พระมหาพิชัยมงกุฎ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหาพิชัยมงกุฎ
พระมหาพิชัยมงกุฎ.jpg
พระมหาพิชัยมงกุฎ
ตราสัญลักษณ์
Great Crown of Victory (heraldry).svg
รายละเอียด
สำหรับ ไทย
 ไทย
ผลิตเมื่อพ.ศ. 2325
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์ไทย
น้ำหนักสุทธิ7.3 กิโลกรัม
วัตถุดิบหลักทองคำลงยาบริสุทธิ์
อัญมณีสำคัญพระมหาวิเชียรมณี
ซุ้มเฉลิมพระเกียรติในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 แสดงภาพจำลองพระมหาพิชัยมงกุฎ

พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์[1] อันเป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

เครื่องประดับพระเศียรองค์แรก สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ในปีพุทธศักราช 2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎ ไม่รวมพระกรรเจียกจอน สูง 51 ซ.ม. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง 66 ซ.ม. มีน้ำหนักถึง 7.3 กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หามาจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"[2][3]

สถาบันการศึกษาที่ใช้พระมหามงกุฎเป็นสัญลักษณ์[แก้]

การใช้พระมหามงกุฎหรือพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายประจำสถาบันการศึกษานั้น ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษาที่ใช้พระมหามงกุฎหรือพระมหาพิชัยมงกุฎดังนี้

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

โรงเรียน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เบญจราชกกุธภัณฑ์ ของล้ำค่าของปวงชนชาวไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
  2. พระมหาพิชัยมงกุฎ
  3. "พระมหาพิชัยมงกุฎ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]