ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549
หน้าแรกของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
ภาพรวม
ท้องที่ใช้ประเทศไทย ประเทศไทย
สร้างขึ้น1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
เสนอ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
วันประกาศ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
มีผลใช้บังคับ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ระบบรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
โดยพฤตินัย เผด็จการทหาร
โครงสร้างรัฐบาล
ฝ่าย3
ประมุขแห่งรัฐพระมหากษัตริย์
ฝ่ายนิติบัญญัติสภาเดียว (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี นำโดย นายกรัฐมนตรี
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, นำโดย หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ, นำโดย ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ฝ่ายตุลาการศาลไทย
ระบอบรัฐเดี่ยว
คณะผู้เลือกตั้งไม่มี
นิติบัญญัติชุดแรก11 ตุลาคม พ.ศ. 2549
บริหารชุดแรก1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ตุลาการชุดแรก1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ยกเลิก24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ผู้ยกร่างคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ผู้เขียนจรัญ ภักดีธนากุล และคณะ
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ฉบับก่อนหน้ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ประกาศและคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เอกสารฉบับเต็ม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ที่วิกิซอร์ซ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

กระบวนการร่าง

[แก้]

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่าของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[ต้องการอ้างอิง]

ภายหลังนายมีชัยได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ โดย คปค. ได้แต่งตั้งจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งในช่วงนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่แทน

หน่วยงานใหม่

[แก้]

หน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]