ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน
Navamindarajudis Isan School
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ม.อ. / N.M.I.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา22 มีนาคม พ.ศ. 2528
สีน้ำเงิน-เหลือง
เพลงมาร์ชนวมินทราชูทิศ,เพลงร่มราชพฤกษ์
ต้นไม้ราชพฤกษ์
เว็บไซต์www.nmi.ac.th

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน เป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ประจำภาคอีสาน ซึ่งเป็นถาวรวัตถุทางการศึกษาที่ปวงชนชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวาย นอกจากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน จะได้ทำหน้าที่เป็นสถานให้การศึกษาแก่เยาวชนชาวมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี สมกับปรัชญาความรู้คู่คุณธรรม เอกลักษณ์ที่สำคัญและโดดเด่นอย่างหนึ่งของโรงเรียนคือ อาคารเรียนและอาคารประกอบลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทยประยุกต์แบบอีสาน ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน และลูกนวมินท์ทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ต่างมีความรักภาคภูมิใจในสถาบัน และภูมิใจใน ตรานวมินทราชูทิศ อีสาน

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน เป็นโรงเรียน 1 ในจำนวน 5 โรงเรียน ตามโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อพุทธศักราช 2530 เพื่อเป็นถาวรวัตถุทางการศึกษาสืบไป

โดยกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2528 ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนนวมราชูทิศ อีสาน" ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ปีเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เพื่อความสมบูรณ์และความไพเราะในเชิงอักษรศาสตร์ โดยอาศัยอำนาจตามข้อความในข้อ 23 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 จึงทำให้โรงเรียนเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน"

โดยการจัดตั้งโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ขึ้น 5 โรงเรียน ตามหลักภูมิศาสตร์ของประเทศ ภาคละ 1 โรงเรียน ดังนี้

  1. ส่วนกลาง โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
  2. ภาคใต้ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ที่จังหวัดสงขลา
  3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน ที่จังหวัดมุกดาหาร
  4. ภาคกลาง โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม ที่จังหวัดนครสวรรค์
  5. ภาคเหนือ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่

กรมสามัญศึกษมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะจัดโรงเรียนมวมินทราชูทิศ ทั้ง 5 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 60 ห้องเรียน สามารถรับนักเรียนเข้าเรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 2,700 คน โดยจัดให้โรงเรียนมีความพร้อมความสมบูณ์ ด้านอาคารเรียน อาคารประกอบ วัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์การเรียนการ สอน ตลอดจนกำลังบุคลากร กรมสามัญศึกษาปรารถนาที่จะส่งเสริมโรงเรียนนวมินทราชูทิศ 5 แห่ง ให้มีคุณภาพมาตรฐานสูง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในด้านการบริหาร การปกครอง นักเรียนมีระเบียบวินัย มีศีลธรรมจรรยาและมีความกตัญญูกตเวทีต่อประเทศชาติ และพระมหากษัตริย์ อย่างดีเยี่ยมสมกับชื่อ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ

ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

เกียรติประวัติ

[แก้]

ความหมายของนามโรงเรียน

[แก้]
  • นวมินทราชูทิศ อีสาน เป็นมงคลนามพระราชทาน เกิดจากการสนธิคำในภาษาบาลีสันสกฤตคือ
    • นวม (อ่านว่า นะ-วะ-มะ) ว.ที่ 9 เช่น นวมสุรทิน = วันที่ 9. (ป.) [1]
    • อินท (อ่านว่า อิน-ทะ) น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช,พระอินทร์;ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).
    • ราชา (อ่านว่า รา-ชา) น. พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์. (ป., ส.).
    • อุทิศ (อ่านว่า อุ-ทิด) ก. ให้, ยกให้,ทำเพื่อ,สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง).

นวมินทราชูทิศ เกิดจากการสนธิคำว่า นวม กับ อินท เป็น นวมินท และ ราชา กับ อุทิศ เป็น ราชูทิศ จากนั้นนำคำว่า นวมินท มาสมาส กับคำว่า ราชูทิศ เป็น นวมินทราชูทิศ

  • นวมินทราชูทิศ (อ่านว่า นะ-วะ-มิน-ทะ-รา-ชู-ทิด) จึงมีความหมายว่า สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่ รัชการที่ 9
  • อีสาน (อ่านว่า ทัก-สิน) น.ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ว่า ทิศอีสาน.

ชื่อโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ต้องมีชื่อภาคเป็นสร้อยท้ายชื่อเพื่อบอกว่าเป็นโรงเรียนนวมินทราชูทิศประจำภาคใด เช่น โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ เป็นโรงเรียนนวมินทราชูทิศประจำภาคใต้ เป็นต้น

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน[2]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ พ.ศ. 2528
2 นางเพ็ญศรี รูปขจร พ.ศ. 2528 - 2535
3 นายยงยุทธ สายคง พ.ศ. 2535 - 2540
4 นายสว่าง สลางสิงห์ พ.ศ. 2540 - 2550
5 นายสุรชัย ติยะโคตร พ.ศ. 2550 - 2561
6 นายธนิต ทองอาจ พ.ศ. 2561 - 2564
7 นายเกษร สินพูน พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน


กลุ่มโรงเรียนนวมินทราชูทิศ 5 ภูมิภาค

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พจนานุกรมราบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  2. https://sites.google.com/a/nmi.ac.th/nmi/thaneiyb-phu-brihar