โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
Kanjanapisek Wittayalai Suphanburi School (KPSP)
ข้อมูล
ชื่ออื่นกภ.สพ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล สหศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สีสีเหลืองทอง-น้ำเงิน
เพลงมาร์ช - กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
ต้นไม้ต้นราชพฤกษ์
เว็บไซต์http://www.kpsp.ac.th

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งใน 9 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัด การฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี(พระราชพิธีกาญจนาภิเษก) ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จัดตั้งโดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยถือเอาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 เป็นวันสถาปนาโรงเรียน

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปัจจุบันโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ได้มีการยกระดับให้ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่นเดียวกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเพื่อสนองตอบต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในการพัฒนาเยาวชนให้สู่ความเป็นเลิศ ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกอีกทั้ง 8 แห่ง ซึ่งคณะทำงานในการยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เสนอแผนโครงการ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบให้ สพฐ. ได้ปรับใช้งบประมาณปี 2554 มาดำเนินการให้กับโรงเรียนในการปรับปรุงเบื้องต้น โรงเรียนละ 5 ล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาตั้งแต่ปี 2555-2561 ให้ สพฐ. ดำเนินการตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้จัดทำร่วมกัน

ประวัติโรงเรียน[แก้]

เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย อย่างล้นพ้น และทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาในการที่จะพัฒนาบุคคล และประเทศชาติให้เจริญอย่างมีประสิทธิภาพได้จากพระราชกรณียกิจของพระองค์สะท้อนให้เห็นแนวพระราชดำริ ที่ทรงมุ่งมั่น พระราชหฤทัยที่จะส่งเสริม ทำนุบำรุงการศึกษา ให้แก่นักเรียนและเยาวชนของชาติ ซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ที่เจริญเติบโตให้เป็นพลเมืองของประเทศชาติที่ดีในภายภาคหน้าประกอบกับรัฐบาลสมัยนั้นมีการเร่งรัดการขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา อย่างทั่วถึงในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีนโยบายที่จะกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ กรมสามัญศึกษาได้เล็งเห็นว่าโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รับนักเรียนประจำชายได้โอนมาอยู่ในความดูแลของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยคณะกรรมการราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา ได้เรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น คือ นายอภัย จันทวิมล ขอให้พิจารณาและได้รับความเห็นชอบในหลักการที่จะให้โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นโรงเรียนตัวอย่างของโรงเรียนประจำ ที่อาจจะตั้งเพิ่มขึ้นในกาลต่อไป

และจากการดำเนินงานปรากฏว่านักเรียนของโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย เป็นนักเรียนที่มีระเบียบวินัย  มีจรรยามารยาทเรียบร้อย มีความเป็นผู้นำ เป็นสุภาพบุรุษ มีร่างกายแข็งแรง มีความรู้ความสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ กรมสามัญศึกษา จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนลักษณะโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย ขึ้นในเขตการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

         จากโครงการของกรมสามัญศึกษาดังกล่าว จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตการศึกษา 5 ได้รับการพิจารณาจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งโรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ได้พระราชทานนามโดยใช้ชื่อโรงเรียนครั้งแรกว่า “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี จังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี”

         ต่อมาภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า  “โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี” เป็นโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 พร้อมกันกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ในจังหวัดอื่น ๆ อีก 8 โรงเรียน คือ 

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี 

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่    

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี 

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์  

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ 

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ชัยภูมิ     

         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา

โดยในปัจจุบันมีโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จังหวัดสกลนคร ได้มาเข้าร่วมกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยด้วย รวมเป็นกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ทั้ง 10 โรงเรียน

ตราโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย สุพรรณบุรี(ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.)

สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิจารณาที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่บริเวณหนองปลาดุก หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่ จำนวน 94 ไร่ 3 งาน 58 ตารางวา ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  สุพรรณบุรี อยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 33 ประมาณ 1.7 กม.

  • เอกลักษณ์ของกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย คือ ชุดพิธีการสีขาว และหลักเบญจวิถี ทั้ง 5 ข้อ ได้แก่ เทิดทูนสถาบัน กตัญญู บุคลิกดี มีวินัย และให้เกียรติ

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

แผนการเรียนที่เปิดสอน[แก้]

  • ใบปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ได้เปิดแผนการเรียนการสอน ดังนี้
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3 (ระดับชั้นละ 13 ห้อง)
    • แผนการเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (แก้วกาญจนาฯ) จำนวน 2 ห้อง
    • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษ Mini English Program (MEP.) จำนวน 1 ห้อง
    • แผนการเรียนห้องเรียนปกติ จำนวน 9 ห้อง
    • ห้องเรียนดนตรีไทย จำนวน 1 ห้อง
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-6 (ระดับชั้นละ 12 ห้อง)
    • แผนการเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (เพชรกาญจนาฯ) จำนวน 2 ห้อง
    • แผนการเรียนห้องเรียนพิเศษ สสวท. จำนวน 1 ห้อง
    • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
    • แผนการเรียนศิลป์ - คำนวณ จำนวน 2 ห้อง
    • แผนการเรียนศิลป์ - ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง
    • แผนการเรียนศิลป์ - ภาษาจีน จำนวน 1 ห้อง
    • แผนการเรียนศิลป์ - ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้อง

กีฬาภายใน "ราชพฤกษ์เกมส์"[แก้]

กีฬาภายใน "ราชพฤกษ์เกมส์" ประกอบไปด้วยคณะสี ดังนี้

  • คณะศรีอิทราทิตย์ (สีแดง)
  • คณะสุรสีหนาท (สีเขียว)
  • คณะสีหราชเดโชชัย (สีชมพู)
  • คณะวิชิตวงศ์วุฒิไกร (สีฟ้า)

กีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย "กาญจนาเกมส์"[แก้]

ความเป็นมาของการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนได้กำหนดโครงการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย "กาญจนาเกมส์" ขึ้นโดยมีเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา ตามจุดเน้นของกลุ่มโรงเรียน นำไปสู่การพัฒนาด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ ให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน ให้สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นนักกีฬา นักดนตรี และศิลปะที่ดี มีศักยภาพสูงจนถึงระดับเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่สูง ขึ้นต่อไป และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ครู นักเรียนบุคลากรของแต่ละโรงเรียน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนตามเป้าหมาย และที่สำคัญการกีฬานับว่าเป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการอยู่ ร่วมกันในสังคม รู้จักเคารพกฎกติกา การมีน้ำใจนักกีฬา "รู้แพ้ รู้ชนะ และ รู้อภัย" เพื่อนักเรียนนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถด้านกีฬาและมีพระคุณอันประเสริฐต่อการศึกษาไทย นับอเนกประการและกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬากาญจนาเกมส์มาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2543 โดยในครั้งนั้นโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน

  • กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ทั้ง 10 โรงเรียน จะมีการแข่งขันกีฬาประจำทุกๆปีเป็นกีฬาสัมพันธ์ที่ทั้ง 10 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยต่างร่วมกันแข่งขันกีฬาและสลับกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน และเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีร่วมกัน

ลำดับเจ้าภาพการแข่งขันกาญจนาเกมส์[แก้]

  • ครั้งที่ 1 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อปี 2544
  • ครั้งที่ 2 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2545
  • ครั้งที่ 3 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อปี 2546
  • ครั้งที่ 4 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อปี 2547
  • ครั้งที่ 5 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อปี 2548
  • ครั้งที่ 6 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อปี 2549
  • ครั้งที่ 7 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ เมื่อปี 2550
  • ครั้งที่ 8 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เมื่อ ม.ค.ปี 2551
  • ครั้งที่ 9 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เมื่อ ธ.ค.ปี 2551
  • ครั้งที่ 10 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อ ธ.ค.ปี 2552
  • ครั้งที่ 11 ได้จัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อ ธ.ค. ในปี 2553
  • ครั้งที่ 12 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อ ม.ค. ในปี 2555
  • ครั้งที่ 13 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อ ก.พ. ในปี 2556
  • ครั้งที่ 14 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อ ม.ค. ในปี 2557
  • ครั้งที่ 15 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อ ธ.ค. ในปี 2557
  • ครั้งที่ 16 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ เมื่อ ม.ค. ในปี 2559
  • ครั้งที่ 17 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เมื่อ ม.ค. ในปี 2560
  • ครั้งที่ 18 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เมื่อ ม.ค. ในปี 2561
  • ครั้งที่ 19 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อ ธ.ค. ในปี 2561
  • ครั้งที่ 20 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อ ก.พ. ในปี 2563

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]