โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ
Winitsuksa School Under Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn
ที่ตั้ง
แห่งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 10 ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000 แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ศ.
ประเภทเอกชน
สถาปนา20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
ผู้ก่อตั้งพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพุทธวรญาณ(ทองย้อย กิตติทินโน)
หน่วยงานกำกับคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ผู้อำนวยการพระเทพเสนาบดี (ประเทือง อาภาธโร) เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - ม.6
สีเหลือง - แดง
เว็บไซต์http://winitsuksa.ws.ac.th

โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ย่อ " ว.ศ." ) เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ประเภทสามัญศึกษา และเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มี 2 ระดับชั้นคือ มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 5,000 คน และมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรรวมทั้งสิ้น 250 คน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเอกชน ปัจจุบันมี พระเทพเสนาบดี(ประเทือง อาภาธโร) เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เป็นผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

โรงเรียนวินิตศึกษาฯ เป็น โรงเรียนเครือข่าย(Partner School) กับ Anderson Secondary School ประเทศสิงค์โปร์ และเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง(Sister School) กับ Pittwater House School ประเทศออสเตรเลีย

โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สช. ประเภทสามัญศึกษา และเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

อาคารสถานที่และโครงการ[แก้]

โรงเรียนวินิตศึกษาฯ แห่งที่1 มีพื้นที่ประมาณ 8.2 ไร่  มีอาคารเรียนคอนกรีต 4 ชั้น 3 หลัง (อาคารกิตติอุทัย อาคารธรรมญาณ84 และ อาคารพระราชูปถัมภ์) อาคารไม้ 2 ชั้น 2 หลัง (อาคารสังกรบูชิต และอาคารธรรมญาณนฤมิตร) อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง  (อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา) อาคารพระพุทธวรญาณ และหอประชุมบัวอ่อน (ปัจจุบันเป็นยิม)

โรงเรียนวินิตศึกษาแห่งที่ 2 มีทั้งหมด 3 อาคารมี 5 ชั้น ได้แก่ 1. อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ 2. อาคารอุไรศรี 3. อาคารอัมพวัน ส่วนหอพักนักเรียนอยู่ชั้น 1ของอาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำและอาคารอัมพวันส่วนหอพักหญิงอยู อาคาร ดร.อุไรศรี มีโดมมีพื้นที่ 6773 ตารางเมตร มี มินิมาร์ท 2 ที่มีอาคารบรรยายรวม 9 แห่ง มีศาลา 4 ที่ มีอ่างเก็บน้ำขนาด 17453 ตารางเมตร มีสวนเกษตรกรรม มีฟาร์มห่าน และศูนย์การเรียนศาสตร์พระราชา

รายชื่อ โครงการ

1.โครงการ Textbook สอวน. 2.โครงการสอวน. 3.โครงการอัจฉริยะภาพทางวิชาการ 4.โครงการช้างเผือก 5.โครงการสอนสองภาษา 6.โครงการเตรียมพร้อมทางวิชาทหาร 7.โครงการทุนหลวง

ประวัติโรงเรียน[แก้]

วันที่ 20 พฤษภาคม 2489 ก่อตั้งโดยหลวงพ่อพระพุทธวรญาณ (ทองย้อย กิตติทินโน) ซึ่งเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และเจ้าคณะตรวจการภาค6 กับ  คณะศิษย์ 4 คน ได้จัดตั้งโรงเรียนวินิตศึกษาขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกอบรม คุณธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ให้สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้ และดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยคุณธรรมอันดี เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1  ถึงมัธยมศึกษาปีที่3 มีนักเรียน 120คน  ครู 7คน  ใช้ศาลาวัดกวิศราราม และอาคารสถานที่ของวัดเป็นที่เรียน โดยท่านเป็นผู้อำนวยการ และมี ครูประพันธ์ ผลฉาย เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2492  กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ภายหลังจากได้ดำเนินการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ได้เพียง ๓ ปี และได้ย้ายสถานที่เรียน มาสร้างอาคารถาวรด้านหลังวัด    ซึ่งเป็นอาคารเรียนปัจจุบัน    โดยมี  อาจารย์ประพัฒน์ ตรีณรงค์  เป็นครูใหญ่คนที่2

พ.ศ. 2493 ได้โอนเข้าเป็นสมบัติของของกวิศรารามมูลนิธิและได้โอนเป็นของวัดกวิศราราม

พ.ศ. 2530    โรงเรียนวินิตศึกษาจึงมีฐานะเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยสมบูรณ์

พ.ศ. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระเมตตารับโรงเรียนวินิตศึกษา ไว้ในพระราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2538  โรงเรียนวินิตศึกษา ได้รับเกียรติบัตรรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2539  โรงเรียนได้จัดโครงการใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยการจัดตั้งโครงการสอนสองภาษา (Bilingual Programme) รวม 6 รายวิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา งานบ้าน พลศึกษา ปัจจุบันปี พ.ศ. 2544 เปิดสอนเพิ่มเป็น 9 รายวิชา

พ.ศ. 2540  โรงเรียนวินิตศึกษา ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนเครือข่าย (Partner School) กับ Anderson Secondary School โรงเรียนอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศสิงคโปร์

พ.ศ. 2541 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านมัธยมศึกษา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)

พ.ศ. 2542  โรงเรียนวินิตศึกษา ได้ลงนามข้อตกลงโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (SISTER SCHOOL) กับ Pittwater House School ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. 2548 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ

รางวัล[แก้]

  • วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ จ.ลพบุรี ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรายการชิงช้าสวรรค์ ฤดูกาลที่ 9 ประจำปี 2558[ต้องการอ้างอิง]
  • วงโยธวาทิตโรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ จ.ลพบุรี ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประกวดวงโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2547[ต้องการอ้างอิง]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]