อำเภอบ้านคา
อำเภอบ้านคา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Kha |
กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อีก 1 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี | |
คำขวัญ: สับปะรดหวานฉ่ำ งามล้ำตะนาวศรี มากมีแร่ธาตุ กราบอัฐิหลวงปู่เทสก์ แดนนิเวศน์เชิงคีรี ถิ่นคนดีชายแดน | |
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอบ้านคา | |
พิกัด: 13°25′48″N 99°24′30″E / 13.43000°N 99.40833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,026.9 ตร.กม. (396.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 25,300 คน |
• ความหนาแน่น | 24.64 คน/ตร.กม. (63.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7010 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านคา หมู่ที่ 1 ถนนชัฎป่าหวาย-โป่งกระทิง ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 70180 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บ้านคา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน[1] และยังเป็น 1 ใน 2 อำเภอของจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับสหภาพพม่า
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบ้านคามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสวนผึ้ง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจอมบึงและอำเภอปากท่อ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าปล้อง (จังหวัดเพชรบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอบ้านคาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสวนผึ้ง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านคา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[2] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบ้านคา ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับภายในวันที่ 8 กันยายน[3]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]4 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในช่วงเช้า นายทองมอญ เข็มทองขับรถรับส่งนักเรียนเพื่อไปส่งที่โรงเรียนบ้านคาวิทยา ระหว่างทางได้เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิงใส่รถรับส่งนักเรียนจนเป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 12 รายนับเป็นคดีฆาตกรรมเด็กที่ร้ายแรงที่สุดในประเทศจวบจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบ้านคาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ้านคา | (Ban Kha) | |||
2. | บ้านบึง | (Ban Bueng) | |||
3. | หนองพันจันทร์ | (Nong Phan Chan) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบ้านคาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านคาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี ป่ากงเกวียน และป่าพุยาง และป่าพุสามซ้อน ในท้องที่ตำบลอ่างหิน ตำบลทุ่งหลวง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ และตำบลหนองพันจันทร์ ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (9 ก): 1–2. วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านคา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 51 ง): 16. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550