ข้ามไปเนื้อหา

การท่องเที่ยวในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปหล่อ กินรี ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

การท่องเที่ยว เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทย มีส่วนทำให้ค่าจีดีพีของไทยอยู่ที่ประมาณ 17.7% ใน พ.ศ. 2559[1] ใน พ.ศ. 2550 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 14 ล้านคน โดยระยะเวลาพำนักเฉลี่ย 9.19 วัน ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากถึง 547,782 ล้านบาท[2] เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[3]

สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน พ.ศ. 2503 นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย[4]

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า[5] 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550 มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน[6] ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ถึงปีใหม่ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น โดยในปี พ.ศ. 2558 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน มีจำนวนมากที่สุด[7][8] คิดเป็น 27 % ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด[9]

การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด เมืองหลวงพระบาง และอ่าวหะล็อง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ทำให้ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การตีกอล์ฟในวันหยุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอีกด้วย[10] จากข้อมูลของโลนลี่แพลเน็ต ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน "จุดหมายคุ้มค่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553" รองจากไอซ์แลนด์ ซึ่งได้รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์[11] นอกจากนี้ กรุงเทพยังได้รับการจัดอันดับ เป็นที่ 2 ของโลก เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุด จากการจัดอันดับของ Master card สองปีซ้อนคือ ปี พ.ศ. 2557-2558 [12][13]

สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย

[แก้]

ข้อมูลโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[14][15]

สถิติโดยภาพรวมประจำปี

[แก้]
ปี
(พ.ศ./ค.ศ.)
จำนวน
(คน)
เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
รายได้
(ล้านบาท)
เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ม.ค.-ก.พ. 2567/2024 6,387,598 +50.0 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2566/2023 28,150,016 +154.4 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2565/2022 11,153,026 +2,506.65 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2564/2021 427,869 -93.62 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2563/2020 6,702,396 -83.21 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2562/2019 39,916,251 +4.55 1,911,807.95 +1.90
2561/2018 38,178,495 +7.54 1,783,365 +9.63
2560/2017 35,381,210 +8.57 1,824,042.35 +11.66
2559/2016 32,588,303 +8.91 1,640,000.00 +11.76
2558/2015 29,881,091 +20.44 1,447,158.05 +23.39
2557/2014 24,809,683 -6.54 1,147,653.49 -4.93
2556/2013 26,546,725 +18.76 1,207,145.82 +22.69
2555/2012 22,353,903 +16.24 983,928.36 +26.76
2554/2011 19,230,470 +20.67 776,217.20 +30.94
2553/2010 15,936,400 +12.63 592,794.09 +16.18
2552/2009 14,149,841 -2.98 510,255.05 -11.19
2551/2008 14,584,220 +0.83 574,520.52 +4.88
2550/2007 14,464,228 +4.65 547,781.81 +13.57
2549/2006 13,821,802 +20.01 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2548/2005 11,516,936 -1.15 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2547/2004 11,650,703 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล

อันดับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย

[แก้]


คำขวัญรณรงค์เที่ยวไทย

[แก้]

คำขวัญรณรงค์ท่องเที่ยวประเทศไทย ประโยคแรกคือ เยี่ยมเยือนประเทศไทย (อังกฤษ: Visit Thailand) ราวปี พ.ศ. 2530 จากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน มีคำขวัญใหม่ว่า มหัศจรรย์ประเทศไทย (อังกฤษ: Amazing Thailand) พร้อมทั้งสัญลักษณ์ลายไทย ลักษณะโดยรวมเป็นรูปดวงตาและคิ้ว ต่อมาช่วงที่การท่องเที่ยวไทยเกิดวิกฤต เมื่อปี พ.ศ. 2552 ททท.จึงจัดโครงการสืบเนื่องในชื่อ มหัศจรรย์ประเทศไทย มหัศจรรย์คุณค่า (อังกฤษ: Amazing Thailand, Amazing Value) [18] นอกจากนี้ยังมีคำขวัญรองเช่น เที่ยวไทยให้ครบ พบไทยให้ทั่ว, เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้, กอดเมืองไทย ให้หายเหนื่อย, เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน เป็นต้น

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

[แก้]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แก่ อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ปัจจุบันผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเป็นกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แก่ ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ (ตังแต่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึง ปัจจุบัน) [19]

ท่องเที่ยวไทย

[แก้]

ท่องเที่ยวไทย (อังกฤษ: Unseen In Thailand) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โดยได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยคนไทย

เสน่ห์

[แก้]
ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในจังหวัดบุรีรัมย์

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สุดประเทศหนึ่ง โดยมีทั้งจุดดำน้ำ, หาดทราย, เกาะนับร้อย, สถานบันเทิงที่หลากหลาย, โบราณสถาน, พิพิธภัณฑ์, หมู่บ้านชาวเขา, สวนดอกไม้และจุดชมนกที่ยอดเยี่ยม, พระราชวัง, วัดขนาดใหญ่ และมรดกโลกจำนวนมาก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตามหลักสูตรระหว่างอยู่ในประเทศไทย สิ่งที่นิยมได้แก่ชั้นเรียนการทำอาหารไทย, พระพุทธศาสนา และการนวดแผนไทย เทศกาลของไทยมีตั้งแต่เทศกาลที่สนุกกับการสาดน้ำอย่างสงกรานต์ ไปจนถึงประเพณีในตำนานอย่างลอยกระทง ท้องถิ่นจำนวนมากในประเทศไทยมีเทศกาลของพวกเขาเองเช่นกัน ที่มีชื่อเสียงได้แก่ "การจัดงานแสดงช้าง" ในจังหวัดสุรินทร์, "ประเพณีบุญบั้งไฟ" ใน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ (เทคนิคการเอ้ประดับบั้งไฟ ด้วยลายกรรไกรตัดแห่งเดียวในประเทศไทย) ที่อำเภอสุวรรณภูมิ และ การจุดบั้งไฟขึ้นสูง มากที่สุดในประเทศไทย ที่อำเภอพนมไพร และนอกจากนี้ ในทุกสัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร เป็นต้น หรืองานที่รวมประเพณีบุญบั้งไฟ รวมกันกับ บุญผะเหวด เป็นงานบุญหลวง นับเป็นเทศกาลน่าสนใจอย่าง "ผีตาโขน" ในอำเภอด่านซ้าย อาหารไทยบางอย่างมีชื่อเสียงทั่วโลกด้วยการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศสด จากส้มตำอร่อยไม่แพงที่ร้านริมถนนเรียบง่ายในชนบทถึงอาหารไทยในร้านอาหารชวนชิมของกรุงเทพฯ

กรุงเทพมหานครมีชื่อเสียงจากห้างสรรพสินค้าหลักในบริเวณใจกลางเมือง ให้ความหลากหลายของสินค้ายี่ห้อท้องถิ่นและนานาชาติ ไปทางเหนือของเมืองมี"ตลาดนัดจตุจักร" ซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าและใต้ดิน เป็นไปได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ใช้งานในบ้าน[20] ไปจนถึงสัตว์ชนิดต่างๆ ตลาด "ประตูน้ำ" ใจกลางเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านผ้าและเสื้อผ้า นักท่องเที่ยวเน้นตลาดกลางคืนในถนนสีลมและบนถนนข้าวสารเป็นหลัก ซึ่งขายสินค้าเช่น เสื้อยืด, หัตถกรรม, นาฬิกาข้อมือและแว่นกันแดด ในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพมหานครสามารถหาตลาดน้ำยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงเช่นในดำเนินสะดวก "ตลาดถนนคนเดินวันอาทิตย์เย็น" จัดบนถนนราชดำเนินในเมืองเก่าเป็นไฮไลต์ของการช็อปปิ้งเมื่อไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย มันดึงดูดคนท้องถิ่นมากมายรวมทั้งชาวต่างประเทศ "ไนท์บาซาร์" ในเชียงใหม่เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวเน้นเช่นกัน ซึ่งขยายไปหลายช่วงของเมือง แค่ผ่านกำแพงเมืองเก่าไปตามแม่น้ำ

สยามพารากอน

เรื่องอื้อฉาว

[แก้]

ปลายปี 2566 ได้เกิดเหตุที่น่าสลดใจกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย แล้วประสบอุบัติเหตุ จึงได้รับการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงพยาบาลนั้นปฏิเสธการรักษานักท่องเที่ยวเคสนี้ และปรากฏคลิปวิดีโอที่แสดงพฤติการณ์ร้ายแรงอย่างยิ่งของโรงพยาบาล [1] กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แสดงความเสียใจอย่างยิ่ง [2] เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภคระบุว่าการปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ไม่รู้สึกตัวอย่างเช่นเคสชาวไต้หวันรายนี้และให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐแทนนั้น เป็นการละเมิดหลักมนุษยธรรม ละเมิดสิทธิตามกฎหมาย และยังไม่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศที่ไม่ดูแลมนุษย์ให้เท่าเทียมกันอีกด้วย [3]

ดูเพิ่ม

[แก้]
หอไตร ของวัดทุ่งศรีเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
การขายร่มที่ถนนคนเดินวันอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่
หญิงชาวกะเหรี่ยง
น้ำตกศรีดิษฐ์ในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดเพชรบูรณ์

ทั่วไป

[แก้]

ศิลปะและวัฒนธรรม

[แก้]

ธรรมชาติและกีฬา

[แก้]

ภาษา

[แก้]
  • ภาษาไทย
  • ทิงลิช ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้ใช้ภาษาไทย
  • ฝรั่ง คำภาษาไทยที่ใช้เรียกชาวต่างชาติที่เชื้อสายยุโรป

การท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปี 59 ทำเงินเข้าไทยกระเป๋าตุง! รัฐปลื้มตัวเลขท่องเที่ยวสวยหรู
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  3. UNTWO (2008). "UNTWO World Tourism Barometer, Vol.6 No.2" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-12-03. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  4. สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมาก
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-03-18.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-13.
  9. คนไทยรู้ยัง : ปี 2558 นักท่องเที่ยวจีนมีสัดส่วน 27% ของนักท่องเที่ยวทุกชาติที่มาเที่ยวไทย
  10. การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ
  11. รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์
  12. Hedrick-Wong, Yuwa; Choong, Desmond (2014). MasterCard 2014 Global Destination Cities Index. MasterCard. p. 3. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  13. "จากการจัดอันดับของ Master card" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 2016-06-27.
  14. tourism Intelligence center สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไทย
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-02-13.
  16. "สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2566 (Tourism Statistics 2023)". Ministry of Tourism & Sports. สืบค้นเมื่อ 27 JAN 2024. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. "สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562 (Tourism Statistics 2019)". Ministry of Tourism & Sports. สืบค้นเมื่อ 23 January 2020.
  18. Amazing Thailand, Amazing Value page 34
  19. "ชำนาญ ศรีสวัสดิ์" นั่งเก้าอี้ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยคนใหม่
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]