ชาวกะเหรี่ยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กะเหรี่ยง (แก้ความกำกวม)
กะเหรี่ยง
A Karen woman.jpg
เด็กหญิงชาวกะเหรี่ยงในชุดพื้นเมือง
ประชากรทั้งหมด
5,155,000 คน[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 พม่า3,604,000[2]
 ไทย1,000,000[3]
 สหรัฐ215,000 (2018)[4]
 ออสเตรเลีย11,000+[5]
 แคนาดา4,515[6]–5,000[7]
 อินเดีย (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์)2,500[8]
 สวีเดน1,500
ประเทศอื่น ๆ200,000+
ภาษา
ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาพม่า, ภาษาไทย
ศาสนา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท, ศาสนาคริสต์ และนับถือผี

กะเหรี่ยง (กะเหรี่ยงสะกอ: ကညီကလုာ်, ออกเสียง: [kɲɔklɯ]; กะเหรี่ยงโปตะวันตก: ၦဖျိၩ့ဆၨၩ; กะเหรี่ยงโปตะวันออก: ပ်ုဖၠုံဆိုဒ်) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต อาศัยอยู่มากในรัฐกะเหรี่ยง ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า กะเหรี่ยงมีประชากรประมาณร้อยละ 7 ของประชากรชาวพม่าทั้งหมด หรือประมาณ 5 ล้านคน ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพไปอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายแดนไทยพม่า

กลุ่มกะเหรี่ยงมักจะสับสนกับกะยัน ชาติพันธุ์ที่รู้จักกันดีสำหรับแหวนคอสวมใส่โดยผู้หญิงของพวกเขา แต่พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดง (กะยีนนี) ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธุ์กะยาในรัฐกะยาของพม่า

บางส่วนของชาวกะเหรี่ยงนำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่ต้นปี 1949 จุดมุ่งหมายของเคเอ็นยูครั้งแรกเพื่อแยกเป็นอิสระ ตั้งแต่ปี 1976 กลุ่มติดอาวุธได้เรียกร้องรัฐบาลกลางในการปกครองตนเองมากกว่าการที่จะแยกเป็นอิสระ

กะเหรี่ยงในประเทศไทย[แก้]

หมู่บ้านกะเหรี่ยงในภาคเหนือของไทย

ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี

คำว่า กะเหรี่ยง สันนิษฐานว่า มาจากภาษามอญ ကရေၚ် กะเรียง ที่ใช้เรียก ชาวปกาเกอะญอ (ส่วนมากเป็นกะเหรี่ยงพุทธ) อาจมีความเชื่อมโยงกับ ชื่อกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานที่มีอยู่ใน ธิเบต เนปาล ที่เรียกว่า กะยูปา หรือ ปากะญู ซึ่งมักแต่งกายด้วยชุดสีขาว และมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ซึ่งความเชื่อนี้อาจแพร่หลายเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อกว่าพันปีก่อน กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ

  • สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • โปวฺ เรียกตัวเองว่า โผล่วฺ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
  • ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ถิ่นที่อยู่[แก้]

เด็ก ๆ ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้าน

แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อย ๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร

บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น

ระบบครอบครัว[แก้]

ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน

สังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยา

ถ้ามีลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่

ความเชื่อ[แก้]

เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย คนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง ชาวกะเหรี่ยงพุทธที่อยู่ในประเทศไทยและแนวชายแดน มีความเชื่อและศรัทธาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยการบอกเล่าถึงการร่วมกันต่อสู้ในสงครามกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีในปัจจุบัน ล้วนสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นนักรบในกองทัพชาวสยามที่เรียกว่า กองเสือป่าแมวเซา กองอาทมาต และกองอาสา จึงมีความสัมพันธุ์อย่างแน่นแฟ้นในฐานะกัลยาณมิตรกับชาวไทยและชาวมอญที่เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มาแต่ครั้งรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในวิชาดาบ และวิชามวย ใกล้เคียงกันจนอาจกล่าวได้ว่ามีการผสมกลมกลืนสืบทอดกันมานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเชื่อว่า ชาวกะเหรี่ยง มีหน้าที่ดูแลรักษาแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นกันชนตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าในปัจจุบัน

หมายเหตุ...นับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่กับชาติพันธ์นี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากชีวิตของ ปง่า-เก่อ-หญอ อยู่กับป่าเขา ผูกพันกับธรรมชาติมาเนิ่นนาน จึงหล่อหล่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้ท่านได้มาอุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำกสิกรรมได้ผลผลิตดี ขอให้ท่านดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่านเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ และให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว เป็นความเชื่อที่ชาติพันธ์นี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ความเชื่อในลักษณะนี้มีอยู่ในทุกชนชาติ

การเลี้ยงชีพ[แก้]

ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์

เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก

การแต่งกายของกะเหรี่ยงโป อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-7 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ และรักษาสมดุลของนิเวศป่าไม้ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน

กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร พูดว่า (เถาะ) ไก่ พูดว่า (ชอ) โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง พูดว่า (เกอะชอ)ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น

ชื่อที่ตั้งให้[แก้]

ตุ๊กแกสายพันธุ์ Hemidactylus karenorum ถูกตั้งชื่อเพื่อยกย่องชาวกะเหรี่ยง[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "People Cluster - Karen". joshuaproject.net. Joshua Project. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  2. "Largest Ethnic Groups In Myanmar". Worldatlas.com. Reunion Technology.
  3. "Karen people". Australian Karen Foundation. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Jobs and housing lure karen refugees to spread across minnesota". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  5. "Burmese Community Profile" (PDF). dss.gov.au. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2017.
  6. Census Profile, 2016 Census, Statistics Canada, 8 February 2017
  7. "Karen refugees find freedom, hope in Windsor". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2015.
  8. Maiti, Sameera. "The Karen – A Lesser Known Community of the Andaman Islands (India)". CiteSeerX 10.1.1.517.7093. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael (2011). The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. ("Karen", p. 138).

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]