ถนนคนเดิน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() | มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ถนนคนเดิน (อังกฤษ: pedestrian precinct, pedestrian zone) เป็นการใช้พื้นที่ถนนสำหรับการจัดกิจกรรม อาจมีการปิดการจราจรชั่วคราว หรือถาวร เพื่อให้คนเดินเท้าสามารถใช้พื้นที่ถนนในการทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น เป็นที่จัดงานทางด้านวัฒนธรรม การแสดง ขายสินค้า ขายอาหาร งานพาเรด ตัวอย่างถนนที่มีการจัดเป็นถนนคนเดินในกรุงเทพฯ เช่น ถนนสีลม, ถนนข้าวสาร, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระจันทร์, ซอยประชานฤมิตร (ตรอกข้าวหลาม), ถนนเยาวราช, ถนนราชดำเนิน, ฯลฯ นอกจากกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดยังมีถนนคนเดินอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
- ถนนคนเดินพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ถนนธนารักษ์และลานกิจกรรมคนเมือง (ถนนคนคอน) จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ถนนข้าวเหนียว จังหวัดอุดรธานี
- ถนนวัวลาย (วันเสาร์) และข่วงประตูท่าแพ (วันอาทิตย์) จังหวัดเชียงใหม่
- ถนนรอบเมืองใน ช่วงประตูช้างสีถึงประตูมหาวัน จังหวัดลำพูน
- ถนนคนเดินปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ถนนคนเดินพัทยา เมืองพัทยา
- ประตูเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- ถนนวิศิษฐ์ศรี อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
- ตลาดโคยกี๊ จังหวัดราชบุรี
- ตลาดโต้รุ่งหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ถนนคนเดินเมืองเก่าปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- กาดเจียงฮายรำลึก จังหวัดเชียงราย
- กาดกองต้า จังหวัดลำปาง
- ถนนศรีตาปี บ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ถนนเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์
- ถนนคนเดินอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
- ถนนคนเดินหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
- ถนนคนเดินนครพนมจังหวัดนครพนม
แนวคิด[แก้]
แนวความคิดถนนคนเดินในประเทศไทยเริ่มต้นในสมัยที่ ดร.พิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ราวปี พ.ศ. 2540 และเป็นที่นิยมอย่างสูงสุด ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 เกิดโครงการถนนสายวัฒนธรรมสายต่างๆ ทั่วประเทศ
รูปภาพ[แก้]
-
ซอยประชานฤมิตร หรือตรอกข้าวหลาม ขณะจัดงานถนนสายไม้
-
ถนนเยาวราชเมื่อมีการจัดเป็นพื้นที่ถนนคนเดิน
-
ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน โดยใช้ชื่อว่า "โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม" (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544
-
ถนนอาทิตย์เมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน