ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

พิกัด: 13°45′20″N 100°40′48″E / 13.755452°N 100.679932°E / 13.755452; 100.679932
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
Nawaminthrachinuthit Triamudomsuksanomklao School
ที่ตั้ง
แผนที่
248/89 หมู่ 3 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ต.อ.น. (NTUN)
ประเภทโรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ.
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
สถาปนา10 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ผู้อำนวยการนายประภาส พริพล
สีฟ้า - ชมพู
เพลงพระมหาพิชัยมงกุฏ
ต้นไม้เฟื่องฟ้าชมพู
เว็บไซต์www.ntun.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ก่อกำเนิดขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในปีพุทธศักราช 2535 มีโครงการจัดตั้งโรงเรียน โดย กรมสามัญศึกษา ในขณะนั้น มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ (72 ห้องเรียน) จำนวน 1 ใน 9 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ด้วยการติดต่อประสานงานของ คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า คุณขณิษฐา หาญอุตสาหะ ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คุณชูเกียรติ ลิ่มอรุณ ผู้จัดการหมู่บ้านสัมมากร ได้ติดต่อประสานงานกับ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของที่ดิน กรมสามัญศึกษาได้รับพระราชทานที่ดิน จำนวน 14 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา อันเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2534 โดยนายเผดิม สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมสามัญศึกษา ให้ดำเนินการทำนิติกรรมรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นที่ดินในบริเวณหมู่บ้านสัมมากร

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยใช้ชื่อว่า "เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2" ต่อมากรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้ นายเผดิม สุวรรณโพธิ์ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2 พร้อมทั้งได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ เป็นตึก 7 ชั้น ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งครุภัณฑ์ประจำห้อง อาคารอเนกประสงค์สูง 3 ชั้น พร้อมทั้งหอประชุม สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานและสนามบาสเกตบอล รวมทั้งหอพระพุทธรูปซึ่งมีความพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรมโดยมีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขประดับเครื่องยอด ส่วนยอดเป็นพระเกี้ยวโดยใช้ส่วนประกอบขององค์พระเกี้ยวตั้งแต่รัดเกล้าขึ้นไปจนถึงยอดโดยตัดส่วนหมอนรองออกไป ใช้จตุรมุขรองรับมีความหมายถึง อิทธิบาท 4 ส่วนฐานเป็นฐานปัทม์ 2 ชั้นหรือเรียกว่าฐานบัว 2 ชั้นโดยทางโรงเรียนได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (ตำแหน่งในขณะนั้น) อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง

โรงเรียนได้ดำเนินการรับนักเรียน รุ่น 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 472 คน แลำดำเนินการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา โดยการนำของผู้อำนวยการเผดิม สุวรรณโพธิ์ ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉลิมพระเกียรติว่า "โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า"

ในการดำเนินงานระยะแรก เนื่องจากอยู่ในระหว่างก่อสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนจึงใช้พื้นที่เดียวกับโรงเรียนพี่ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า) ดังนั้นแผนการเรียน 3 ปีแรกจึงมีนักเรียนปีละ 12 ห้องเรียน ต่อมาจึงได้ขยายแผนการเรียนเป็น 16 ห้องเรียน ทั้งนี้โดยมีนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อความเสมอภาค ส่งเสริมนักเรียนอย่างใกล้ชิดระหว่างบ้านและโรงเรียน ดีมาก

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]
  • พระเกี้ยว : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อมกำหนดให้ "พระเกี้ยว" เป็นพิจิตรเรขา หรือสัญลักษณ์ประจำรัชกาลพระองค์ หรือที่เรียกกันว่า "ตราจุลมงกุฎ" ซึ่งแต่เดิมมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดเครื่องหมายพระเกี้ยวเป็นตราประจำโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ตราพระเกี้ยวซึ่งเป็นตราประจำโรงเรียน ก็กลายมาเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบัน การใช้หมอนรองรับพระเกี้ยวเป็นสีชมพูนั้น เนื่องด้วยวันอังคารเป็นวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวนั่นเอง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ "พระเกี้ยว" เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
  • มงกุฎขัตติยราชนารี ประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. : มงกุฎขัตติยราชนารี คือ พระมหาพิชัยมงกุฎประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. อันเป็นสัญลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระมหาพิชัยมงกุฎเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในสมัยกรุงสุโขทัยเละกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ได้เรียกว่า "พระมหาพิชัยมงกุฎ" สร้างขึ้นมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎทองคำลงยาราชาวดี มีกระจังเป็นดอกไม้ไหวประดับด้วยจินดามณี เมื่อแรกสร้างไม่มีพระจอน และที่ยอดมงกุฎก็เป็นยอดพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงสร้างพระจอนเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนยอดมงกุฎเป็นเพชรลูกขนาดใหญ่ ซึ่งพระราชทานชื่อว่า "พระมหาวิเชียรมณี" พระมหากษัตริย์ทรงพระมหาวิชัยมงกุฎเป็นโอกาสแรกในวันถวายสิริราชสมบัติในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และในโอกาสต่อมา เมื่อเสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีเดียวกัน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ เข็มมงกุฎขัตติยราชนารีประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. เป็นตราประจำโรงเรียน ใช้ประดับอกเสื้อนักเรียน เหนืออักษรย่อ น.ต.อ.น.

อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียน

[แก้]

อาคารต่าง ๆ

[แก้]
  • อาคารเรียน : เป็นอาคาร 7 ชั้น ใช้เป็นอาคารเรียน ห้องพักคณาจารย์ ห้องสมุด ห้องศูนย์วิชาการต่าง ๆ ห้องเรียนสีเขียว ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ตั้งของโรงอาหารหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานกลุ่มบริหารงานวิชาการ สำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ สำนักงานกลุ่มบริหารงานทั่วไป
  • หอประชุม 100 ปีสมเด็จย่า : เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นสหกรณ์โรงเรียน ห้องดนตรีไทย ห้องดนตรีสากล ห้องนาฏศิลป์ ธนาคารโรงเรียนและโรงอาหารขนาดเล็ก ชั้นที่สองเป็นศูนย์ศึกษาด้วยตนเอง ห้อง IT ห้องคหกรรม และชั้นที่สาม เป็นที่ตั้งของหอประชุม
  • เรือนเกษตร : เป็นอาคารที่ใช้เรียนในวิชาเกษตร
  • เรือนพลานามัย : เป็นอาคารที่ใช้เรียนวิชาพลานามัยและศิลปะ

หอพระพุทธรูปประจำโรงเรียน

[แก้]

หอพระพุทธรูปประดิษฐานสมเด็จพระมหาราชทรงครุฑ พระพุทธรูปประจำโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขประดับเครื่องยอด ส่วนยอดเป็นพระเกี้ยว ใช้องค์ประกอบของพระเกี้ยวส่วนตั้งแต่รัดเกล้าขึ้นไปถึงยอด ตัดส่วนหมอนรองออกไป ใช้จตุรมุขรองรับ มีความ หมายถึง อิทธิบาท 4 (ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา) ส่วนฐานเป็นฐานปัทม์ 2 ชั้น หรือเรียกว่าฐานบัว 2 ชั้น ออกแบบและคุมการสร้างโดยศิลปินแห่งชาติ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ โดยที่ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความปรารถนาที่จะจัดสร้างหอพระพุทธรูปให้มีลักษณะงดงาม ด้วยศิลปกรรมไทย คงเอกลักษณ์อันงดงามยิ่งของช่างสิบหมู่ เพื่อสืบสานงานศิลป์ของไทยไว้เป็นปูชนียสถานน้อมนำใจพุทธศาสนิกชน กล่อมเกลาจิตใจเยาวชนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่าสืบไป

ลานกิจกรรม

[แก้]
  • สนามฟุตบอล : มีอัฒจันทร์ขนาดเล็กอยู่ด้านซ้ายมือของสนาม
  • ลานรวมใจ : อยู่ด้านหน้าของอาคารเรียน 7 ชั้น เป็นที่ประกอบพิธีการหน้าเสาธง และยังเป็นลานกีฬาอีกด้วย
  • ลานกีฬาฟ้า-ชมพู : อยู่ระหว่างหอประชุม 100 ปีสมเด็จย่ากับสนามบอล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สนามบาสเกตบอล และสนามวอลเลย์บอล

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

[แก้]
  • สวนพฤกษ์ศาสตร์โรงเรียน
  • สวนวรรณพฤกษ์

ผู้มีอุปการคุณโรงเรียน

[แก้]

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายเผดิม สุวรรณโพธิ์ พ.ศ. 2535
2. นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย พ.ศ. 2535พ.ศ. 2540
3. นางภรภัทร สิทธิวงศ์ พ.ศ. 2540พ.ศ. 2545
4. นายวิศัลย์ โกมุทพงศ์ พ.ศ. 2545พ.ศ. 2549
5. นายสมพงษ์ พลสูงเนิน พ.ศ. 2549พ.ศ. 2551
6. นางศิริพันธุ์ สุพรรณนพ พ.ศ. 2551พ.ศ. 2558
7. นายสุรพล พาลี พ.ศ. 2558 — พ.ศ. 2562
8. นายประภาส พริพล พ.ศ. 2562 — พ.ศ. 2567
9. ดร. พิสิษฐ์ ศุภวัฒน์ธนบดี พ.ศ. 2567 — ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′20″N 100°40′48″E / 13.755452°N 100.679932°E / 13.755452; 100.679932