กฎหมายแรงงานไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมายแรงงานของประเทศไทยอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ กฎหมายหลักได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน กรอบกฎหมายส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาในช่วงกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พร้อมกับที่เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น

แม้กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมาคมและจัดระเบียบเพื่อต่อรองร่วมกันของผู้ใช้แรงงาน และอนุญาตให้ผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ในทางปฏิบัติ การคุ้มครองดังกล่าวไม่เพียงพอ ทำให้เกิดระบบสหภาพแรงงานที่อ่อนแอโดยทั่วไป กฎหมายยังคุ้มครองเฉพาะผู้ใช้แรงงานในภาคแรงงานอย่างเป็นทางการเท่านั้น และบ่อยครั้งไม่ครอบคลุมถึงประชากรคนงานเข้าเมืองขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากที่ได้รับว่าจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย วัตรทาสสมัยใหม่ (modern slavery) ในบางอุตสาหกรรมของประเทศกลายเป็นเป้าสนใจของนานาประเทศในคริสต์ทศวรรษ 2010

งานต้องห้ามแก่คนต่างด้าว[แก้]

รัฐบาลชาตินิยมจอมพล ป. พิบูลสงครามในคริสต์ทศวรรษ 1940 ออกกฎหมายสงวนบางอาชีพให้เฉพาะแก่บุคคลสัญชาติไทย

ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 คนต่างด้าวไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในอาชีพต่อไปนี้[1] ปัจจุบันรายการดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไข โดยมี 12 อาชีพที่เดิมสงวนไว้แก่บุคคลสัญชาติไทยจะเปิดให้แก่คนต่างด้าว[2]

  1. งานใช้แรงงาน ยกเว้นงานบนเรือประมง
  2. เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การทำไม้หรือการประมง ยกเว้นงานที่ต้องอาศัยความรู้พิเศษ การควบคุมดูแลไร่นา หรือแรงงานบนเรือประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมงในทะเล
  3. การทำอิฐ ช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
  4. การแกะสลักไม้
  5. การขับยานยนต์หรือยานพาหนะซึ่งไม่ใช้เครื่องยนต์หรือเครื่องกล ยกเว้นการขับเครื่องบินระหว่างประเทศ
  6. การขายสินค้ามีหน้าร้านและงานขายประมูล
  7. การควบคุมดูแล การสอบบัญชี หรือการให้บริการในด้านการบัญชี ยกเว้นการสอบบัญชีภายในเป็นครั้งคราว
  8. การตัดหรือเจียระไนพลอยเนื้อแข็งหรือพลอยเนื้ออ่อน
  9. การตัดผม การแต่งผม หรือการเสริมสวย
  10. ผ้าทอมือ
  11. การสานเสื่อหรือการผลิตเครื่องใช้จากอ้อ หวาย ปอ ฟางหรือไผ่
  12. การทำกระดาษสาด้วยมือ
  13. งานลงรัก
  14. การผลิตเครื่องดนตรีไทย
  15. งานเครื่องถม
  16. ช่างทองคำ ช่างเงิน หรืองานช่างโลหะผสมทองคำ/ทองแดง
  17. งานก่อสร้างหิน
  18. การผลิตตุ๊กตาไทย
  19. การผลิตฟูกหรือผ้านวม
  20. การผลิตบาตร
  21. การผลิตผลิตภัณฑ์ไหมด้วยมือ
  22. การผลิตพระพุทธรูป
  23. การผลิตมีด
  24. การผลิตร่มกระดาษหรือผ้า
  25. การผลิตรองเท้า
  26. การผลิตหมวก
  27. การเป็นนายหน้าหรือผู้แทน ยกเว้นในการค้าระหว่างประเทศ
  28. งานวิศวกรรมโยธาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการคำนวณ การทำให้เป็นระบบ การวิเคราะห์ การวางแผน การทดสอบ การควบคุมดูแลการก่อสร้าง หรือบริการให้คำปรึกษา ยกเว้นงานที่ต้องอาศัยเทคนิคชำนัญพิเศษ
  29. งานสถาปัตยกรรมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การวาด/สร้าง การประเมินราคา หรือบริการให้คำปรึกษา
  30. การผลิตเสื้อผ้า
  31. การผลิตเครื่องปั้นดินเผา
  32. การมวนบุหรี่ด้วยมือ
  33. การนำหรือจัดการเที่ยว
  34. การเร่ขายสินค้าและการเรียงพิมพ์ด้วยมือ
  35. การคลายหรือม้วนไหมด้วยมือ
  36. งานเสมียนหรือเลขานุการ
  37. บริการด้านกฎหมายหรือการเข้าร่วมในงานกฎหมาย ยกเว้นการอนุญาโตตุลาการ งานที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ในคดีในระดับอนุญาโตตุลาการ หากกฎหมายที่ว่าด้วยข้อพิพาทที่นักอนุญาโตตุลาการพิจารณานั้นมิใช่กฎหมายไทย หรือเป็นคดีซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในประเทศไทย

การจำกัดแรงงานต่างด้าว[แก้]

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 กฎหมายแรงงานฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับ โดยจำกัดจำนวนพนักงานต่างด้าวในธุรกิจซึ่งดำเนินการในประเทศไทย โดยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจคัดค้านกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างแรงงานเข้าเมือง

ค่าจ้างขั้นต่ำ[แก้]

บทอ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Brown, Earl V Jr (1 April 2003). "Thailand: Labour and the Law". Asia Monitor Resource Centre (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.

อ้างอิง[แก้]

  1. "OCCUPATIONS AND PROFESSIONS PROHIBITED FOR FOREIGN WORKERS; THE LIST APPENDED TO THE ROYAL DECREE IN B.E.2522 PRESCRIBING OCCUPATIONS AND PROFESSIONS PROHIBITED FOR FOREIGN WORKERS". Ministry of Labour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-03.
  2. "List of jobs reserved for Thais trimmed". The Nation. 22 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-18. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.