โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ Ratwinit BangKaeo School, under the Patronage of His Majesty the King | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.ว.บ. (R.W.B.) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | ศึกษาดี มีวินัย ใฝ่กีฬา รักษาคุณธรรม ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สะอาด มารยาทดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้ กตัญญู เสียสละ สติมโต สทา ภทฺทํ (ผู้มีสติย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ) |
สถาปนา | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (52 ปี 354 วัน) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
รหัส | 11022007 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สหศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 3,629 คน ปีการศึกษา 2560[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน |
สี | แสด ดำ |
ต้นไม้ | ประดู่แดง |
เว็บไซต์ | http://www.rwb.ac.th |
โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนสหศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์[2] สังกัดส่วนกลาง กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยคำว่า "ราชวินิต " หมายความว่า "สถานที่ อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้เป็นคนดีโดยพระราชา"
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โดยมีประวัติเริ่มจากนายสุขุม และคุณหญิงจันทร์ฟอง ถิระวัฒน์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน จำนวน 30 ไร่ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2513 เพื่อก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแทนสถานที่บริเวณโรงเรียนราชวินิตซึ่งคับแคบ ไม่สามารถจะขยายออกไปได้ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาสายสามัญ เมื่อวันที่ 16 พฤจิกายน 2514 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงเรียนด้วยเงินงบประมาณปีพ.ศ. 2513 จะสำเร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2515 เป็นอย่างช้า และได้รับพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2515 โดยขณะนั้นมีนักเรียน 347 คน ปัจจุบันโรงเรียนมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 42 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา
นับแต่โรงเรียนราชวินิตบางแก้วได้ก่อตั้งมา โรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ด้านความเจริญเติบโตก้าวหน้าของโรงเรียนมาโดยตลอด ดังเห็นได้จากการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนต่าง ๆ ของโรงเรียน ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนหลังที่ 1 อาคาร “ร่มเกล้า” ทรงปลูกต้นประดู่แดงไว้เป็นที่ระลึกโรงเรียนจึงถือว่าวันที่ 9 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน และถือเอาต้น“ประดู่แดง” เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน
ครั้งที่ 2 วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “บงกชมาศ”
ครั้งที่ 3 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ราชวิธานค์”
ครั้งที่ 4 วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ และตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ประดิษฐานหน้าอาคาร
ครั้งที่ 5 วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร“เฉลิมพระเกียรติ” อาคาร “สิริยาคาร” และอาคาร“พิพิธภัณฑ์” กับทั้งได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
ครั้งที่ 6 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์สืบค้นข้อมูลนานาชาติ (R.W.B.International Resource Center) และห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช
ครั้งที่ 7 วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 48 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ
ครั้งที่ 8 วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติครองราชย์ 60 ปี ศูนย์เทคโนโลยีสิรินธร และสวนเจ้าฟ้านักเกษตร
ครั้งที่ 9 วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร เฉลิมพระเกียรติ ทั้งได้รับพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ประดิษฐานหน้าอาคาร “เฉลิมพระเกียรติ”
รายนามผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฏ | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2515—10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | ครูใหญ่ |
2. นางนภา หุ่นจำลอง | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515—10 กันยายน พ.ศ. 2518 | อาจารย์ใหญ่ |
3. นางบุษยา สาครวาสี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518—31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 | อาจารย์ใหญ่ |
3. นางบุษยา สาครวาสี | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2521—17 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 | ผู้อำนวยการ |
4. นางสาวสุวรรณา เอมประดิษฐ์ | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2527—10 กันยายน พ.ศ. 2535 | ผู้อำนวยการ |
5. นางมาลี ไพรินทร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535—30 กันยายน พ.ศ. 2540 | ผู้อำนวยการ |
6. นายเชิดชัย พลานิวัติ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540—7 มกราคม พ.ศ. 2546 | ผู้อำนวยการ |
7. นายกมล บุญประเสริฐ (เปลี่ยนชื่อเป็น นายณัฐพัชร์ บุญประเสริฐชีวา) | 8 มกราคม พ.ศ. 2546—6 มกราคม พ.ศ. 2553 | ผู้อำนวยการ |
8. นายบุญชู หวิงปัด | 7 มกราคม พ.ศ. 2553—30 กันยายน พ.ศ. 2559 | ผู้อำนวยการ |
9. นายจิราพงศ์ จุติธนะเสฎฐ์ | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559—ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
เกียรติประวัติโรงเรียน
[แก้]เกียรติประวัติโรงเรียน
[แก้]- โรงเรียนต้นแบบสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมสามัญศึกษา[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนส่งเสริมประชาธิปไตยตัวอย่าง[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลโรงเรียนพระราชทาน[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก ระดับดีมาก 17 มาตรฐาน ระดับดี 1 มาตรฐาน[ต้องการอ้างอิง]
- นักเรียนรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564, 2565, และ 2566
ด้านวิชาการ
[แก้]- ชนะเลิศ การแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ครั้งที่ 9 ประเภท คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและบริการเครือข่าย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2551 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2548 รอบชิงชนะเลิศ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- ปีการศึกษา 2547 การแข่งขันการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ สสวท รางวัลชมเชย[ต้องการอ้างอิง]
- เกียรติบัตรเหรียญทองแดง การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[ต้องการอ้างอิง]
ด้านดนตรีไทย
[แก้]- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดดนตรีไทยมหาดุริยางค์ รายการ “ อัศจรรย์ คันธรรพ ” ทางทีวีไทย PBS[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7 สมัยติดต่อกันวงปี่พาทย์ไม้นวม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2550, 2551, 2552, 2553, 2554, 2555 (2556 ครองที่2 ไม่มีที่1) และปัจจุบัน 2557[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงเครื่องสายผสม มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2548, 2550[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศ ครองถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีวงอังกะลุง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปี 2549, 2552[ต้องการอ้างอิง]
ด้านดนตรีสากล
[แก้]- ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานประเภทนั่งบรรเลง (Concert Band) ประจำ พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงโยธวาทิต ระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเภท ก ประจำ พ.ศ. 2536-2542[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลเหรียญทองการแปรขบวน รางวัลเหรียญทองการเดินมาร์ชชิ่ง การประกวดดนตรีโลก ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลรองชนะเลิศการประกวดดุริยางค์เครื่องลมนานาชาติ (Asian Symphonic Band Competition[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลชนะเลิศการประกวด Rangsit Music Competition 2016 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช[ต้องการอ้างอิง]
- ราฃวัลชนะเลิศดนตรีธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน พ.ศ. 2559 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี[ต้องการอ้างอิง]
ด้านกีฬา
[แก้]กีฬาฟุตซอล
[แก้]- รองแชมป์กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2550(จังหวัดชุมพร)[ต้องการอ้างอิง]
- แชมป์เนชั่นแมน สพฐ.ฟุตซอลลีก ครั้งที่ 4 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ปี 2551(รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี)[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศอันดับ 3 รายการฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ซูเปอร์แม็ต[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศฟุตซอลรายการกรมพลศึกษา รุ่นอายุ 16 ปี ประเภททั่วไป ปี 2558[ต้องการอ้างอิง]
กีฬาฟุตบอล
[แก้]- ชนะเลิศฟุตบอลนักเรียนชิงแชมป์ถ้วย ทอ. อายุไม่เกิน 16 ปี พ.ศ. 2544[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศฟุตบอลแชมป์กีฬา 7 สี ปี 2548[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศฟุตบอลแชมป์กีฬา 7 สี ปี 2550[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศฟุตบอลแชมป์กีฬา 7 สี ปี 2551[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศฟุตบอลไฮสคูลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2551[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศฟุตบอล ACS CUP 10 รองชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยนายกรัฐมนตรี ระดับภาคตะวันออก[ต้องการอ้างอิง]
- ชนะเลิศฟุตบอล เชวชนแห่งชาติ มะขามหวานเกมส์ ปี 2556[ต้องการอ้างอิง]
- รองชนะเลิศฟุตบอลแชมป์กีฬา 7 สี ปี 2556[ต้องการอ้างอิง]
ด้านพัฒนาผู้เรียนและอื่นๆ
[แก้]- รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการประกวดการสร้างโมเดลลูกโลกจากวัสดุเหลือใช้ ภายใต้แนวคิด "Anit Druge Anti"[ต้องการอ้างอิง]
จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[ต้องการอ้างอิง]
- โรงเรียนต้นแบบการพัฒนาระบบการรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาปีการศึกษา 2549[ต้องการอ้างอิง]
- สถานศึกษานำร่องและให้การสนับสนุนการฝึกยุวชนทหารส่วนกลางที่ 1 โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]
- รางวัลสถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น โดยหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง[ต้องการอ้างอิง]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พลเรือเอก เกริกไชย วัจนาภรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
- พลเรือโท กฤษณะ กุณเฑียะ รองเสนาธิการทหารเรือ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
- พลเรือโท กิตติ ยศไกร รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
- พลเรือตรี ธนากร แจ้งจิตร ผู้อำนวยการอู่ราชนาวี มหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ
- พลอากาศเอก เชี่ยวชาญ รุดดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- พลตำรวจเอก สุรพล อยู่นุช ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค นักมวยสมัครเล่นทีมชาติไทย เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
- วงแคลช วงดนตรีร็อกชื่อดัง
- บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (พ.ศ. 2547) ห้าแพร่ง (พ.ศ. 2552) กวน มึน โฮ (พ.ศ. 2553) พี่มาก..พระโขนง (พ.ศ. 2556)
- เอกราช เก่งทุกทาง ผู้ประกาศข่าวกีฬาประจำสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- สุรพันธ์ ปวัฑฒนันท์ (แมวเพชร) คอลั่มนิสต์สตาร์ซ็อคเกอร์ และผู้ดำเนินรายการกีฬา
- กวี ตันจรารักษ์ นักร้องจาก ดีทูบี ร.ว.บ. รุ่น 23
- สโรชา ตันจรารักษ์
- นักดนตรีวงนานา
- ฝนทิพย์ วัชรตระกูล มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส[3] และขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชนประจำปี พ.ศ. 2553 ร.ว.บ.รุ่น 36
- รัฐภาคย์ วิไลโรจน์ นักแข่งรถมอเตอร์ไซด์ทางเรียบ โมโตทู
- สนฉัตร รติวัฒน์ - สรรค์ชัย รติวัฒน์ คู่แฝดนักเทนนิสทีมชาติ
- วรรณวิมล เจนอัศวเมธี นักแสดง GMM TV
อาคารและสถานที่
[แก้]
|
|
|
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน
[แก้]- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) 14 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
- ห้องเรียนพิเศษ EIS (English Integrated Study)
- ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
- ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
- ห้องเรียนทั่วไป
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) 16 ห้องเรียน แบ่งเป็น
- ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science & Mathematics Intensive Program : SMIP)
- ห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology : SMT)
- ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น
- ห้องเรียนเตรียมนายร้อย (Pre-cadet)
- ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาจีน (Chinese Intensive Program : CHIP)
- ห้องเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
- ห้องเรียนดนตรี (Music Program : MSP)
- ห้องเรียนโครงการความสามารถพิเศษฟุตบอลและฟุตซอล
คณะสี 6 คณะ
[แก้]บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
- ██ คณะธำรงชาติ (สีชมพู)
- ██ คณะเกื้อศาสน์ (สีเหลือง)
- ██ คณะเทิดกษัตริย์ (สีฟ้า)
- ██ คณะศาสตร์พัฒนา (สีเทา)
- ██ คณะประชาบำรุง (สีเขียว)
- ██ คณะผดุงเอกลักษณ์ (สีม่วง)
สถานที่ใกล้โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
[แก้]- ไทวัสดุ สาขาบางนา
- ศูนย์การค้า เมกาซิตี้ บางนา
- โลตัส สาขาบางนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จำนวนนักเรียน
- ↑ http://www.prdnorth.in.th/The_King/king_study_01.php เก็บถาวร 2010-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ http://women.kapook.com/view11413.html มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2553
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ