อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | |
---|---|
![]() ประตูทางเข้าอุทยานฝั่งถนนศรีอยุธยา (ประตูใหญ่) ในคราวเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ | |
![]() | |
ประเภท | สวนสาธารณะระดับย่าน |
คำขวัญ | สวนแห่งความสุขและความยั่งยืน |
ที่ตั้ง | ถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°45′46″N 100°31′03″E / 13.762850°N 100.517451°E |
พื้นที่ | 279 ไร่ |
เปิดตัว | ประมาณ พ.ศ. 2567 |
ผู้ออกแบบ | วรรณพร พรประภา และคณะทำงานออกแบบฯ[1] |
ที่มาของชื่อ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระบรมราชานุสาวรีย์, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) |
เจ้าของ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้ดำเนินการ | สำนักพระราชวัง |
สถานะ | กำลังก่อสร้าง |
Terrain | ป่า |
แหล่งน้ำ | สระน้ำรูปเลข ๙ ไทย พื้นที่ 47 ไร่ |
พืช | มากกว่า 4,500 ต้น จาก 55 พันธุ์ พื้นที่ 104 ไร่ |
Collections | พันธุ์ไม้ทรงปลูก 6 พันธุ์ |
ที่จอดรถ | 700 คัน (รถยนต์) 9 คัน (รถบัส) |
ระบบขนส่งมวลชน | รฟท. เหนือ รฟท. ตะวันออกเฉียงเหนือ รฟท. ใต้ ป้ายหยุดรถไฟยมราช, ป้ายหยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี รฟท. ตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ |
อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (อังกฤษ: King Rama IX Memorial Park) เป็นสวนสาธารณะระดับย่านในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนพื้นที่เขตพระราชฐานที่ถูกเรียกว่า "901 แลนด์" จำนวน 297 ไร่ บริเวณหัวมุมสามแยกนางเลิ้ง ล้อมรอบด้วยถนนสวรรคโลก ถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก ทางทิศใต้ของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของสนามม้านางเลิ้งที่หมดสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงตั้งพระหฤทัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงพระราชทานพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นสวนสาธารณะที่ออกแบบภูมิสถาปัตย์ตามแบบอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของทั้ง 2 พระองค์ ผ่านองค์ความรู้เรื่องน้ำและป่า เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์และศึกษาพระราชกรณียกิจของทั้ง 2 พระองค์ โดยมีจุดหลักคือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งประดิษฐานกลางอุทยาน เริ่มต้นการก่อสร้างจากการวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 คาดว่าการก่อสร้างอุทยานจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567 แต่ในส่วนของพระบรมราชานุสาวรีย์นั้นได้มีพิธีเปิดไปก่อนหน้านั้นแล้วเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ประวัติ[แก้]
พื้นที่ของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ นั้น เดิมเป็นที่ตั้งของราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสนามม้านางเลิ้ง ซึ่งเดิมให้บริการการแข่งม้าสำหรับคนไทย และกิจการที่เกี่ยวข้องกับม้า แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องการพนันและการกำหนดผลการแข่งขันขึ้น หลังจากสนามม้าแห่งนี้หมดสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เมื่อปี พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่าการพนันจะส่งผลเสียต่อวงกว้าง ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งอาจกระทบไปถึงครอบครัวของผู้เล่น[2] และทรงให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน[3] จึงพระราชทานพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็นเขตพระราชฐาน และถูกเรียกว่า "901 แลนด์"[4][ก] ให้เป็นสวนสาธารณะและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษาและใช้ประโยชน์จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะเรื่องน้ำ และป่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[6]
อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เริ่มมีการออกแบบและพัฒนาแบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561[7] และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2564 โดยที่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการจำกัดความเร็วและห้ามใช้เสียงในบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน 901 แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม[4] สำนักพระราชวังเผยแพร่วีดิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน[7] คาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ. 2567[8]
ภาพรวม[แก้]
อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 279 ไร่ ถือเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานครชั้นใน รองจากสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ[9] โดยมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
- ด้านทิศเหนือ ติดถนนศรีอยุธยา
- ด้านทิศตะวันออก ติดถนนสวรรคโลก
- ด้านทิศใต้ ติดถนนพิษณุโลก และบางส่วนติดโรงเรียนราชวินิต มัธยม
- ด้านทิศตะวันตก ติดถนนพระรามที่ 5
อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ถูกออกแบบภูมิสถาปัตย์ตามแบบอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ่ายการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากแนวพระราชดำริของทั้ง 2 พระองค์ คือเรื่องน้ำ และป่า ซึ่งนำมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสวน คือ "น้ำคือชีวิต จากนภา ผ่านภูผา สู่นที" แสดงให้เห็นถึงความผูกพัน และความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของมนุษย์กับธรรมชาติ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงใช้เป็นแก้มลิงเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน เป็นสถานที่ศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป และทรงอุทิศให้เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน[10] โดยมีพื้นที่หลักที่มีความเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดังนี้[9]
- ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ถือเป็นจุดหลักสำคัญและจุดศูนย์กลางของอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีลักษณะเป็นลานพื้นที่รูปไข่ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[11][7]
- สระน้ำรูปเลข ๙ มีจำนวน 47 ไร่ เป็นพื้นที่สำคัญในการศึกษาการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ตั้งแต่ "ต้นน้ำ" เช่น ฝายชะลอน้ำ, ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, หญ้าแฝก, "กลางน้ำ" เช่น พืชชุ่มน้ำ, กังหันน้ำชัยพัฒนา, บ่อปลานิล, เกษตรทฤษฎีใหม่ และ "ปลายน้ำ" เช่น พืชกรองน้ำ, พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น รวมถึงสามารถใช้เป็นแก้มลิงเชื่อมระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร และคลองสามเสน[12][6] โดยการกักเก็บน้ำทางผิวดินกลางสระน้ำและใต้ดินที่เชื่อมกับคลอง ซึ่งมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาช่วยในการออกแบบ เพื่อแก้ไขและรองรับปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนได้อีกด้วย[1]
- สะพานรูปเลข ๙ เป็นสะพานและทางเดินภายในสวน เชื่อมต่อจากทางเข้าฝั่งถนนพิษณุโลก เข้าสู่ลานประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทางด้านหลัง[1]
- สะพานหยดน้ำพระทัย เมื่อสะท้อนเงาจากน้ำจะเห็นเป็นรูปหยดน้ำ สื่อให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยพระองค์ที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์[9]
- สะพานไม้เจาะบากง เป็นการจำลองสะพานไม้เจาะบากง จังหวัดนราธิวาส ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงงาน บริเวณโดยรอบมีท่าน้ำ น้ำตก และลำธารจำลอง ตามแบบป่าฝนเขตร้อน[9]
- สวนป่าธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ 55 พันธุ์ จำนวนมากกว่า 4,500 ต้น ตลอดแนวพื้นที่สีเขียวจำนวน 105 ไร่ โดยเน้นปลูกต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่น มีความหมาย และมีประโยชน์ ตามแนวพระราชดำริ "ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" และสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในเมืองขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ PM2.5 และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เช่น ต้นไม้โตเร็วเพื่อสร้างร่มเงา, ต้นไม้ประจำจังหวัดต่าง ๆ, ต้นไม้หายาก, ต้นไม้กรองฝุ่น รวมถึงพืชกันเสียงบางชนิด และยังมีการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อให้ผู้มาใช้อุทยานได้รับความรู้ในหลากหลายด้าน[13]
นอกจากนี้ การออกแบบอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ยังมีการประยุกต์ใช้แนวคิดของสวนสมัยใหม่ (Modern Park) เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยการออกกำลังกาย ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เช่น ทางจักรยาน, ทางวิ่ง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อด้วยกันได้, ลานกิจกรรมสำหรับเล่นสเกตบอร์ด บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ รวมถึงการออกกำลังกายสำหรับบุคคลวัยกลางคนและผู้สูงอายุ เช่น โยคะ[1] นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ออกกำลังกายอื่น ๆ รวมถึงพื้นที่ริมน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่รองรับการใช้งานของประชาชนได้ทุกรูปแบบ[6]
พระบรมราชานุสาวรีย์[แก้]
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | |
---|---|
![]() พระบรมราชานุสาวรีย์หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิด เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | |
ที่ตั้ง | อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
ผู้ออกแบบ | สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร |
ประเภท | พระบรมราชานุสาวรีย์ |
วัสดุ | สัมฤทธิ์, หินอ่อน |
ความสูง |
|
เริ่มก่อสร้าง | 5 ธันวาคม 2564 |
สร้างเสร็จ | 10 ตุลาคม 2565 |
การเปิด | 13 ตุลาคม 2565 |
อุทิศแด่ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นอนุสาวรีย์ที่เป็นหัวใจสำคัญของอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนลานรูปไข่ บริเวณจุดศูนย์กลางของอุทยาน ซึ่งมีพื้นที่ 2,173 ตารางเมตร บนเนินสูง 7 เมตร[14] โอบล้อมด้วยป่าผสมผสาน มีช่องเปิดเพื่อเป็นร่องลมและเป็นแกนนำสายตาจำนวน 9 แกน[1] ทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบอุทยานสามารถมองเห็นพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ทั้งหมด[7]
รายละเอียด[แก้]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการปั้นต้นแบบพระบรมรูป[15] มีความสูง 7.70 เมตร คิดเป็น 4 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มยศของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นที่ประทับถาวรเมื่อครั้งทรงพระชนม์ของพระองค์ พระบรมรูปหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ประดิษฐานเหนือแท่นหินอ่อนแกะสลักเป็นฐานบัวทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม มีตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดิษฐานด้านหน้าแท่น รองรับด้วยฐานหินอ่อนแบบผังแปดเหลี่ยม[16] ตามคติของพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6] แสดงความหมายว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระบรมเดชานุภาพ มีผู้แทนประชาชนชาวไทยทั้ง 8 ทิศต่างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแผ่นดินด้วยความจงรักภักดี[10]
แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์มีความสูงทั้งหมด 9.05 เมตร บริเวณแท่นฐานยังประดับแผ่นคำจารึกหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ทั้ง 8 ด้าน จารึกพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข ก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อพระมหากษัตริย์ อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของประเทศไทย[17] รวมทั้งพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ ประกอบด้วย 8 หัวข้อ คือ พระราชประวัติ, พระราชาผู้ทรงธรรม, กลางใจราษฎร์, ปราชญ์ของแผ่นดิน, พระภูมินทร์บริบาล, นวมินทร์โลกกล่าวขาน, สืบสาน รักษา และต่อยอด และ บรมราชสดุดี[15] รวมถึงมีแท่นหินอ่อนวางพานพุ่มหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดับเป็นเครื่องสักการะประกอบทั้ง 4 ทิศ[18]
ฐานชั้นที่ 2 มีความสูง 1.50 เมตร เป็นฐานหินอ่อนสี่เหลี่ยมย่อมุม มีขอบกั้นเป็นรั้ว เปิดทางขึ้นลง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และฐานชั้นที่ 1 มีความสูง 1.20 เมตร เป็นฐานหินอ่อน รูปทรงวงรี มีขอบกั้นเป็นรั้ว เปิดทางขึ้นลง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาภายในอุทยานจากทั้งทางเข้าฝั่งถนนศรีอยุธยาและฝั่งถนนพิษณุโลกได้ขึ้นไปสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ได้โดยสะดวก พร้อมอ่างน้ำพุหินอ่อนทรงกลมประดับไว้ทั้ง 4 มุม รวมความสูงของพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้งหมด 19.45 เมตร แสดงความหมายว่า 19 คือ 1 + 9 = 10 หมายถึง รัชกาลที่ 10 และ 0.45 คือ 4 + 5 = 9 หมายถึง รัชกาลที่ 9[10]
การก่อสร้างและพิธีเปิด[แก้]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งภายหลังจากการทรงวางศิลาฤกษ์เรียบร้อยแล้ว พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการอุทยานเฉลิมพระเกียรติ และทรงปลูกพันธุ์ไม้ภายในอุทยานอีกด้วย ถือเป็นการเริ่มต้นการก่อสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ[19] ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระบรมรูปส่วนพระเศียรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[20] จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปจากโรงหล่อ บริษัท เอเชีย ไฟน์ อาร์ท จำกัด ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปยังอุทยานเฉลิมพระเกียรติเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565[21] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อช่วงเย็นวันเดียวกัน[22][17] และในขณะประกอบพิธีดังกล่าวได้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดขึ้นเหนือท้องฟ้า ทำให้ประชาชนหลายคนกล่าวขานถึงพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[23]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[24][25][26] ดังนั้น สำนักพระราชวังจึงได้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นการชั่วคราวในวันที่ 14-16 ตุลาคม และหลังผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้วจึงได้กลับมาปิดอุทยานเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สมพระเกียรติ ก่อนจะกลับมาเปิดอีกครั้งพร้อมกับอุทยานเฉลิมพระเกียรติตามกำหนดการที่วางไว้เดิมต่อไป[27]
พันธุ์ไม้ภายในอุทยาน[แก้]
พันธุ์ไม้ที่นำมาเพาะปลูกในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีทั้งหมด 55 พันธุ์ แบ่งเป็นพันธุ์ไม้ทรงปลูก 6 พันธุ์ และพันธุ์ไม้อื่น ๆ อีก 49 พันธุ์ ดังนี้[28]
พันธุ์ไม้ทรงปลูก[แก้]
พันธุ์ไม้ทรงปลูกจำนวน 6 พันธุ์นี้ มี 5 พันธุ์ที่ทรงปลูกโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ภายหลังทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้ทอดพระเนตรนิทรรศการอุทยานเฉลิมพระเกียรติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[19] และอีก 1 พันธุ์ที่ทรงปลูกโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ภายหลังเสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมาทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขึ้นประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว[17]
รวงผึ้ง ทรงปลูกโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัตนพฤกษ์ (คูนสายรุ้ง) ทรงปลูกโดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
พันธุ์ไม้อื่น ๆ[แก้]
|
สถานที่ใกล้เคียง[แก้]
- พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
- สวนจิตรลดา
- พระราชวังดุสิต
- คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กรมทางหลวง
- โรงพยาบาลมิชชั่น
- บ้านพิษณุโลก
- โรงเรียนราชวินิต มัธยม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร
- ทำเนียบรัฐบาล
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
- สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ดูเพิ่ม[แก้]
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- รายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
หมายเหตุ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "แรงบันดาลใจ วรรณพร พรประภา ทีมออกแบบอุทยานฯ ร.9 พื้นที่แห่งอนาคต". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-12-16. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ผู้พันเบิร์ด' เผยที่มา 'อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9' จากแนวพระราชดำริในหลวง". ไทยโพสต์. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "จาก "สนามม้านางเลิ้ง" สู่อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ พระราชประสงค์ในหลวงร.10 ลดปัญหาผลกระทบจากการพนัน". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจำกัดความเร็วและห้ามใช้เสียง บริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน (๙๐๑ แลนด์) พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 138 (พิเศษ 102 ง): 41. 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ "จิตอาสา 904 คืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไร". 2019-11-22. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "รู้จัก พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 แห่งอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต". ไทยรัฐ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "จากสนามม้านางเลิ้ง สู่อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9". บีบีซีไทย. 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผยโฉม! "อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ" ในพื้นที่สนามม้านางเลิ้ง". สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. 2021-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ""อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ ๙" ปอดแห่งใหม่กลางกรุง กับ 9 เรื่องน่ารู้". ฐานเศรษฐกิจ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 10.2 "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จ ฯ ไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร". หน่วยราชการในพระองค์. 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชมวีดิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เผยโฉม…อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9 รวม 297 ไร่ พื้นที่ 'สนามม้านางเลิ้ง'เดิม". มติชนสุดสัปดาห์. 2021-11-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สวนป่า ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร อุทยานเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปชช.ร่วมพิธีเปิดคึกคัก พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 9". ทีเอ็นเอ็น 16. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-12-03.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม". ข่าวช่อง 7HD. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สายข่าวในพระราชสำนัก NBT (2022-10-10). "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร". สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 17.0 17.1 17.2 Weerachokesathit, Tamonwan (2022-10-11). "รายละเอียด พระบรมรูป ร.9 อุทยานเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9". HELLO! Magazine Thailand. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สายข่าวในพระราชสำนัก NBT (2022-10-10). "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร". สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 19.0 19.1 "ในหลวง-ราชินี ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9". กรุงเทพธุรกิจ. 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ในหลวง ทรงเททองหล่อพระบรมรูป ร.9 ส่วนพระเศียร เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-07-13. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ nantnaphat (2022-10-10). "ประธานองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปในหลวง ร.9 จากโรงหล่อไปประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์". เรื่องเล่าข่าวเกษตร. สืบค้นเมื่อ 2023-01-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สายข่าวในพระราชสำนัก NBT (2022-10-10). "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร". สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุดอัศจรรย์ "พระอาทิตย์ทรงกลด" เกิดขึ้นพิธีอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ในหลวง ร.๙". ท็อปนิวส์. 2022-10-10. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กำหนดการในหลวง พระราชินี เสด็จฯ เปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
- ↑ "พสกนิกร ทยอยเฝ้ารับเสด็จเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม". ข่าวช่อง 7HD. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดให้ประชาชนสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ร.9 วันที่ 14-16 ต.ค.นี้". ฐานเศรษฐกิจ. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
- ↑ "เปิด 55 พันธุ์ไม้ ในอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ก่อนเปิดเข้าชมปี 2567". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- วีดิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากเว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ สำนักพระราชวัง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′46″N 100°31′03″E / 13.762850°N 100.517451°E