยบูรพา ก่อนถึงชายหาดบางแสน มีเนื้อที่ 30 ไร่ ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเลสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มซึ่งมีสัตว์ทะเลนานาชนิดจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจและห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา 08.30 - 16.00 น. วันหยุดราชการเปิดถึง 17.00 น. สาธิตการดำน้ำให้อาหารปลา 14.30 น. วันหยุดเพิ่มรอบ 10.30 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 180 บาท

อ้างอิง


ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น